5 เช็กลิสต์ เซฟและสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อ ผู้สูงอายุ อย่างมีคุณภาพ

ผู้สูงอายุ
5 เช็กลิสต์ เซฟและสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อ ผู้สูงอายุ อย่างมีคุณภาพ
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

เมื่ออายุเริ่มก้าวเข้าตัวเลขที่มากขึ้นตั้งแต่วัย 40 ปีขึ้นไป ความแข็งแรงและมวลกล้ามเนื้อจะเริ่มลดลงเรื่อยๆ ทำให้ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเปลี่ยนไปตามข้อจำกัดบางอย่างของสุขภาพร่างกาย และหากยิ่งอายุก้าวเข้าสู่ตัวเลข 50 – 60 ปี ความแข็งแรงและมวลกล้ามเนื้อก็จะยิ่งลดลง ประมาณร้อยละ 1.5 ต่อปี และจะยิ่งลดลงเร็วขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น จนอาจนำไปสู่การเสี่ยงตกอยู่ในภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย[1] แต่จะดีแค่ไหนหากท่านหันมาดูแลตัวเองให้ร่างกายยังคงความแข็งแรงและมวลกล้ามเนื้อไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะเมื่อก้าวเข้าสู่การเป็น ผู้สูงอายุ อย่างเต็มตัว ท่านจะได้มั่นใจได้ว่าท่านจะยังสามารถมีไลฟ์สไตล์อย่างที่ต้องการ

5 เช็กลิสต์ ช่วยเซฟและช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุ เพื่อเป้าหมายคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

การดูแลผู้สูงอายุในช่วง COVID-19 กลุ่มเสี่ยงที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ - พบแพทย์

จากข้อมูลข้างต้นทำให้เห็นว่าการมี “ กล้ามเนื้อที่แข็งแรง ” เป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้สูงวัยซึ่งจะนำไปสู่การมีอายุที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ โดยการจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องอาศัยหลายปัจจัยซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องการกินและการเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งเป็นสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องซึ่งกันและกัน สำหรับในวันนี้เราขอแนะนำ 5 เช็กลิสต์ที่จะช่วยเซฟและช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เหมาะสำหรับผู้สูงวัย เพื่อเป้าหมายคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต และเป็นสิ่งที่ทุกท่านสามารถทำได้ จะมีอะไรบ้างมาดูกัน

โภชนาการอาหารที่ครบ

ผู้สูงวัยควรรับประทานอาหารให้หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม ในหนึ่งวันผู้สูงวัยควรได้รับพลังงานจากอาหารเพียงพอ วันละ 1,500 – 2,000 กิโลแคลอรี และควรได้รับสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ ไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่และแร่ธาตุจากผักต่าง ๆ ธาตุเหล็ก วิตามินจากผลไม้ต่างๆ โพแทสเซียม แมกนีเซียม ไขมันดี

และสุดท้ายสารอาหารที่ขาดไม่ได้สำหรับกลุ่มผู้สูงวัย คือ โปรตีน ซึ่งควรได้รับประมาณ 6 – 8 ช้อนกินข้าวต่อวัน เพราะเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งในโปรตีนจะมีกรดอะมิโนที่เป็นหน่วยย่อยของโปรตีนแต่ละชนิดเรียงตัวต่อกัน ประกอบเป็นร่างกายของมนุษย์เรา กรดอะมิโนจึงมีส่วนช่วยในการควบคุมการทำงานสำคัญส่วนใหญ่ของร่างกาย ซึ่งมีผลต่อคอลลาเจน การสร้างฮอร์โมนในร่างกาย และยังมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกรดอะมิโนลูซีน ดังนั้น กรดอะมิโนหรือโปรตีนจึงเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญสำหรับผู้สูงวัย หากรับประทานอาหารที่มีโปรตีนอย่างเพียงพอจะช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ และป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อถูกสลายไปได้

เปิดรายได้ผู้สูงอายุไทย...นาทีนี้ต้องวางแผนให้ดีก่อนแก่ - ABCD Centre

ห้ามใจไม่ให้กิน

การกินเป็นเรื่องสำคัญ โดยการกินนั้นส่งผลโดยตรงต่อร่างกายของคนเราในระยะยาว นอกจากการเลือกกินอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนแล้ว การกินอาหารบางประเภทกลับอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อลดลงได้ ดังนั้นกลุ่มผู้สูงวัยควรหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหารประเภทไขมันสูง อาหารที่มีน้ำตาลสูง และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่จะทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลงได้

นอนหลับพักผ่อน

ในขณะนอนหลับ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอย่าง Growth Hormone ซึ่งเป็นหนึ่งในสารที่ถูกสร้างขึ้นจากกรดอะมิโนที่ได้รับมาจากการทานอาหารกลุ่มโปรตีน สำหรับผู้ใหญ่ สารนี้จะช่วยในเรื่องของการซ่อมแซมร่างกาย เผาผลาญไขมัน และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ส่วนการนอนหลับพักผ่อนที่สมบูรณ์สำหรับผู้ใหญ่ควรนอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมง จึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด

แต่ทั้งนี้ การนอนให้เพียงพอมักเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามตั้งแต่ช่วงวัยเรียนวัยทำงาน และสะสมมาเรื่อย ๆ จนติดเป็นนิสัยที่แก้ได้ยาก ซึ่งผลเสียที่ตามมานั้นอาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่เรากำลังก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัย สืบเนื่องจากผลวิจัยในวารสาร Plos Medicine ที่นำผลสำรวจจากผู้เข้าร่วมมากกว่า 7,000 คน ระบุว่า กลุ่มผู้มีอายุ 50 ปีที่นอนหลับเป็นเวลาน้อยกว่า 5 ชั่วโมงในแต่ละคืนมีความเสี่ยงที่จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง และหากท่านใดมีพฤติกรรมการนอนหลับไม่เพียงพอติดต่อกันมากกว่า 25 ปี จะมีความเสี่ยงพบโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นถึง 40% เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

ออกกำลังกายเป็นประจำ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น สภาพร่างกายอาจเสื่อมลงและไม่กระฉับกระเฉงเหมือนเช่นเดิม จากผลวิจัยพบว่ากลุ่มผู้สูงวัยประมาณ 1 ใน 3 คน มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia) และเมื่อหลังอายุ 70 ปีแล้ว อัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า ส่งผลให้เกิดการหกล้มได้ง่ายและมีผลเสียตามมาอีกมาก จึงเป็นเรื่องที่ผู้สูงวัยและคนในครอบครัวต้องให้ความสำคัญ “การออกกำลังกายเป็นประจำ” จึงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวได้

การออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงวัย โดยอาศัยท่าทางการออกกำลังกายที่ไม่ต้องใช้แรงมากจนเกินไป เช่น การวิ่งเหยาะ ๆ การเต้นแอโรบิก การรำมวยจีน หรือการเดิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสุขภาพกล้ามเนื้อของแต่ละบุคคล และเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมไปถึงการออกกำลังชนิดเพิ่มความทนทาน จะยิ่งช่วยให้มีการสร้างโปรตีนของกล้ามเนื้อและช่วยให้ไขมันในกล้ามเนื้อลดลง ทั้งนี้ ต้องทำควบคู่ไปกับการได้รับโภชนาการอาหารที่ครบถ้วน โดยเฉพาะโปรตีนหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งในโปรตีนจะมีกรดอะมิโนลูซีน ที่เป็นหนึ่งตัวช่วยในการเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี

ดื่มน้ำให้เพียงพอ

ร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 75% ซึ่งร่างกายของเราจะสูญเสียน้ำระหว่างการทำกิจกรรมใช้ชีวิตประจำวัน เราจึงควรดื่มน้ำเพื่อทดแทนส่วนที่สูญหายไป เพราะการดื่มน้ำนอกจากดับกระหายแล้ว ยังจะช่วยทำให้สุขภาพและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยในแต่ละวัน ร่างกายคนเราควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพออย่างสม่ำเสมอ ทางกรมอนามัยได้เผยว่า ภาวะขาดน้ำมักพบได้ง่ายในกลุ่มผู้สูงวัยที่มักมีพฤติกรรมการดื่มน้ำน้อยกว่า 8 แก้วต่อวัน เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อที่ลดลงทำให้น้ำในร่างกายผู้สูงวัยลดลง การตอบสนองต่อความกระหายน้ำลดลง ทำให้ดื่มน้ำน้อยลง นอกจากนี้ หนึ่งในงานวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาใน eBioMedicine ได้ระบุว่า ผู้ที่ดื่มน้ำเพียงพอจะมีสุขภาพที่ดีกว่าและมีอายุยืนกว่า อีกทั้งยังมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและโรคปอดน้อยกว่า ดังนั้น กลุ่มผู้สูงวัยควรดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน

ทั้งหมดนี้คือเช็กลิสต์ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการช่วยเซฟและสร้างกล้ามเนื้อสำหรับทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัย เพื่อเป้าหมายที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาว โดยการจะก้าวไปสู่เป้าหมายนั้นได้ ต้องควบคู่กันทั้งในแง่ของการกินดี (Eat Well) ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่เฮลตี้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และการใช้ชีวิตอย่างมีสุข (Live Well) ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ และหมั่นดูแลสุขภาพใจให้ดี ซึ่งต้องทำควบคู่กันไปทั้งสองด้าน หรืออาจจะร่วมกับปัจจัยในด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสม และต้องอาศัยความมีวินัยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา

ซึ่งการกินดี มีสุข (Eat Well, Live Well) เป็นสิ่งที่ตรงกับปณิธานในการก่อตั้ง Ajinomoto และเนื่องในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกรดอะมิโนที่มีความต้องการส่งเสริมให้คนไทยตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของกรดอะมิโนที่มีอยู่รอบตัวเรา และประโยชน์ของกรดอะมิโนในฐานะที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการมีพื้นฐานสุขภาพที่ดีของร่างกาย เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่อยากให้คนไทยมีการกินดี มีสุข (Eat Well, Live Well) ทาง Ajinomoto จึงได้ปล่อยแคมเปญ Life is Full of Amino Acids ชีวิตหมุนรอบกรดอะมิโน โดยจะมีกิจกรรมภายใต้แคมเปญนี้อย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต สำหรับช่วงเวลาพิเศษเริ่มต้นปีอย่างนี้ ถือเป็นช่วงเวลาอันดีที่เราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะสุดท้ายแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้กลับมาจะเป็นผลลัพธ์ที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับตัวเราเอง และยังส่งผลดีต่อคนรอบตัวอีกด้วย

ขอบคุณภาพจาพ: ajinomoto_lifoaa_infochecklis

…………………………………………..

ทุกๆ ท่าน ควรใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ซึ่งประกันอุบัติเหตุ หรือ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล จากทิพยประกันภัย แบบพิเศษ แผน PA PLUS ก็ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมเหตุไม่คาดฝัน รวมทั้งผลประโยชน์จากการชดเชยรายได้ระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาล รายละเอียดจะเป็นอย่างไร มาดูกันครับ …
ปรโมชั่น และบทความน่าสนใจที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันสุขภาพ ประกันโควิด-19 ประกันภัยรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยบ้าน ประกันโดรน ประกันสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ประกันภัยอื่นๆ รวมถึง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินการสถาบันการเงินชั้นนำ

ประกันอุบัติเหตุ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ทิพยประกันภัย แบบพิเศษ แผน PA PLUS

เช็กดวง เรื่องที่ควรระวังของแต่ละราศี ตลอดมิถุนายน 2565 ใช้ชีวิตไม่ประมาท ประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองครอบคลุม

ข้อตกลงความคุ้มครอง แผนประกันภัยผู้เอาประกันภัย
แผน 1 แผน 2 แผน 3 แผน 4
1. การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟัง การพูดออกเสียง หรือทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ (อบ.2) – ขยายความคุ้มครองการฆาตกรรมลอบทำร้าย และอุบัติเหตุขณะขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ 200,000 400,000 600,000 800,000
2. การรักษาพยาบาล (ค่าอุบัติเหตุแต่ละครั้ง) ขยายความคุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ 10,000 20,000 30,000 40,000
3.ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล – ขยายความคุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสาร รถจักรยานยนต์  (สูงสุด 365 วัน ต่ออุบัติเหตุ) 500 ต่อวัน 500 ต่อวัน 1,000 ต่อวัน 1,000 ต่อวัน
4.ค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพ กรณีเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วย (ระยะเวลารอคอย 180 วัน สำหรับกรณีเสียชีวิตเนื่องมาจากการเจ็บป่วย) 10,000 10,000 20,000 20,000
เบี้ยประกันภัยรายปี (บาท) 870 1,310 2,030 2,460

คลิกที่นี่! เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขการรับประกันภัย ข้อยกเว้นประกันอุบัติเหตุ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และเอกสารประกอบการสมัคร เพิ่มเติม หรือหากมีข้อสงสัย สามารถโทรมาสอบถามได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ )

สนใจ สมัครประกันอุบัติเหตุ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

สามารถติดตามข่าวสาร โปรโมชั่น และบทความน่าสนใจที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ ประกันโควิด-19 ประกันภัยรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยบ้าน ประกันโดรน ประกันสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ประกันภัยอื่นๆ รวมถึง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินการสถาบันการเงินชั้นนำ

อ่านบทความเพิ่มเติม

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison

รับเอกสารที่บ้าน