แบงก์-น็อนแบงก์ ตั้งรับหนี้เสีย บัตรเครดิต ขยับ ปรับกลยุทธ์เจาะลูกค้ากลุ่มกลางถึงบน ลดเสี่ยงเป็นหนี้เสีย “CardX” ใช้ฐานข้อมูลในเครือเจาะลูกค้า-รายได้ 4-5 หมื่นบาทขึ้นไป “อิออน” เบนเจาะกลุ่มข้าราชการ-ท่องเที่ยว อิงกลุ่มได้ประโยชน์จากภาคเศรษฐกิจ คุมวงเงินลูกค้าใหม่ไม่เกิน 1-1.5 เท่า “ทีทีบี” ประเมินยอดใช้จ่ายบัตรทั้งระบบยังโตตามท่องเที่ยว-บริโภค ฟาก “ เคทีซี ” โฟกัสกลุ่มกำลังซื้อสูง
นายสารัชต์ รัตนาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาร์ด เอกซ์ จำกัด (CardX) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า คาดว่าธุรกิจบัตรเครดิตในไตรมาส 2/2567 จะยังคงเห็นการแข่งขันที่สูงอยู่ แต่จะเห็นว่าทุกค่ายจับตาและให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการควบคุมหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มากขึ้น สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง และรายได้ของประชาชนยังอ่อนแอ ทำให้การดำเนินธุรกิจต้องมีความรัดกุมมากขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของ CardX กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจในปี 2567 จะเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีข้อมูลและรู้จักค่อนข้างดีผ่านการใช้ฐานข้อมูลที่มีอยู่ภายในกลุ่มของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ (SCBX) เพื่อลดความเสี่ยงจากการเป็นหนี้เสีย รวมถึงเจาะกลุ่มที่มีรายได้กลางถึงบน โดยเป็นกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 4-5 หมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีรายได้น้อย ส่วนลูกค้ารายเดิมจะดูแลใกล้ชิด หากมีปัญหาจะมีโปรแกรมช่วยเหลือต่อเนื่อง
“ภาพรวมเราคงต้องเฝ้าดูเรื่องหนี้เสีย ทั้งมาตรการช่วยเหลือ และการติดตามทวงถามหนี้ที่ต้องเข้มแข็ง คอยเตือนลูกค้า แต่เชื่อว่าผลกระทบคงเป็นทั้งระบบ ส่วนหนึ่งมาจากการปรับชำระขั้นต่ำจาก 5% เป็น 8% แต่ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น รายได้และกำลังซื้อยังไม่มา ทำให้การชำระสะดุดไปบ้าง”
นายนันทวัฒน์ โชติวิจิตร กรรมการบริหาร บมจ.อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) กล่าวว่า แม้ว่าธุรกิจบัตรเครดิตจะเห็นสัญญาณเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้น แต่บริษัทไม่ได้ปรับเพิ่มเกณฑ์ปล่อยสินเชื่อเข้มงวดขึ้นแต่อย่างใด แต่บริษัทมีกลยุทธ์บริหารพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยง
โดยหันไปเจาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อย เช่น ข้าราชการ หรือกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวหรือเกี่ยวเนื่องกับบริการ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัว รวมถึงกลุ่มส่งออกที่กลับมาฟื้นตัวและได้ผลประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า จากเดิมที่บริษัทลดพอร์ตกลุ่มนี้ไปในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ลูกค้าใหม่ บริษัทจะทยอยให้วงเงินจำนวนน้อย ๆ ก่อน เพื่อศึกษาพฤติกรรมการชำระหนี้ ก่อนจะมีการปรับวงเงินให้เพิ่ม เพื่อป้องกันการเป็นหนี้เสียในจำนวนมาก เช่น เริ่มให้วงเงินตั้งแต่ 1-1.5 เท่าของรายได้สำหรับลูกค้าใหม่ จากนั้นจะพิจารณาปรับวงเงินเพิ่มให้ในทุก ๆ 6 เดือน ซึ่งคาดว่าจะสามารถควบคุมคุณภาพพอร์ตสินเชื่อไปพร้อมกับการเติบโตได้
“เราไม่ได้ปรับเกณฑ์คุณสมบัติลูกค้า แต่เราจะให้วงเงินไม่มาก หากเกิดเป็นหนี้เสียจะได้ไม่กระทบมาก และเราปรับพอร์ตไปเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงน้อยลง แต่คงไม่ได้เลิกปล่อยกลุ่มรากหญ้าหรือรายได้น้อย รวมถึงการติดตามทวงถามหนี้ก็ถือเป็นหัวใจหลักของธุรกิจนี้เช่นกัน อย่างไรก็ดี สถานการณ์หนี้เสียคงไม่ถึงขั้นวิกฤต เพราะแบงก์ก็มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าต่อเนื่อง”
ส่วนกรณีการปรับชำระขั้นต่ำบัตรเครดิต (Minimum Payment) จาก 5% เป็น 8% ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ยอมรับว่า ทำให้มีผลกระทบต่อกำลังซื้อและยอดใช้จ่ายผ่านบัตร (Spending) ในระยะสั้น เนื่องจากเป็นการปรับขึ้นพร้อมกัน ทำให้คนที่ถือบัตรเครดิตหลายใบการชำระหนี้อาจจะสะดุด แต่เชื่อว่าภายใน 2-3 เดือนน่าจะปรับตัวได้
“ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าชำระขั้นต่ำ 5% ประมาณ 50% ของพอร์ต ซึ่งในจำนวนดังกล่าวจะมีกลุ่มที่แม้จะปรับขั้นต่ำเป็น 8% ยังสามารถชำระได้ แต่ก็มีบางกลุ่มที่ชำระไม่ไหว หรืออาจจะสะดุดในช่วง 2-3 เดือนแรก เพราะอาจจะต้องปรับตัว ส่วนที่เหลืออีก 50% จะเป็นกลุ่มที่ชำระเกินขั้นต่ำ 10% หรือจ่ายเต็ม”
นายจเร เจียรธนะกานนท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) กล่าวว่า ในไตรมาส 2/2567 คาดว่าธุรกิจบัตรเครดิตในภาพรวม จะยังคงมี Spending สูง จากการเติบโตทางด้านอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยว และปัจจัยหนุนจากพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่ออกมาช่วงเดือน เม.ย. โดยคาดว่าจะเห็นการเติบโตของธุรกิจ ทั้งระบบปีนี้อยู่ที่ราว 10%
ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าเติบโตยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตปี 2567 ไม่ต่ำกว่า 30% ซึ่งในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมายังสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ดี จากการปรับชำระขั้นต่ำจาก 5% เป็น 8% มีผลกระทบต่อลูกค้ากลุ่มเปราะบางบางราย ทำให้มีการผิดนัดชำระ แต่ภาพรวมคุณภาพสินเชื่อบัตรเครดิตทีทีบียังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
“เรามีการปรับเกณฑ์อนุมัติสินเชื่อเล็กน้อย แต่โดยรวมเรามีกลยุทธ์ในการหาลูกค้าใหม่ โดยมุ่งเน้นในเรื่องการรักษาคุณภาพพอร์ตตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม โดยยังคงเน้นขยายฐานลูกค้าที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง ตั้งแต่ 3 หมื่นบาทขึ้นไป และมุ่งเน้นการเติบโตผ่านทางพันธมิตรทางธุรกิจ”
นางพิทยา วรปัญญาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บัตรกรุงไทย (เคทีซี) กล่าวว่า ช่วงไตรมาส 2 บัตรเครดิตอาจจะชะลอตัว เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวดีมาก ซึ่งอาจกระทบกับฐานลูกค้าและ Spending แต่เชื่อว่าหลังจากนั้นไปน่าจะทยอยปรับตัวดีขึ้น โดยการรักษาคุณภาพพอร์ตสินเชื่อยังเป็นเรื่องที่เคทีซีให้ความสำคัญ เน้นการเติบโตอย่างระมัดระวัง และจากกลยุทธ์การมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีกำลังซื้อมากขึ้น
ขอบคุณข่าวจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-1581719?utm_source=msn_news&utm_medium=footer_click
สถานการณ์ตลาดบัตรเครดิต และหนี้ครัวเรือนไทย
ข้อมูล ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2566 ปริมาณการใช้จ่ายทั้งในและต่างประเทศรวมกันอยู่ที่ 219,909 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. 2565 ซึ่งอยู่ที่ 187,771 ล้านบาท ส่วนยอดค้างชำระเกิน 3 เดือน เดือน มิ.ย. 2566 อยู่ที่ 10,061 ล้านบาท ขณะที่เดือน มิ.ย. 2565 อยู่ที่ 9,527 ล้านบาท จะเห็นว่าตลาดบัตรเครดิตไทยเติบโตจากปีที่แล้วชัดเจน แต่ขณะเดียวกันการก่อหนี้ส่วนนี้ก็ส่งให้ระดับหนี้ครัวเรือนสูงเช่นกัน
ไตรมาส 1 ปี 2566 หนี้ครัวเรือนไทยคิดเป็น 90.6% ของ GDP นับเป็นระดับอันตราย ยอดหนี้รวม 766,000 ล้านบาท แม้หนี้ซื้ออสังหาฯ จะเป็นสัดส่วนอันดับแรกของหนี้ครัวเรือนที่ 34% แต่หนี้ที่ตามมาเป็นอันดับสองก็คือ หนี้อุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งหนึ่งในนั้นมีหนี้บัตรเครดิตอยู่ด้วย
เพิ่มจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต 8% กระทบสถาบันการเงินและผู้บริโภคอย่างไร
การปรับเพิ่มอัตราจ่ายยอดบัตรเครดิตขั้นต่ำสร้างความกังวลให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพราะจะก่อให้เกิดหนี้เสีย (NPL) มากขึ้น เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตเมื่อมีการปรับเพิ่มอัตราจ่ายยอดบัตรเครดิตขั้นต่ำจาก 5% เป็น 10%
รายได้หลักของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรเครดิตมาจากดอกเบี้ยที่เก็บจากผู้ที่ชำระยอดขั้นต่ำ โดยกลุ่มที่จ่ายยอดขั้นต่ำนี้มีสัดส่วนประมาณ 20-25% ของทั้งระบบบัตรเครดิตไทย ดังนั้นการปรับเพิ่มยอดชำระขั้นต่ำครั้งนี้ มีโอกาสทำให้เกิดหนี้เสียมากขึ้น เพราะผู้บริโภคมีภาระหนี้มากขึ้น ก็กระทบต่อรายได้ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่จะลดลง
แต่มองอีกมุมจากรายได้ของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรเครดิตพบว่า รายได้จากค่าธรรมเนียมที่ใช้จ่ายแต่ละครั้งไม่ถึง 2-3% รายได้หลักของธนาคารหรือสถาบันการเงินจึงมาจากการคิดดอกเบี้ย โดยกลุ่มที่จ่ายยอดขั้นต่ำมีสัดส่วนประมาณ 20-25% ของทั้งระบบ ส่วนที่เหลือจ่ายเต็มจำนวน ดังนั้นหากการปรับเพิ่มครั้งนี้จะทำให้เกิดหนี้เสียมากขึ้น ก็ส่งผลกระทบต่อรายได้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเช่นกัน
จุดนี้คงมีแต่ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรให้กับกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ส่วนสถาบันการเงินที่ออกบัตรให้กลุ่มที่มีกำลังจ่ายต่ำก็ได้รับผลกระทบมาก
ส่วนผู้บริโภคที่เป็นหนี้บัตรเครดิตก็เตรียมตัวรับผลกระทบอย่างเต็มที่ เพราะส่วนใหญ่จะมีหนี้บัตรเครดิตไม่ต่ำกว่า 1 ใบ ทำให้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงที่จะกลายเป็นหนี้เสียอย่างที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินกังวล (เสียรายได้)
นอกจากนี้ผู้บริโภคที่เป็นหนี้บัตรเครดิตต้องกังวลอีกจากการที่ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตเตรียมหารือกับ ธปท. เพื่อขอขยายเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ปัจจุบันอยู่ที่ 16% ซึ่งปรับลดจาก 18% เมื่อปี 2563 เนื่องจากต้นทุนการเงินการประกอบธุรกิจสูงขึ้นจากการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เมื่อดูภาพรวมแล้วนับว่ามีแต่ผลกระทบเชิงลบต่อทั้งระบบ และคงไม่แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างที่ ธปท. ต้องการ หากจะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูง คงต้องหันกลับไปแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งครัวเรือนมีรายได้ไม่พอรายจ่าย มากกว่านั้นต้องมีการเรียนการสอน การให้ความรู้การเงินส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการก่อหนี้เกินตัว
สนใจสมัครบัตรเครดิตไว้ใช้ เปรียบเทียบความคุ้มค่าของบัตรเครดิตได้ ที่นี่
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับเรื่องราวที่ มาสิ ได้หยิบยกมานำเสนอในวันนี้ ถือได้ว่าเป็นประโยชน์และเอาใจสายช้อปเป็นอย่างยิ่ง เพราะ มาสิ เชื่อเป็นอย่างยิ่งครับ ว่า ทุกๆ การจับจ่ายใช้สอย ทุกๆ ความต้องการ ในบางครั้งก็รอไม่ได้ แต่จะดีกว่าแน่นอน หากทุกๆ การช้อปปิ้งออนไลน์ ผ่าน บัตรเครดิต ของคุณ ได้ทั้งสินค้าดี มีคุณภาพ ถูกใจ จ่ายสบายๆ แถมยังได้รับสิทธิประโยชน์ที่มีมากกว่าการซื้อของแล้วได้แค่ของครับ
สนใจ สมัครบัตรเครดิต
เปรียบเทียบบัตรเครดิต
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
เปรียบเทียบบัตรเครดิต แต่ละธนาคาร ตามประเภทและสิทธิประโยชน์ที่ต้องการ ก็ง่ายสะดวกในที่เดียว มาสิรวบรวมเรื่องราวที่น่าสนใจมาไว้ให้กับคุณแล้วที่นี่ ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาเยอะ และหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรมาสอบถามผู้เชี่ยวชาญทางการเงินของเราได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารบทความ และเคล็ดลับดีๆ จากเราไม่ว่าจะเป็นการ เปรียบเทียบบัตรเครดิต ทุกประเภท ก่อนที่จะตัดสินใจ ทำบัตรเครดิต เคล็ดลับในการใช้ บัตรเครดิต และข้อควรระวังใน การใช้บัตรเครดิต และ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน จากสถาบันการเงินชั้นนำ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม
- ใช้ไลฟ์สไตล์คนเมือง ให้เต็มที่ ไปกับบัตรเครดิตที่เข้าใจคนเมืองกรุง อย่าง บัตรเครดิต UOB Yolo Platinum
- masii ชวนรู้ก่อนใช้! บัตรกดเงินสด กับ บัตรเครดิต ต่างกันอย่างไร เปรียบเทียบบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ได้ที่นี่!
- masii ชวนสมัคร! 5 บัตรเครดิต ประเภทคืนเงิน ( Cash Back ) เยอะที่สุด ใช้ได้ทุกร้านค้า ทุกยอดใช้จ่าย
- masii ส่งข่าว… สมัครบัตรเครดิต ออนไลน์ สำหรับ สายกิน! ธนาคารไหนดี สมัครแล้วอิ่มคุ้ม โปรเยอะ!!
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison