ทำความรู้จักประวัติ วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม

ทำความรู้จักประวัติ วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม
ทำความรู้จักประวัติ วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

ทุกวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย นั่นก็คือ วันรัฐธรรมนูญ แล้ววันรัฐธรรมนูญมีความสำคัญอย่างไร และมีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง เราไปทำความรู้จักกันพร้อมกับ masii กันเลยค่ะ

ทำความรู้จักประวัติ วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม

ทำความรู้จักประวัติ วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม

วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย โดยส่งผลให้เกิดการยกเลิก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั่นเอง

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร

คณะราษฎร คือกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันระหว่างข้าราชการและนักเรียนไทย 7 คนในฝรั่งเศสและยุโรปที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม ภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เมื่อพวกเขากลับมาเมืองไทยก็ได้ขยายกลุ่มสมาชิกภายในประเทศและขอให้ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร โดยมีหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นแกนนำฝ่ายพลเรือน และหลวงพิบูลสงครามเป็นแกนนำฝ่ายทหารบก โดยมีสาเหตุหลักๆ คือ

  • เศรษฐกิจตกต่ำอันมีผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้รัชกาลที่ 7 ทรงแก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก  ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการและประชาชนที่เดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ
  • ชนชั้นกลางจำนวนมากไม่พอใจที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผูกขาดอำนาจการปกครองและการบริหารราชการ กลุ่มคนรุ่นใหม่ต้องการให้มีการปกครองระบอบรัฐสภาและมีรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับประเทศตะวันตก
  • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไป จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการปฏิวัติจากคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยหลังจากนั้นในวันที่ ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้เข้าเฝ้าฯ และนำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้ลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเติมคำว่า “ชั่วคราว” ต่อท้ายรัฐธรรมนูญ นับเป็นการเริ่มต้นระบอบรัฐธรรมนูญของไทย

ทำความรู้จักประวัติ วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม

ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต ทั้งนี้เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง และเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนรัฐสภา โดยการปฏิบัติราชการต่าง ๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

  1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน – 10 ธันวาคม 2475)
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 – 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 – 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 – 23 มีนาคม 2492)
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 – 29 พฤศจิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 – 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
  7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 – 20 มิถุนายน 2511)
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
  9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 – 7 ตุลาคม 2517)
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 – 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ทำความรู้จักประวัติ วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 – 20 ตุลาคม 2520)
  12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 – 22 ธันวาคม 2521)
  13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 – 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
  14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม – 9 ตุลาคม 2534)
  15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 – 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 – 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
  17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 – 24 สิงหาคม 2550)
  18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 – 22 กรกฎาคม 2557)
  19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557 – 6 เมษายน 2560)
  20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน 2560 – ปัจจุบัน)

สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ ถูกร่างขึ้นโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในระหว่าง พ.ศ. 2557-2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

ทำความรู้จักประวัติ วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม
Cr. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และยังเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคมไทย เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรกอันเป็นฉบับถาวร และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนดให้ วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ