” ทำร้อยรอดหนึ่ง ” คือคำเปรียบเทียบที่สะท้อนถึงความสำเร็จของกลุ่ม ” สตาร์ทอัพ ” ที่ไม่เกินจริง เมื่อตลอดเวลาที่ผ่านมาสตาร์ทอัพ จำนวนมากผุดขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก แต่เหลือเพียงไม่มีรายที่ได้ไปต่อ และเหลือเพียงน้อยนิดที่ไปถึงฝั่งฝัน หรือประสบความสำเร็จถึงระดับ ” ยูนิคอร์น ” ( มีมูลค่ารวมถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ ) คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมธุรกิจสตาร์ทอัพ ถึงประสบความสำเร็จได้ยาก แล้วอะไรกันแน่ที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้สตาร์ทอัพส่วนใหญ่ ” ล้มเหลว ” โดยผลจากการรวบรวมสถิติของ ” CB Insights ” ที่วิเคราะห์จากสตาร์ทอัพที่ตายแล้ว 101 ราย โดยปรากฏข้อมูลที่ให้ว่าสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้สตาร์ทอัพไม่ประสบความสำเร็จ ตาม มาสิ มาอัปเดตความน่าสนใจนี้พร้อมกัน ได้เลยครับ … ( พร้อมดู สินเชื่อสำหรับเจ้าของกิจการ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ สินเชื่อSMEs มาแรงปี 2567 ห้ามพลาด! )
12 เหตุผลที่ทำให้ “ สตาร์ทอัพ “ ไม่ประสบความสำเร็จ
-
ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด42%
สาเหตุที่พบมากที่สุดคือ สตาร์ทอัพที่ไม่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ไม่มีตลาดรองรับ หรือไม่เป็นที่ต้องการของตลาด หรือบางครั้งไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดได้ใหญ่พอที่จะให้บริการในระดับสากล ทำให้เมื่อจำเป็นต้องปรับสเกลที่ใหญ่ขึ้นทำให้ไม่สามารถไปต่อได้ แม้จะมีดีในมิติอื่นๆ ก็ตาม
-
เงินไม่พอ หรือขาดเงินทุน 29%
เงินและเวลาเป็นสิ่งที่มีจำกัดสำหรับสตาร์ทอัพ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพราะหลายครั้งเงินถูกใช้ไปโดยไม่ได้ประโยชน์กลับมา ทำให้การหมุนเวียนเงินในกิจการไม่มีประสิทธิภาพ และเมื่อไม่สามารถเพิ่มทุนได้แล้ว ก็จะนำสู่ความล้มเหลวในที่สุด
-
ขาดทีมที่เหมาะสม 23%
ไม่ว่าธุรกิจไหนๆ ก็ต้องการ “ทีมที่ใช่” สตาร์ทอัพก็เช่นกัน ทีมที่มีความหลากหลายและมีทักษะที่แตกต่างกันมีความสำคัญต่อความสำเร็จของกิจการ ซึ่งหลายครั้งที่ทีมไม่แข็งแกร่งพอ ก็เป็นส่วนที่ทำให้ธุรกิจไปต่อไม่ได้อย่างน่าเสียดาย
-
สู้คู่แข่งไม่ได้ 19%
แม้สตาร์ทอัพมักจะมีเป้าหมายเพื่อแก้เพนพอยต์ที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค และไม่ได้ทำผลิตภัณฑ์เพื่อแข่งขันในตลาดที่มีอยู่เดิมมากนัก แต่เมื่อตลาดขยายตัวมากขึ้น การไม่ศึกษาหรือสนใจคู่แข่งเลย ก็มีส่วนทำให้เกิดความล้มเหลวได้
-
ราคาและต้นทุน 19%
เมื่อแกะกรณีศึกษาเบื้องหลังของความล้มเหลวของสตาร์ทอัพ พบว่า “ราคา” เป็นศาสตร์มืดอย่างหนึ่งที่ทำให้สตาร์ทอัพล้มเหลว ความยากในการตั้งราคาหรือต้นทุนให้ไม่สูงหรือต่ำเกินไป หากไม่สามารถหาความสมดุลในเรื่องนี้ได้ก็มีส่วนให้ไปไม่รอด
-
ผลิตภัณฑ์ยังไม่ดีพอ 17%
ยังไม่ดีพอ ณ ที่นี้ ไม่ได้หมายถึงแค่คุณสมบัติการใช้งานเท่านั้น แต่ถ้าไม่ผลิตภัณฑ์ไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้ก็มีส่วนทำให้ไม่ได้รับความนิยมเช่นกัน
-
ขาดโมเดลธุรกิจที่ดี 17%
รูปแบบการทำธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญมาก หากสตาร์ทอัพยึดติดอยู่กับการทำธุรกิจที่อาจเติบโตได้ยากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือทำเงินไม่ได้จริง จะมีส่วนทำให้นักลงทุนเกิดความลังเล ที่อาจทำให้ขาดเงินทุนมาต่อยอดและไม่ประสบความสำเร็จ
-
การตลาดไม่ดี 14%
สตาร์ทอัพทำผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดีอย่างเดียวไม่พอ ถ้าขาดองค์ความรู้ในการทำการตลาด ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย หรือไม่สามารถครองผู้บริโภคในระยะยาว ก็มีโอกาสพังได้ไม่ยากเช่นกัน
-
ไม่ใส่ใจผู้บริโภค 14%
ไม่ว่าผลิตภัณฑ์จะดีแค่ไหน แต่หากไม่รับฟังผู้บริโภค ไม่สนใจที่จะนำความเห็นมาปรับปรุงเมื่อมีข้อบกพร่องก็เป็นหายนะที่คืบคลานเข้ามาทำลายธุรกิจให้ล้มเหลวได้
-
จังหวะ เวลา ยังไม่เหมาะสม13%
จังหวะเวลาในการปล่อยผลิตภัณฑ์สู่ตลาดเป็นจุดเปลี่ยนให้สตาร์ทอัพปังหรือพังได้เลยทีเดียว แม้ผลิตภัณฑ์จะดีแต่มาก่อนกาล ออกมาเร็วเกินไปจนทำให้ลูกค้ารู้สึกว่ายังไม่จำเป็นในตอนนี้ก็อาจทำให้จุดติดได้ยาก ขณะเดียวกันถ้ามาช้าไป ทำให้แข่งขันยาก และเสียโอกาสในการเปิดตลาด
-
โฟกัสไม่มากพอ 13%
การทำธุรกิจจำเป็นต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะ และต้องโฟกัสอย่างจริงจัง ผู้ประกอบการที่ล้มเหลวมักจะขาดการโฟกัสที่ดี เปลี่ยนไปมา ไม่มั่นคง ไม่แน่วแน่ ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญทำให้ธุรกิจล้มเหลว
-
ไม่ลงรอยกับทีม/นักลงทุน 13%
“คน” มีส่วนต่อความสำเร็จของสตาร์ทอัพอย่างมาก บางครั้งการเป็นรูมเมทกับเพื่อนที่สนิทที่สุดก็อาจไม่ใช่เรื่องที่ดี เช่นเดียวกับการทำสตาร์ทอัพ ที่หลายคนคิดว่าทำกับเพื่อนสนิทหรือคนสนิทจะรุ่งเพราะไว้ใจและรู้สึกดีต่อกัน ทว่าสถิติกลับสะท้อนว่าไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไปสตาร์ทอัพบางส่วนต้องเสียที่ธุรกิจและคนสนิทไปเพราะไม่ลงรอยกัน
ขอบคุณ : CB Insights, smethailandclub
———————————————
และตามที่มาสิได้สัญญาไว้ในตอนต้น สำหรับ “ สินเชื่อ ” สำหรับธุรกิจ ที่เป็นตัวช่วยสำคัญที่หลายคนมองหา เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่อง และเป็นเงินทุนที่ช่วยในการ “ เริ่มต้นกิจการ ” หรือ “ เริ่มต้นธุรกิจ ” ให้เติบโตต่อไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ มาสิ จึงได้รวบรวม สินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย สินเชื่อ SMEs หรือ สินเชื่อสำหรับเจ้าของกิจการ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเงินทุนส่งเสริมกิจการที่ไม่ต้องใช้วงเงินที่สูงมาก ดังนี้ …
ธนาคารไทยพาณิชย์ : สินเชื่อสำหรับเจ้าของกิจการ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ หรือนิติบุคคลแบบไม่ใช้หลักประกัน
เงื่อนไข สินเชื่อธุรกิจ
สินเชื่อสำหรับเจ้าของกิจการ หรือนิติบุคคลแบบไม่ใช้หลักประกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ เพื่อซื้อสินทรัพย์ที่ใช้ในธุรกิจ เพื่อใช้ในการปรับปรุงสถานประกอบการ มีวงเงินสูงสุด 3 ล้านบาท ในกรณีที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจมากกว่า 3 ปี หรือหากขอวงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท จะไม่พิจารณาประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ
คุณสมบัติผู้ขอ สินเชื่อ เป็นเจ้าของกิจการหรือนิติบุคคล
- มีประสบการณ์ในธุรกิจ 6 เดือนขึ้นไป
- วงเงินสูงสุด 3 ล้านบาท
- ประเภทวงเงิน วงเงินกู้ระยะยาว (Loan)
- ผ่อนชำระนานสูงสุด6 ปี
- อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นMRR +8% ต่อปี
- เงื่อนไขและหลักเกณฑ์อนุมัติเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล
………………………………………………………………………………………..
ธนาคารกสิกรไทย สินเชื่อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
เงื่อนไข สินเชื่อ
- วงเงิน สินเชื่อ สูงสุดไม่เกิน5 ล้านบาท
- ประเภทวงเงินวง เงิน กู้ ระยะยาว ( Loan )
- ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด5 ปี
- อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ MRR +7% ต่อปีหรือเป็นไปตามประกาศของธนาคาร การคำนวณดอกเบี้ย: รายวัน
- อัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระหนี้วงเงินกู้ (Loan) MRR +15% ต่อปี ในส่วนต้นเงินกู้ที่ผิดนัดชำระ
คุณสมบัติผู้ขอ สินเชื่อ
- นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
- อายุระหว่าง 25-65 ปี
- มีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจไม่น้อยกว่า 3 ปี
- มีประวัติทางการเงินที่ดีตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล
………………………………………………………………………………………..
ธ.ก.ส. : โครงการส่งเสริมและสนับสนุน สินเชื่อ สีเขียวกรีนเครดิต ( Green Credit )
คุณสมบัติผู้ กู้ เงิน
- เกษตรกร หรือบุคคล
- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือองค์กร
- กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ภาคการเกษตร
เงื่อนไข สินเชื่อ
-
วง เงินกู้ ขั้นสูงเป็นไปตามข้อบังคับของธนาคาร
- ระยะเวลาชำระหนี้ เงินกู้กรณีเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนชำระคืนเสร็จไม่เกิน 12 เดือนนับแต่วันกู้ เว้นแต่มีเหตุพิเศษชำระคืนไม่เกิน 18 เดือน กรณีเป็นค่าลงทุนกำหนดชำระหนี้คืนเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือน หรือรายปีตามความสามารถในการชำระหนี้และที่มาแห่งรายได้ของลูกค้าโดยชำระหนี้คืนเสร็จไม่เกิน 15 ปี นับแต่วันกู้
- หลักประกันเงินกู้ หลักประกันหนี้ เงินกู้ เป็นไปตามข้อบังคับของธนาคาร เว้นแต่มีเหตุอันควรผ่อนผันให้ลดหย่อนหลักประกันได้ ( เงื่อนไขอื่นเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด )
สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล
………………………………………………………………………………………..
สินเชื่อ SMEs สินเชื่อเพื่อธุรกิจ จาก ธนาคารออมสิน
ธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กับภาคประชาชน องค์กร และ นิติบุคคล จากการแพร่เชื้อโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ธนาคารออมสิน ช่วยพลิกฟื้นธุรกิจ ให้กลับมายิ้มได้อีกครั้ง ” โครงการ สินเชื่อ SMEs ดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว ปี 2565 ”สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ทั่วไปและธุรกิจท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กิจการ / เพื่อลงทุนในกิจการต่อ
เงื่อนไขการปล่อย สินเชื่อ SMEs
- ประกอบกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- อัตราดอกเบี้ย 99% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
- วงเงินกู้สูงสุด 500,000 บาท
ที่สำคัญไปกว่านั้น สามารถใช้บุคคลเป็นหลักประกันการกู้ได้
- ปลอดชำระเงินต้นได้สูงสุด 2 ปี
- ระยะเวลาการ กู้ เงิน สูงสุด 7 ปี
คุณสมบัติผู้ขอ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
- ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศซึ่งมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่า ร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน
- ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและ Supply Chain เช่น ร้านอาหาร ธุรกิจสปา นวดแผนไทย รถรับจ้างนำเที่ยว เกสต์เฮ้าส์ โฮสเทล ฯลฯ
- ธุรกิจอื่น เช่น ผู้ผลิตรายย่อย ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก เป็นต้น
- ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของ COVID-19
- ประกอบกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ปัจจุบันยังประกอบกิจการและมีความสามารถในการชำระหนี้ตามที่ธนาคารกำหนด
ทั้งนี้ เป็นการให้ สินเชื่อ ใหม่แก่ลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ ( Re-finance )
สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล
สำหรับผู้ประกอบการแล้ว การมี สินเชื่อเพื่อธุรกิจ หรือ สินเชื่อ SMEs นั้น จะช่วยทำให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้ง่ายๆ เพราะจะทำให้คุณมีเงินทุนหมุนเวียน และมีระยะเวลาในการชำระหนี้ ที่สบายกระเป๋าครับ หวังว่าข้อมูลที่มาสิได้เลือกมานำเสนอกันในวันนี้ จะเกิดประโยชน์กับเจ้าของกิจการทุกท่านนะครับ ส่วนใครที่ต้องการ กู้ เงิน ด่วน เงินก้อน เพื่อนำมาเพื่อพยุงธุรกิจ หรือใช้จ่ายในครอบครัว สามารถ สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล ผ่าน มาสิ ได้ง่ายๆ เพียง คลิกที่นี่! เพื่อ สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล หรือ เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล กับเว็บไซต์มาสิ หรือโทรมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกู้เงินกับธนาคารที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii เพื่อติตดามข่าวสารและโปรโมชั่นดีๆ จากสถาบันการเงินชั้นนำครับ
เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
เพื่อไม่ให้คุณพลาดเรื่องราวที่ดีเกี่ยวกับการเงินการลงทุน การออม และความเชื่อเสริมการเงิน เข้ามาที่ มาสิบล็อก เพราะมาสิอัพเดทข่าวและเรื่องราวสาระดีๆ เกี่ยวกับ สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต ประกันภัยรถยนต์ ประกันโดรน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และประกันภัยแบบต่างๆ ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สินเชื่อส่วนบุคคล
- อยากกู้เงิน แต่เงินเดือนน้อย สมัครสินเชื่อส่วนบุคคลได้ไหม ที่ไหนบ้าง
- masii ชี้ … แหล่ง เงินทุน ปี 2022 ที่ เจ้าของกิจการ SME พลาดไม่ได้ พิเศษ สินเชื่อส่วนบุคคล สำหรับเจ้าของกิจการ…
- ฤกษ์มงคลมีนาคม 2565 มีวันไหนบ้าง และหากต้องการ สินเชื่อเงินด่วน กู้สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นคำตอบที่ดีที่สุด หรือเปล่า
- กระทรวงแรงงานปล่อย สินเชื่อเงินด่วน ดอกเบี้ย 0% สูงสุด 50,000 บาทต่อคน
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison