การระดมทุนแบบ Debt Crowdfunding คืออะไร

การระดมทุนแบบ Debt Crowdfunding คืออะไร
การระดมทุนแบบ Debt Crowdfunding คืออะไร
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

แนวคิด Crowdfunding (คราวด์ฟันดิง) เป็นหนึ่งแนวคิดด้านการลงทุนที่เกิดขึ้นพร้อมกับเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) ที่เปิดโอกาสให้คนตัวเล็กๆ มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนก้อนใหญ่ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะ Debt Crowdfunding ที่เอื้อต่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SME) แนวคิดการลงทุนแบบ Crowdfunding ไม่ใช่วิธีคิดที่เข้าใจยาก เพียร์ พาวเวอร์ ขออธิบายให้กับชาว Masii ฟัง

การระดมทุนแบบ Debt Crowdfunding คืออะไร

Crowdfunding คืออะไร

Crowdfunding ซึ่งเป็นหัวใจของแนวคิดนี้ มาจากคำว่า Crowd = คนจำนวนมาก + Funding = การระดมทุน จึงหมายความว่าการระดมทุนจากคนจำนวนมาก เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง โดยแยกออกไปได้ตามจุดประสงค์หลักๆ คือการบริจาค การสะสมแต้ม การให้กู้ยืม และการซื้อสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ โดย Debt Crowdfunding จัดอยู่ใน Lending Based Crowdfunding คือการระดมทุนในลักษณะการให้กู้ยืม หรือให้สินเชื่อ ซึ่งแยกย่อยไปได้ 2 แบบ คือ

Peer to Peer Lending หรือ P2P Lending

มีลักษณะคล้ายกับสินเชื่อส่วนบุคคลคือเป็นการขอสินเชื่อที่ผู้กู้มาขอระดมทุนจากนักลงทุนโดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้จ่ายส่วนตัว โดยระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ มีสัญญากู้ยืม และชำระคืนเป็นงวดๆ พร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญา

Debt Crowdfunding

คล้ายสินเชื่อเพื่อธุรกิจ คือผู้ขอระดมทุนจะนำโครงการหรือธุรกิจของตนออกมาขอระดมทุนจากนักลงทุนหลายๆ คนผ่านแพลตฟอร์มผู้ให้บริการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาธุรกิจ มักเป็นการขยายธุรกิจหรือเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน โดยมีสัญญาชำระคืนผู้ให้กู้เป็นเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยในระยะเวลาที่กำหนด

ไม่ว่าจะเป็น P2P Lending หรือ Debt Crowdfunding ก็มีจุดประสงค์เพื่อการระดมทุนเพื่อเงินทุนก้อนใญ่จากนักลงทุนหลายคนเหมือนกัน แตกต่างกันที่ P2P Lending ผู้ขอระดมทุนมีลักษณะเป็นบุคคล ในขณะที่ Debt Crowdfunding ผู้ขอระดมทุนต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือผู้ประกอบการธุรกิจนั่นเอง ซึ่งผู้ประกอบการที่เหมาะกับการขอระดมทุนแบบ Debt Crowdfunding คือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) เพราะวงเงินและระยะเวลาในการชำระคืนเหมาะสมกับขนาดธุรกิจ

การระดมทุนแบบ Debt Crowdfunding คืออะไร

ใครได้ประโยชน์จากการระดมทุนแบบ Crowdfunding

การขอระดมทุนแบบ Debt Crowdfunding จะคล้ายการขอสินเชื่อจากธนาคาร ซึ่งมีทั้งสินเชื่อเพื่อธุรกิจและสินเชื่อส่วนบุคคล โดยอาจจะมีข้อแตกต่างบ้างในแง่ของหลักทรัพย์ค้ำประกัน และข้อจำกัดบางข้อ ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการระดมทุนในรูปแบบดังกล่าว จึงมีด้วยกัน 3 กลุ่ม ใหญ่ๆ

กลุ่มผู้ขอสินเชื่อรายบุคคล

แน่นอนว่า ประโยชน์ที่ได้รับของกลุ่มนี้คือเงินที่จะนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ที่ยื่นขอสินเชื่อไป และเป็นเงินก้อน

กลุ่มผู้ขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ

เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ ทั้ง SME และสตาร์ทอัพ ที่จะได้รับเงินทุนหมุนเวียนได้ทันช่วงเวลาที่ต้องขยายกิจการ ซึ่งอาจจะเร็วกว่าการขออนุมัติจากทางธนาคาร

กลุ่มนักลงทุน

เนื่องจากเป็นรูปแบบการระดมทุนแบบใหม่ ที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ดี ทำให้นักลงทุนที่แสวงหาการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ สนใจลงทุนมากขึ้น

สนใจแหล่งทุนหรือลงทุนแบบ Debt Crowdfunding ต้องทำอย่างไร

ในการระดมทุนแบบ crowdfunding จะเริ่มต้นจากการที่บุคคลหรือเจ้าของธุรกิจยื่นขอระดมทุนผ่านผู้ให้บริการ ซึ่งในกรณีของ Debt Crowdfunding ผู้ให้บริการจะทำการคัดกรอง ประเมินศักยภาพในการชำระหนี้ทั้งด้านการดำเนินธุรกิจ และตัวเจ้าของกิจการเอง เพื่อประเมินคุณสมบัติ เมื่อผ่านการคัดกรองต่างๆ แล้วจึงจะเสนอเงื่อนไขด้านวงเงินและดอกเบี้ยที่เหมาะสมของผู้ยื่นขอเงินทุน ถ้าผู้ประกอบการพึงพอใจในข้อเสนอและเงื่อนไข ผู้ให้บริการก็จะนำการร้องขอนั้นเข้าสู่ขั้นตอนให้นักลงทุนพิจารณาเพื่อลงทุน

โดยผู้ให้บริการจะต้องคัดกรองคุณสมบัติของนักลงทุนว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ ซึ่งนอกจากสินทรัพย์แล้ว ยังประเมินด้านความเสี่ยงที่ยอมรับได้ด้วย ซึ่งเมื่อนักลงทุนผ่านการคัดกรองคุณสมบัติแล้ว และสนใจลงทุนในการร้องขอของผู้ประกอบการ ก็สามารถเลือกลงทุนในธุรกิจที่ตรงตามวัตถุประสงค์ผ่านแพลตฟอร์มได้ โดยเลือกจากหลายๆ ธุรกิจที่มีอยู่ในระบบ นักลงทุนหนึ่งคนจะลงทุนได้ในหลายธุรกิจ โดยลงทุนเป็นหน่วยย่อยๆ

แม้การลงทุนในลักษณะนี้จะค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย แต่ในต่างประเทศเป็นแนวคิดการลงทุนและการหาแหล่งทุนที่แพร่หลายมาตั้งแต่ช่วงปี 2000 โดย P2P Lending ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางกว่า ทั้งในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่ P2P Lending เติบโตมากที่สุด ส่วนในประเทศไทย Debt Crowdfunding อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SEC ส่วน P2P Lending อยู่ภายใต้การดูแลโดย BOT

ข้อมูลโดย