ปี 2024 นี้ต้องรู้!!! ประกันภัยไซเบอร์ คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันภัยไซเบอร์
ปี 2024 นี้ต้องรู้!!! ประกันภัยไซเบอร์ คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

ประกันภัยไซเบอร์ : ในโลกแห่งการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรประเภทใด หรือขนาดเท่าใด ก็อาจได้รับผลกระทบจากการถูก ลักลอบขโมยข้อมูลของลูกค้า หรือ พนักงาน และยิ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ยิ่งทวีความซับซ้อนก้าวไกลมากยิ่งขึ้น เรายิ่งเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางเทคโนโลยีดังกล่าวมากขึ้น และนี่คือสาเหตุที่องค์กรต่างๆ ควรเตรียมพร้อมรับมือด้วยแผนประกันภัยความรับผิดทางไซเบอร์ หรือ ประกันภัยไซเบอร์ ซึ่งในวันนี้ masii ขอแนะนำกรมธรรม์การจัดการความเสี่ยงภัยทางไซเบอร์สำหรับองค์กรที่ทำธุรกิจด้านไซเบอร์ ( Cyber Enterprise Risk Management Policy – ERM ) เพื่อช่วยปกป้องทรัพย์สินทางธุรกิจของท่านจาก การคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อเป็นหลักป้องกันความเสียหายทางธุรกิจที่อาจร้ายแรงด้วยมูลค่าทางธุรกิจหลักล้านหรือหลักสิบล้านที่จะสูญเสียไป ไปดูกันเลยครับ …

” ประกันภัยไซเบอร์ “

Cyber Security คืออะไร สิ่งที่องค์กรยุคดิจิทัลควรใส่ใจและให้ความสำคัญ - Jobsdb ไทย

ตามที่ภาครัฐได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำลังจะเข้ามามีบทบาทในธุรกิจหรือองค์กรของท่านที่ได้ถือครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก จากผลของกฎหมายดังกล่าวทำให้ผู้บริหารองค์กรมีความเสี่ยงที่จะต้องถูกฟ้องร้องให้รับผิดตามกฎหมายจาก ความเสี่ยงภัยทางด้านไซเบอร์ จากการบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลไม่ดี (Poor Risk Management)

ข้อมูลอะไรที่สามารถรั่วไหลหรือถูกละเมิด ?

  • ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า พนักงาน หรือ คู่แข่งทางการค้า
  • ข้อมูลระบุตัวตน
  • ข้อมูลประวัติสุขภาพ
  • ข้อมูลบัตรเครดิต
  • ข้อมูลความลับทางการค้า
  • ข้อตกลง หรือ สัญญาต่างๆ
  • ข้อมูลอื่นๆที่มีการจัดเก็บ ซึ่งสามารถถูกทำลาย นำมาใช้หาผลประโยชน์ ขายต่อ ฯลฯ

ปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต้องมีการทำ ประกันภัยไซเบอร์

  1. การโจมตีทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง
  2. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  3. การฟ้องร้องแบบกลุ่ม
  4. ปิดช่องว่างความคุ้มครองของกรมธรรม์อื่นๆ

เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว ประกันภัยไซเบอร์ (Cyber Risk Insurance) จึงเข้ามามีบทบาทกับผู้ประกอบการในการทำธุรกิจ ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม

สรุปแล้ว … ประกันภัยไซเบอร์ คืออะไร ?

ทำไมต้องมีประกันไซเบอร์

ทำไมต้องมีประกันไซเบอร์ ?

อย่างที่ทราบกันดีว่าโลกนี้เชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต และอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทั้งภาคธุรกิจ องค์กรและบุคคลก็เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ในการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต จำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้ดี เพราะสมัยนี้มิจฉาชีพมีอยู่มาก ในด้านขององค์กรอาจจะได้รับผลกระทบจากการถูกลักลอบขโมยฐานข้อมูลของลูกค้าและพนักงาน รวมถึงในด้านของบุคคลเอง มักจะแทรกซึมอยู่กับชีวิตประจำวัน ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัว เช่น การหลอกให้ทำธุรกรรมการเงิน การช้อปปิงออนไลน์แล้วได้สินค้าไม่ตรงปกหรือไม่ได้รับสินค้าเลย ล้วนเป็นภัยอันตรายของโลกไซเบอร์ทั้งนั้น และยิ่งเทคโนโลยีมีความซับซ้อนขึ้น ความเสี่ยงต่อภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ก็ยิ่งมากขึ้น และนี่คือสาเหตุที่ทุกท่านควรเตรียมพร้อมรับมือด้วย ประกันไซเบอร์

ประกันไซเบอร์ คืออะไร

ประกันภัยไซเบอร์ (Cyber insurance) คือ แผนประกันที่จะช่วยปกป้องจากภัยการโจมตีทางไซเบอร์ โดยจะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูลหรือระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย รวมถึงความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายให้กับข้อมูล โดยความคุ้มครองจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายการกู้คืนข้อมูลและการพิสูจน์หลักฐานในกระบวนการสืบสวนและไกล่เกลี่ย

ประกันไซเบอร์ คืออะไร

ทำไมถึงควรมี ประกันไซเบอร์

ความเสียหายจากภัยไซเบอร์เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นภัยใกล้ตัว เมื่อเกิดความเสียหายแล้ว ครั้นจะให้ไปตามเรื่องเองคงทำได้ยาก เพราะระบบหรือเครือข่ายค่อนข้างมีความซับซ้อน ดังนั้นการทำประกันไซเบอร์จะช่วยบรรเทาค่าเสียหายและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ และภัยไซเบอร์ที่คนไทยถูกหลอกมากที่สุดมีดังนี้

1. มิจฉาชีพบน Social Media

มิจฉาชีพถือโอกาสใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ โดยอาศัยข้อมูลจากแชทหรือโพสต์เพื่อสวมรอยหรือปลอมแปลงข้อมูลเพื่อหลอกลวง เช่น หลอกให้โอนเงิน ปลอมแปลงหลักฐานการโอนเงิน เป็นต้น

2. อีเมลหลอกลวง (Phishing)

โดยส่วนใหญ่การหลอกลวงในรูปแบบนี้จะเป็นการส่งอีเมลโดยแอบอ้างเป็นธนาคารต่างๆ เพื่อหลอกให้ทำธุรกรรมหรือโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต

3. การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Data Theft)

ในปัจจุบันข้อมูลส่วนตัวของคนไทยมีการรั่วไหลมาเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลสำคัญๆ เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน รหัสผ่าน เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น จึงเป็นสาเหตทำให้คนไทยถูกหลอกให้ทำธุรกรรมกับมิจฉาชีพ

ประกันไซเบอร์ คุ้มครองอะไรบ้าง ?

ในด้านความคุ้มครองของประกันไซเบอร์ จะมีการชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการโจมตีหรือการโจรกรรมข้อมูล โดยแบ่งความคุ้มครองได้ 2 แบบ ได้แก่

1. ความคุ้มครองของผู้เอาประกันภัย

เช่น ​คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูล, คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากธุรกิจหยุดชะงัก (สำหรับแผนประกันไซเบอร์แบบองค์กร) หรือคุ้มครองความเสียหายจากการรีดเอาทรัพย์ เป็นต้น

2. ความคุ้มครองบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง

เช่น คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากระบบความปลอดภัยถูกล่วงละเมิด, ค่าใช้จ่ายในการกู้คืนข้อมูล, ชดใช้แก่ผู้ตกเป็นเหยื่อ, คุ้มครองความเสียหายจากการใช้สื่อออนไลน์ หรือคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลที่สามอันเกิดจากการละเลยหรือขาดความระวังขององค์กร (สำหรับแผนประกันไซเบอร์แบบองค์กร) เป็นต้น

ประกันไซเบอร์ คืออะไร

ความคุ้มครอง ของประกันภัยไซเบอร์

  • ความเสียหายจากการหยุดชะงักของธุรกิจ อันเนื่องมาจากระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายล่มหรือถูกโจมตี รวมถึงความผิดพลาดซึ่งเกิดจากบุคลากรหรือตัวโปรแกรม
  • การสูญเสียข้อมูลและการกู้ข้อมูล ซึ่งรวมถึงการล้างเครื่องและกู้ข้อมูลกลับคืน
  • ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการรับแจ้งเหตุและการสืบสวน พร้อมด้วยสายด่วนรับแจ้งเหตุที่ให้บริการหลายภาษาตลอด 24 ชม. ทุกวันไม่มีวันหยุด และตัวแทนที่พร้อมให้บริการตลอดเวลาอีกด้วย
  • ค่าใช้จ่ายจากความล่าช้า การติดขัด และการเร่งทำงาน ซึ่งเป็นผลมาจากการหยุดชะงักของธุรกิจ
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อบรรเทาการเสียชื่อเสียงและการสื่อสารในภาวะวิกฤติ
  • ความรับผิดอันเกิดจากความล้มเหลวในการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ
  • ความรับผิดอันเกิดจากการใช้งานเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การขู่กรรโชกที่เกี่ยวกับระบบหรือข้อมูล/การถูกข่มขู่ว่าจะถูกเปิดเผยความลับ การแบล็คเมล (ในส่วนที่ได้รับการประกัน)
  • ความรับผิดทางสื่อออนไลน์
  • ค่าใช้จ่ายจากการตรวจสอบโดยภาครัฐ

ประกันภัยไซเบอร์-หลักประกันยุคใหม่ เพื่อความปลอดภัยขององค์ธุรกิจ

ดำเนินธุรกิจอย่างอุ่นใจภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) ด้วยประกันภัยไซเบอร์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ประกันภัยไซเบอร์ เหมาะสำหรับทุกองค์กรที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล อุ่นใจด้วยวงเงินคุ้มครองตั้งแต่ 5-30 ล้านบาท ช่วยบรรเทาความเสียหายจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attacks) ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกธุรกิจ

ตารางความคุ้มครอง หน่วย : บาท

ความคุ้มครอง
ไม่เกิน 75 ล้านบาท ไม่เกิน 75 ล้านบาท ไม่เกิน 75 ล้านบาท ไม่เกิน 100 ล้านบาท ไม่เกิน 100 ล้านบาท 100-200 ล้านบาท 100-200 ล้านบาท
แผน1 แผน2 แผน3 แผน4 แผน5 แผน6 แผน 7
จำนวนเงินจำกัดความรับผิดสูงสุดต่อปีกรมธรรม์ประกันภัย 5 ล้าน 10 ล้าน 20 ล้าน 5 ล้าน 10 ล้าน 20 ล้าน 30 ล้าน
ความคุ้มครองสำหรับผู้เอาประกันภัย
1.การตรวจสอบการจัดการข้อมูล จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด “” “” “” “” “” “”
2.ค่าปรับจากการจัดการข้อมูล จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด “” “” “” “” “” “”
3.ค่าใช้จ่ายในการกอบกู้ชื่อเสียง จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด “” “” “”
4.ค่าใช้จ่ายในการแจ้งเตือนและเฝ้าระวัง จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด “” “” “” “” “” “”
5.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด “” “” “”
6.ค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบหรือนิติวิทยาศาสตร์เชิงรุก จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด “” “” “”
7.ค่าไถ่และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการขู่ทำลายทางไซเบอร์ 5 ล้าน 10 ล้าน 10 ล้าน 10 ล้าน
8.รายได้ที่สูญเสียและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการหยุดชะงักของเครือข่าย 5 ล้าน 10 ล้าน 10 ล้าน 10 ล้าน
ความรับผิดตามกฎหมายสำหรับบุคคลภายนอก
9.ความรับผิดตามกฎหมายต่อข้อมูลส่วนบุคคล จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด “” “” “” “” “” “”
10.ความรับผิดตามกฎหมายต่อข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด “” “” “” “” “” “”
11.ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด “” “” “” “” “” “”
12.ความรับผิดตามกฎหมายต่อสื่อต่างๆ จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด “” “” “”
ความรับผิดส่วนแรก
-ความรับผิดชอลบส่วนแรกต่อเหตุการณ์แต่ละครั้ง 25,000 25,000 25,000 25,000
-การประกันภัยการหยุดชะงักของเครือข่าย 12 ชั่วโมงแรก 12 ชั่วโมงแรก 12 ชั่วโมงแรก 12 ชั่วโมงแรก
เบี้ยประกันภัย 15,000 25,000 35,000 45,000 55,000 120,000 220,000

“” : จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด

เงื่อนไขการรับประกันภัยไซเบอร์

  1. แผนประกันภัยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี
  2. อาณาเขตความคุ้มครองและขอบเขตอำนาจศาลประเทศไทย
  3. ผู้เอาประกันภัยสามารถทำประกันภัยได้บริษัทละ 1 ฉบับ
  4. ไม่รับประกันภัยธุรกิจ ดังนี้
    • ธุรกิจที่ให้บริการเครือข่ายสังคม เช่น Facebook, Instagram, Line เป็นต้น
    • ธุรกิจที่ให้บริการด้านเครือข่ายวัยผู้ใหญ่ เช่น Tinder เป็นต้น
    • ความบันเทิงที่เกี่ยวกับผู้ใหญ่
    • ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มด้านเทรดออนไลน์ หรือธุรกิจที่รายได้มาจากการขายออนไลน์ 100%
    • ผู้รวบรวมข้อมูล เช่น ธุรกิจ Cloud Service เป็นต้น
    • ธุรกิจพนันออนไลน์
    • ธุรกิจซื้อขายสินทรัยพ์ดิจิทัล
    • ธุรกิจที่ให้บริการด้ารการทำธุรกรรมชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิต
    • ธนาคารหรือบริษัทผู้ให้สินเชื่อ
  5. ระบบรักษาความปลอดภัย ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูกต้องมีระบบการควบคุมและรักษความปลอดภัยดังนี้
    • มีระบบปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย เช่น Firewall โปรแกรมป้องกันไวรัส หรือโปรแกรมอื่นๆ ที่เทียบเท่าเพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยระบบ
    • มีระเบียบปฎิบัติในการเข้าถึงข้อมูลหรือระบบต่างๆ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย เช่น มีการกำหนดรหัสความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานแต่ละคน
  6. การสำรองข้อมูล (Back Up) และการกู้ข้อมูล (Recovery) ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูกต้องมีมาตราการและระเบียบปฏิบัติในการสำรองข้อมูล และการกู้ข้อมูล
  7. ผู้เอาประกันต้องมีภูมิลำเนา และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในประเทศไทย และไม่มีรายได้หรือธุรกรรม หรือมีการดำเนินงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และทวีปยุโรป
  8. การเชื่อมต่อระบบหลักของบริษัทจะต้องไม่เชื่อมต่อกับบริษัทแม่ หรือบริษัทลูกหรือเชื่อมต่อกับหน้าร้านแฟรนไซส์
  9. ประวัติความเสียหายและเหตุการณ์เรียกร้อง
    • ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูก ไม่เคยได้รับความเสียหายหรือไม่เคยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนใดๆ รวมถึงค่าปรับจากการจัดการข้อมูลตามความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์ก่อนการเอาประกันภัย
    • ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูก ไม่ได้รับเรื่องราวหรือการกระทำใดๆที่อาจนำไปสู่ความเสียหายหรือการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายใต้ความคุ้มครองกรมธรรม์นี้

ข้อยกเว้นที่สำคัญประกันไซเบอร์

  1. ไม่คุ้มครองการกระทำการทุจริตของบุคคลหรือเจ้าหน้าที่
  2. ไม่คุ้มครองความล้มเหลวของระบบพื้นฐาน หรือระบบรักษาความปลอดภัย
  3. ไม่คุ้มครองการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งไม่สามารถประเมินค่าได้
  4. ไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ในกรมธรรม์
  5. ความรับผิดส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดเอง ตามที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

หมายเหตุ

  • บริษัทฯชดเชยความรับผิดของทุกกรณีตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดชอบ ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดสูงสุดต่อปีกรมธรรม์ประกันภัย
  • บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยสำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถเรียกร้องได้จากผู้รับผิดชอบจากแหล่งอื่น
  • เพื่อประโยชน์สูงสุด กรุณาตรวจสอบจำนวนเงินจำกัดความรับผิดสูงสุดต่อปีกรมธรรม์ประกันภัยและเบี้ยประกันภัยกับเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนของบริษัท
  • ควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
  • เบี้ยประกันภัยดังกล่าว ไม่รวมอากรและภาษี

ข้อมูลอ้างอิง :

ต้องการความคุ้มครองที่มากกว่า 30 ล้านบาทแจ้งในแบบฟอร์มสมัคร แล้วทีมงานจะประสานกลับโดยเร็ว

ประกันภัยไซเบอร์ กับ การคุ้มครองผู้บริโภค ในยุคออนไลน์

การถูกโจรกรรมเงินทางอินเทอร์เน็ต ( Theft of Funds )

คือ การคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายของผู้เอาประกันภัยอันเกิดจากการ ถูกโจรกรรมเงินทางอินเทอร์เน็ต โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้

1. การถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Theft) ทางอินเทอร์เน็ตโดยกระทำจากบุคคลภายนอก
2. การโจมตีแบบฟิชชิ่ง (Phishing) ทางอินเทอร์เน็ตโดยกระทำจากบุคคลภายนอก

บริษัทฯ จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความสูญเสียหรือความเสียหาย ดังนี้

1. ความสูญเสียต่อเงิน
2. ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี

การซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ( Online Shopping )

คือ การคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยถูกหลอกลวงให้ซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ตามรายการสั่งซื้อ และได้มีการชำระเงินค่าสินค้าให้กับผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์แล้วแต่ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ไม่ดำเนินการจัดส่งสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้เอาประกันภัยภายใน 30 วันนับจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์แจ้งว่าจะดำเนินการจัดส่งสินค้า บริษัทฯ จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนเงินที่ได้ชำระให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์เพื่อซื้อสินค้าดังกล่าว

การขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ( Online Sales )

คือ การคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยถูกหลอกลวงให้ขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตและได้มีการจัดส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อสินค้าออนไลน์แล้ว แต่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าดังกล่าวภายใน 30 วันนับจากวันที่ผู้เอาประกันภัยดำเนินการจัดส่ง บริษัทฯ จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าดังกล่าว

เงื่อนไขการรับประกันภัย

1. รับประกันภัยสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 – 100 ปี
2. รับประกันภัยบุคคลสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
3. ผู้เอาประกันภัยสามารถทำประกันภัยได้คนละ 1 ฉบับ
4. แผนประกันภัยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี

หมายเหตุ

1. ไม่คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายที่ไม่ได้เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย
2. บริษัทฯ จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยสำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถเรียกร้องได้จากผู้รับผิดชอบจากแหล่งอื่น
3. ควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
4. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
5. เบี้ยประกันภัยดังกล่าวรวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

ภัยไซเบอร์ ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีความเสียหายเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังยากต่อการที่จะจัดการตามทรัพย์สินคืนด้วยตนเอง การมี ประกันไซเบอร์ ถือว่าเป็นหลักประกันที่จะช่วยปกป้องจากอาชญากรรมบนโลกออนไลน์ ซึ่งแผนประกันที่น่าสนใจของประกันไซเบอร์ ที่จะช่วยคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้บนโลกออนไลน์ ทั้งต่อตัวบุคคล ทรัพย์สิน และอุปกรณ์ต่างๆ โดยความคุ้มครองที่ได้รับจะเป็นในด้านของ การโจรกรรมเงินออนไลน์ ซื้อสินค้าออนไลน์  และ ขายสินค้าออนไลน์ นั้น ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์และเป็นภัยใกล้ตัวที่สามารถพบเจอได้ง่าย โดยราคาเริ่มต้นก็เบาๆ เพียง 200 บาท/ปี* สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถเข้า เว็บไซต์ masii เพื่อเปรียบเทียบแผนประกันภัยที่ต้องการและสั่งซื้อได้ทันที สะดวก รวดเร็ว และคุ้มครองทันทีที่ทำประกัน หรือโทรสอบถามผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ 02 710 3100
อาชีพ Cyber Security มารู้จักผู้พิทักษ์ข้อมูลไซเบอร์ - Jobsdb ไทย

ที่ masii มีบริการที่ปรึกษาในการ ทำประกันภัยไซเบอร์

1. ร่วมประเมินความเสี่ยงเพื่อประเมินทุนประกันที่เหมาะสมกับองค์กร
2. เป็นที่ปรึกษาเพื่อประสานงานกับบริษัทนายหน้าประกันภัยในการออกกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์ที่สอดคล้องกับความเสี่ยงขององค์กร

โดยทั่วไปประกันภัยไซเบอร์จะให้ความคุ้มครองหลัก 2 ส่วน ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายของผู้เอาประกันภัยหรือองค์กรที่ทำประกันภัยไซเบอร์

  • ความเสียหายจากเครือข่ายหยุดชะงัก (Business Interruption)

  • ค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบ (IT Forensic)

  • ค่าไถ่จากการขู่ทำลายข้อมูลทางไซเบอร์ (Ransomware)

  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการถูกสืบสวนสอบสวนจากหน่วยงานภาครัฐ

  • ค่าปรับจากหน่วยงานภาครัฐ

  • ค่าใช้จ่ายในการกอบกู้ชื่อเสียง

  • ค่าใช้จ่ายในการแจ้งเตือนผู้ได้รับผลกระทบ

  • ค่าใช้จ่ายในการกู้ข้อมูลทางอิเล็คทรอนิคส์

2. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกหรือลูกค้าขององค์กรที่ทำประกันภัยไซเบอร์

  • ความเสียหายต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากการกระทำ ความผิดพลาด การแสดงข้อความผิดพลาด ข้อความที่ชักนำให้เกิดการเข้าใจผิด ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่โดยหรือในนามผู้เอาประกันภัย

  • ความรับผิดต่อข้อมูลส่วนบุคคล หรือ ต่อความปลอดภัยของข้อมูล

  • ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี

หากเปรียบเทียบกับความรับผิดใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 แล้ว ประกันภัยไซเบอร์จะคุ้มครองความรับผิดดังต่อไปนี้
  1. คุ้มครองความรับผิดทางแพ่ง ครอบคลุมทั้งค่าเสียหายที่แท้จริงและค่าเสียหายเชิงลงโทษ รวมถึงค่าจ้างทนาย/ที่ปรึกษากฎหมาย ในการต่อสู้คดี ค่าเสียหายจากการละเมิดข้อมูลของเจ้าของข้อมูล

  2. ไม่คุ้มครองความรับผิดทางอาญา

  3. คุ้มครองค่าปรับจากความรับผิดทางปกครอง

  4. การดำเนินคดีแบบกลุ่ม ซึ่งเป็นรูปแบบ/ วิธีการดำเนินคดีแบบหนึ่ง เช่น ฟ้องคดีแพ่ง โดยวิธีดำเนินคดีแบบกลุ่ม – คุ้มครองตามความรับผิดทางแพ่งได้

เอบีม คอนซัลติ้ง แนะองค์กรเร่งการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์องค์กรโดนแฮกเกอร์ปล่อยไวรัสเจาะระบบขององค์กร และเรียกค่าไถ่ (Ransomware) ซึ่งถ้าองค์กรไม่ยินยอมจ่ายค่าไถ่ ก็จะไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ หรือเข้าถึงระบบข้อมูลของตนเองได้
  • องค์กรต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญด้าน IT มาตรวจสอบ และจำกัดความเสียหาย

  • องค์กรสูญเสียกำไรจากการถูกปิดระบบ

  • ค่าไถ่ที่ทางองค์กรตกลงจ่ายให้กับแฮกเกอร์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้รับประกันภัยก่อน

  • หน่วยงานภาครัฐสั่งปรับ

  • องค์กรถูกฟ้องร้องจากการที่ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารั่วไหล

แฮกเกอร์โจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กร หรือระบบขององค์กรบนอินเตอร์เน็ต ทำให้ระบบขององค์กรปฎิเสธหรือหยุดการให้บริการ (DDoS)
  • องค์กรต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญด้าน IT มาตรวจสอบ และจำกัดความเสียหาย
  • องค์กรสูญเสียกำไรจากการที่ระบบองค์กรไม่สามารถใช้งานได้
  • องค์กรถูกฟ้องร้องจากการที่ลูกค้าเกิดความเสียหายเนื่องจากระบบองค์กรไม่สามารถใช้งานได้
แฮกเกอร์เจาะเข้าระบบเว็บไซต์ขององค์กร และเผยแพร่ข้อความ ภาพ และหรือ เสียง ซึ่งต่อต้านรัฐบาลหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
  • องค์กรต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญด้าน IT มาตรวจสอบ และจำกัดความเสียหาย
  • หน่วยงานภาครัฐสั่งปรับ
  • องค์กรถูกฟ้องร้องจากการละเมิดข้อมูลข่าวสารโดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมรับคำปรึกษา
และเปรียบเทียบความคุ้มครองจากประกันภัยไซเบอร์ กับ masii

เพราะบนโลกออนไลน์ที่ถูกเชื่อมต่อด้วยอินเตอร์ถือว่ามีความรวดเร็ว สะดวกสบาย จะทำธุรกรรมอะไรก็ง่ายไปหมด แต่ในทุกวันนี้ มิจฉาชีพ มีมากขึ้น จำเป็นต้องมีการระแวดระวังเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ แม้ว่าจะระวังแค่ไหน มิจฉาชีพก็สรรหากลโกงมาหลอกลวงได้เสมอ การ ทำประกันไซเบอร์ ถือว่าเป็นตัวช่วยรองรับความเสี่ยงที่จะถูกหลอก หากเกิดความเสียหายแล้ว ก็ยังมีประกันช่วยชดเชยค่าเสียหายและดำเนินการแก้ไขปัญหา ช่วยให้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างไร้กังวล ไม่เพียงแต่ระดับองค์กรทางธุรกิจใหญ่ๆ เท่านั้น แต่ระดับตัวบุคคลก็ควรมีหลักประกันจาก การประกันภัยไซเบอร์ ไว้นะครับ

หากใครมีข้อสงสัยเพิ่มเติม โทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือ แอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะครับ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดร ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึง สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด และ บัตรเครดิต จากสถาบันการเงินชั้นนำ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison

banner-blog-masii PL