ในวันนี้ ที่โควิดเริ่มกลายเป็นโรคโรคหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นได้ และก็สามารถหายได้มากขึ้น ซึ่งเราต่างต้องใช้ชีวิตท่ามกลางการแพร่ระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยเองนั้น มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เพราะพบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มหลักพันคนต่อวัน และกว่า 70% ของประชาชนไทยก็ได้รับ วัคซีนโควิด เข็มกระตุ้นกันแล้ว อย่างไรก็ดี โควิด นี้ ยังคงอยู่กับเราต่อไป ทางที่ดีควรรับวัคซีนโควิดไว้ให้ครบ รวมทั้งการดูแลรักษาตัวเอง ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยง และไม่ประมาทในการทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้าน ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกๆ ท่านไม่ควรละเลย ในวันนี้ มาสิ ได้ นำเรื่องราวที่น่าสนใจมาฝากกันครับ สำหรับหลายๆ ท่าน ที่ได้ยินข่าวรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและการเข้ารับวัคซีน อาจจะสงสัยว่า กลุ่มเสี่ยง 608 คือใครบ้าง เกี่ยวข้องกับการเข้ารับวัคซีนโควิดอย่างไร และสิทธิ์ในการรักษาเมื่อติดโควิดมีอะไรบ้าง ตาม มาสิ มาดูความน่าสนใจนี้พร้อมกันได้เลยครับ …
608 คืออะไร?
กลุ่มเสี่ยง 608 คือกลุ่มคนที่ต้องได้รับการ วัคซีนโควิด -19 มากที่สุดนั่นคือกลุ่มผู้สูงอายุมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรคประจำตัว ได้แก่
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคไตวายเรื้อรัง
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคอ้วน
- โรคมะเร็ง
- โรคเบาหวาน
และ+1 คือ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีอาการรุนแรงของโรคมากหากติดเชื้อ โควิด -19 ซึ่งกรมการแพทย์ย้ำ กลุ่มเสี่ยง 608 ติดโควิดเข้าข่ายอาการสีเหลือง ใช้สิทธิ UCEP Plus เข้ารักษานอน รพ.ได้ทุกที่ รพ.ไม่มีสิทธิปฏิเสธ หากเตียงเต็มต้องประสานเครือข่ายดูแล ส่วนจะนอนหรือไม่นอน รพ. ให้ประเมินอาการร่วมกับแพทย์ครับ
ทำไมจึงต้องเร่งฉีด วัคซีนโควิด กลุ่ม เสี่ยง 608 เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อและเกิดอาการรุนแรง
การตั้งเป้าหมายให้กลุ่ม 608 มารับวัคซีนมากที่สุด (ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมากหากติดเชื้อโควิด-19 การทำงานของอวัยวะในร่างกายจะเสื่อมลง ภูมิคุ้มกันลดลง มีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดความรุนแรง หรือ อันตรายถึงชีวิต จึงเป็นกลุ่มที่ต้องระวังและควรได้รับ วัคซีนโควิด ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
-
กลุ่มผู้สูงอายุ
เป็นกลุ่มที่มีอัตราเสียชีวิตสูงกว่าวัยอื่น โดยกระทรวงสาธารณสุขเผยว่า มีผู้สูงอายุอีก 2 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน จึงแนะผู้สูงอายุรีบฉีด วัคซีนโควิด ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อลูกหลานจะได้กลับไปเยี่ยมช่วงปีใหม่ได้อย่างปลอดภัย
-
โรคประจำตัว 7 โรค
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เนื่องจากโควิด-19 มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นอาการหอบหืดและอาจทำให้เกิดโรคปอดบวมและโรคร้ายแรงอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยโรคปอดนั้น โควิด-19 อาจทำให้โรคปอดกำเริบหนักขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด หากผู้ป่วยโรคหัวใจติดเชื้อโควิด-19 อาจมีอาการหัวใจวาย หรือ อาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อโควิด-19 โดยพบว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้นประมาณ 20% เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้นประมาณ 10% หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้นประมาณ 10% ส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิต การเข้า ICU การใช้เครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป
- โรคไตวายเรื้อรัง หากผู้ป่วยโรคไตติดเชื้อโควิด-19 จะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่มีการฟอกเลือดและเปลี่ยนถ่ายไต อาจมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติทั่วไป ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นและมีโอกาสเสียชีวิตสูง
- โรคหลอดเลือดสมอง หากการติดเชื้อโควิด-19 อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงควรได้รับการฉีด วัคซีนโควิด และวัคซีนป้องกันโรค เพื่อช่วยผ่อนหนักเป็นเบา ลดความรุนแรงกรณีได้รับการติดเชื้อ
- โรคอ้วน และ เบาหวาน หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงให้เกิดอาการรุนแรง เพราะโรคอ้วนเป็นภาวะการอักเสบเรื้อรังอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดร่วมกับโรคเรื้อรังอื่น ๆ ส่งผลให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรง เมื่อได้รับเชื้อโควิด 19 เข้าไป ทำให้อาการอักเสบมีความรุนแรงขึ้น ปอดทำงานลดลง ภูมิคุ้มกัน T cell ทำงานน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดในปอดได้ง่ายขึ้น
อีกทั้งในคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีเซลล์ไขมันในร่างกายที่สามารถรับเชื้อโควิด-19 ในปอดได้มากกว่า ส่งผลให้ปอดอักเสบรุนแรงกว่า โดยเฉพาะคนที่มีดัชนีมวลกายสูง อาจมีผลทำให้การขยายตัวของปอดทำได้จำกัด เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสที่ปอด อีกหนึ่ง กลุ่มเสี่ยง 608 ที่ไม่ควรละเลย
- โรคมะเร็ง (โรคมะเร็งทุกชนิด ที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด) หากผู้ป่วยมะเร็งได้รับเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตมากกว่าคนที่ไม่มีโรคประจำตัว เนื่องจากผู้ป่วยมีระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำกว่าคนทั่วไป ซึ่งอาจเกิดจากตัวโรคมะเร็งเอง หรือ เกิดจากการรักษาที่ได้รับ และผู้ป่วยมะเร็งส่วนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุและอาจมีโรคร่วมอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมทำให้มีโอกาสเกิดอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19
- โรคเบาหวาน ทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงหากติดโรคโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลที่สูงกว่าค่าปกติ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง เชื้อไวรัสสามารถเติบโตและกระจายตัวได้ง่ายขึ้น
-
หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์
หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับเชื้อโควิด-19 พบว่ามีอาการรุนแรง มีโอกาสป่วยหนัก นอน ICU แล้ว ยังส่งผลให้มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จากแม่ จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการฉีด วัคซีนโควิด โดยเร็ว
นอกจากนี้ ยังมี 8 โรคประจำตัวที่เสียงอาการหนัก หากติดโควิด-19 ดังนี้
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ( https://multimedia.anamai.moph.go.th/ )
เงื่อนไขและขั้นตอนการเรียกร้องสินไหมประกัน สำหรับผู้ป่วยโควิด
อย่างไรก็ตาม masii อยากให้ประชาชนรักษามาตรการป้องกันตนเองไว้ ใส่หน้ากาก เลี่ยงการอยู่ในที่มีคนจำนวนมาก ล้างมือและรับวัคซีน เพื่อป้องกันความเสี่ยงรับเชื้อโควิด-19 ครับ
สนใจ สมัคร ประกันโควิด –19 จาก ทูนประกันภัย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
หากใครสนใจ ประกันโควิด สามารถติดต่อกับ เว็บไซต์มาสิ ได้เลยที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii (มี @ ด้วยนะครับ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันการเดินทาง และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ ประกันโควิด ”
- รวม จุดตรวจ ATK ฟรี ! เข้าตรวจหาเชื้อ “โควิด” ได้ทันที ไม่มีค่าใช้จ่าย ทำ ประกันโควิด ได้ที่นี่
- รวมเบอร์สายด่วน ขอเตียงผู้ป่วยโควิด และ อย่าลืมทำ ประกันโควิด-19 ไว้นะ
- อัพเดทแผน ประกันโควิด-19 Vsafe Covid จาก ทูนประกันภัย เบี้ยเริ่มต้น 799 บาท
- ประกันสังคม มาตรา 33,39,40 เยียวยาอะไร ในช่วงโควิด 2565 และ อย่าลืมทำ ประกันโควิด กับ masii นะ
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison