ก่อนยื่นขอ สินเชื่อ ควรเตรียมตัวอย่างไร ? … รู้เคล็ดลับ แล้วมา สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล อนุมัติไว ถูกกฎหมาย สู้พิษเศรษฐกิจ

สินเชื่อ
ก่อนยื่นขอ สินเชื่อ ควรเตรียมตัวอย่างไร
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

ใครที่กำลังมีแผนจะ กู้ เงิน ไม่ว่าจะกู้เพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ ขอ สินเชื่อส่วนบุคคล หรือแม้กระทั่งลงทุนทำธุรกิจ ก็คงต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้ดี เพราะการขอ สินเชื่อ จะต้องมีเงื่อนไขและข้อตกลงมากมายที่เราต้องทำความเข้าใจ ดังนั้นก่อนที่จะ กู้ เงิน ต้องรู้ว่าขอสินเชื่อต้องเตรียมตัวอย่างไร เพื่อที่จะได้เตรียมตัวให้ดีและทำให้การขอ สินเชื่อ นั้นราบรื่น วันนี้ เราจะมาเผยเคล็ดลับทั้งหมด แล้วมา สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล อนุมัติไว ถูกกฎหมาย สู้พิษเศรษฐกิจ ที่ masii.co.th กันครับ ไปดูกันเลย …

ก่อนยื่นขอ สินเชื่อ ควรเตรียมตัวอย่างไร

ก่อนยื่นขอ สินเชื่อ สินเชื่อส่วนบุคล ควรเตรียมตัวอย่างไร

​​​​​​หากมีความจำเป็นต้องขอสินเชื่อ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่เราต้องพิจารณาคือความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง ดังนั้นการเลือกประเภทของสินเชื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและกำลังในการหารายได้เพื่อชำระหนี้ในอนาคนจึงเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งยังต้องทำความเข้าใจในกระบวนการและเงื่อนไขในการขอสินเชื่อให้ละเอียด ถี่ถ้วนและรอบคอบ เพื่อให้เราสามารถเตรียมตัวให้พร้อมและสินเชื่อจะได้รับการอนุมัติตามที่ต้องการ

สำรวจสถานภาพทางการเงินของตัวเอง 

สำรวจตัวเองว่าฐานะการเงินและความพร้อมในการต้องการกู้ของเรามีความพร้อมมากแค่ไหน มีหนี้ติดตัวมาหรือไม่ เช่น หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต ซึ่งหนี้ทั้งหมดรวมถึงหนี้การกู้สินเชื่อ เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 40% ของรายได้หรือเงินเดือนของเรา ธนาคารถึงจะมองว่าเรามีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้

อย่าลืมสำรวจอัตราดอกเบี้ย

เพราะธนาคารจะมีเงื่อนไขให้อัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันและวงเงินให้กู้แตกต่างกัน เช่น ถ้าสินทรัพย์ราคาต่ำ เป็นต้นว่า คอนโดราคาต่ำกว่า 300,000 บาท บางธนาคารจะไม่อนุมัติ ดังนั้น อันดับแรก เราต้องเช็คก่อนว่า วงเงินกู้ของเราที่ตั้งไว้กู้ผ่านเงื่อนไขของธนาคารหรือไม่

ก่อนยื่นขอ สินเชื่อ สินเชื่อส่วนบุคล ควรเตรียมตัวอย่างไร

สำรวจและเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย

โดยเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ธนาคารเรียกเก็บ เช่น ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ ปัจจุบันมีหลายธนาคารที่จัดโปรโมชั่นในการยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ เพื่อดึงดูดใจลูกค้า ซึ่งโดยปกติค่าธรรมเนียมการยื่นกู้จะอยู่ที่ 0.10% – 0.25 %

สำรวจเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ในการขอสินเชื่อ

แต่ละธนาคารมักมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ และเงื่อนไขที่แตกต่างกันค่ะ ดังนั้นเราควรศึกษาและเปรียบเทียบก่อน เช่น บางธนาคารมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้กู้ว่า ผู้กู้มีรายได้และมีความสามารถในการผ่อนชำระหรือไม่ อายุ อาชีพ รายรับทางบัญชี งบการเงิน สำหรับเทคนิคง่าย ๆ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้กู้รู้ทันและเตรียมตัวที่จะศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมดก่อนเลือกสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยได้ง่ายขึ้น วิธีง่ายที่สุดที่จะหาข้อมูลคร่าว ๆ คือ เลือกห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่พอควร แล้วไปเที่ยวห้างนั้น จากนั้นก็เดินขอรายละเอียดจากธนาคารในห้างนั้นให้ครบทุกธนาคาร ก็จะประหยัดเวลาในการหาข้อมูลไปได้มากทีเดียว

เตรียมเอกสารให้พร้อม

การเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการขอสินเชื่อให้พร้อมจะช่วยให้ระยะเวลาการขออนุมัติสินเชื่อสั้นลง ยิ่งเอกสารครบถ้วนเท่าไหร่ การอนุมัติก็จะง่ายขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามในแต่ละธนาคารก็อาจขอเอกสารที่แตกต่างกันไปบ้างตามประเภทของสินเชื่ออและตามนโยบายของแต่ละธนาคาร ซึ่งเอกสารแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ

เอกสารประจำตัว เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า หรือใบมรณบัตร สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี) กรณีนิติบุคคล อาจใช้สำเนาทะเบียนการค้า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

เอกสารเกี่ยวกับรายได้ ได้แก่

  • ผู้มีรายได้ประจำ ใบรับรองเงินเดือน หรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
  • ผู้มีอาชีพอิสระ กรณีเป็นสัญญาจ้าง อาจใช้สำเนาสัญญาว่าจ้างและหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง กรณีเป็นแพทย์ ทนายความ ผู้สอบบัญชี วิศวกร สถาปนิก ควรแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วยบัญชีเงินฝาก พร้อมใบแจ้งยอดบัญชี หรือสเตทเมนต์ (statement) ของบัญชีเงินฝากของตนเองหรือของกิจการย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ใบหุ้น พันธบัตรรัฐบาล บัญชีเงินฝากธนาคาร
  • นิติบุคคล ได้แก่ สำเนางบการเงินปีล่าสุด และย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี สำเนาแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำเนาเอกสารสิทธิในทรัพย์สินที่เสนอเป็นหลักประกัน และแผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ

เอกสารอื่น ๆ  เช่น สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ สัญญากู้เงิน และสัญญาจำนองจากสถาบันการเงินเดิม ในกรณีมีผู้กู้ร่วม จะต้องมีหลักฐานประจำตัว และหลักฐานรายได้ของผู้กู้ร่วม ในกรณีที่ขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นคือแผนธุรกิจ เช่น แผนธุรกิจของ SMEs แผนโครงการที่ต้องการดำเนินการ

การติดตามทวงถามหนี้

“ก่อหนี้เท่าที่จำเป็นและจ่ายไหว” และ “เป็นหนี้ต้องชำระ” เป็นกฎเหล็กที่ลูกหนี้ควรปฏิบัติ แต่เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้แล้วลูกหนี้กลับไม่ยอมจ่ายหนี้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะทวงเงินคืนหรือจ้างตัวแทนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ ซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558​​ เช่น ​

  • ห้ามทวงถามหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ และห้ามเปิดเผยข้อมูลการเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้ผู้อื่นทราบ เว้นแต่เป็นบุคคลซึ่งลูกหนี้ระบุไว้
  • กรณีเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการทวงหนี้ ต้องแสดงตัวตนต่อลูกหนี้โดยแจ้งชื่อ นามสกุล ชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้ รวมทั้งจำนวนหนี้ และถ้าเป็นการทวงหนี้ต่อหน้าให้แสดงหลักฐานการมอบอำนาจให้ทวงถามหนี้ด้วย​​
  • กรณีทวงหนี้และขอรับชำระหนี้ด้วย ต้องแสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้ และเมื่อ ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วต้องออกหลักฐานให้ด้วย
  • ให้ติดต่อกับลูกหนี้ตามสถานที่ที่ระบุไว้ หากไม่สามารถติดต่อได้ สามารถติดต่อที่ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของลูกหนี้ได้ ในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 00 น. และวันหยุดราชการ เวลา 08.00 – 18.00 น. ซึ่งต้องติดต่อในจำนวนครั้งที่เหมาะสม
  • ห้ามติดต่อลูกหนี้โดยวิธีที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงหนี้ เช่น ใช้ไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อว่าเป็นการทวงหนี้อย่างชัดเจน รวมทั้งการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้
  • ห้ามข่มขู่ ดูหมิ่น ใช้ความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สิน
  • ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น ใช้สัญลักษณ์ที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของศาล หน่วยงานของรัฐ สำนักงานกฎหมาย บริษัทข้อมูลเครดิต รวมทั้งแสดงข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี หรือถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน
  • ห้ามทวงหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม เช่น เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่กำหนดชักจูงให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระได้

ก่อนยื่นขอ สินเชื่อ สินเชื่อส่วนบุคล ควรเตรียมตัวอย่างไร

สิทธิของผู้ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินกรณีไม่ได้รับอนุมัติหรือถูกปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

หากผู้ขอสินเชื่อถูกปฏิเสธ สินเชื่อ จากสถาบันการเงิน ผู้ขอสินเชื่อสามารถขอทราบเหตุผลของการไม่อนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อมีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงศักยภาพ และสามารถขอสินเชื่อได้ใหม่ในอนาคต โดยตัวอย่างคำชี้แจง เช่น รายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ มูลหนี้คงค้างสูงเกินไป นอกจากนั้น ในกรณีการขอสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ หากถูกปฏิเสธสินเชื่อ ก็สามารถขอรับคืนเอกสารสำคัญที่เคยยื่นไว้เพื่อประกอบการพิจารณาสินเชื่อได้ เช่น งบการเงิน แผนประกอบธุรกิจ รายละเอียดหลักประกัน โดยสถาบันการเงินจะต้องคืนให้ภายในเวลาอันควร

หาก วางแผนการเงิน มาอย่างดี มีหน้าที่การงานมั่นคง และเตรียมตัวมาแล้วอย่างดีการขอ สินเชื่อส่วนบุคคล หรือแม้จะเพื่อธุรกิจเองก็จะผ่านฉลุย มาสิ อยากให้ทุกคนวางแผนการเงินที่ดี และหากอยากได้ตัวช่วยเพิ่ม สภาพคล่องทางการเงิน แต่คุณก็ต้องมี วินัยทางการเงิน ด้วยนะครับ

ก่อนยื่นขอ สินเชื่อ สินเชื่อส่วนบุคล ควรเตรียมตัวอย่างไร

หากเดือดร้อนจริงๆ แนะนำให้ใช้บริการขอ เงินกู้ จากสถาบันการเงินที่มีมาตรฐานจะปลอดภัยกว่า แม้ว่าขั้นตอนการกู้ยืมจะมีการตรวจสอบนานหน่อย แต่คุณก็สามารถมั่นใจได้ว่าจะไม่ถูกหลอกอย่างแน่นอน และแน่นอนว่า มาสิ คือเว็บไซต์ที่เชี่ยวชาญด้านการเงินและเทคโนโลยี ที่ให้บริการข้อมูลในด้านของการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงินและประกันภัยต่างๆ ให้กับคนไทย โดยมีผู้ใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคนจากทั่วประเทศ ซึ่งเว็บไซต์ของเรามีความเชื่อถือได้ และช่วยให้คุณและครอบครัวตัดสินใจทางการเงินได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงสร้างทางเลือกสู่อิสรภาพทางด้านการเงินให้กับคุณ

……………………………………….

ท่ามกลางเศรษฐกิจฝืดเคืองทั่วโลกเช่นนี้ ขอแนะนำ!!! แอป Siam Digital Lending แอปเงินกู้ถูกกฎหมาย การเข้าถึง สินเชื่อถูกกฎหมาย และน่าเชื่อถือในประเทศไทยจึงง่ายขึ้นกว่าเดิม แพลตฟอร์มที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางนี้ให้คุณสามารถ สมัครสินเชื่อ ได้อย่างปลอดภัย พร้อมการอนุมัติที่รวดเร็ว เงื่อนไขที่ยืดหยุ่น และอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมตามกฎหมาย

ดาวน์โหลดแอปและเริ่มต้นใหม่กับอนาคตทางการเงินที่สดใส ได้แล้ววันนี้!!!

พร้อมสำหรับการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล ถูกกฎหมาย กับ Siam Digital Lending แล้วหรือยังครับ ? เพียงแค่ดาวน์โหลดแอป จาก Google Play หรือ App Store เพื่อสัมผัสความง่ายดาย และความสะดวกสบายในทุกขั้นตอนของการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล SiamDL

ดาวน์โหลดเลย!!!

เติมเต็มทุกความต้องการกับ สินเชื่อส่วนบุคคล อเนกประสงค์ แบบไม่ค้ำประกันจาก SiamDL

ไม่ต้องวางหลักทรัพย์หรือผู้ค้ำประกัน ให้วงเงินอนุมัติสูงสุด 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือสูงสุด 2 แสนบาท และเลือกผ่อนจ่ายได้นานสุด 30 เดือน

  • สินเชื่อเงินด่วนทันใจ รู้ผลอนุมัติไวสุดภายใน 15 นาที
  • สินเชื่อส่วนบุคคลให้บริการผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ เช่น สมัคร รับเงิน เช็กยอด จ่ายบิล ตารางแบ่งชำระ ฯลฯ
  • สินเชื่อถูกกฎหมาย ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทยและดูแลความปลอดภัยของข้อมูลตาม พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • บริการโปร่งใส ให้สินเชื่อที่เป็นธรรมด้วยอัตราดอกเบี้ยตามปกติ 25% พร้อมให้คำปรึกษาปัญหาภาระหนี้สิน
  • รายได้น้อยก็สมัครได้ เริ่มต้น 12,000 บาทขึ้นไป

สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล SiamDL ระบบ Android

สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล SiamDL ระบบ iOS

ติดต่อเรา

Siam Digital Lending Co., Ltd. เป็นผู้ให้บริการทางการเงินด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงสินเชื่อที่ถูกกฎหมายได้ง่ายขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของธนาคารแห่งประเทศไทยในการช่วยแก้ไขปัญหาการกู้ยืมเงินจากแหล่งนอกระบบและอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนที่สูง

เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาและปรับปรุงความสามารถของเราในการให้บริการลูกค้า รวมถึงการมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าทุกคน หากคุณมีคำถาม สอบถาม แจ้งปัญหา หรือข้อร้องเรียน คุณสามารถส่งข้อความถึงเราได้ทันที เราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด

  • ที่อยู่: ชั้น 8 อาคาร ดร.เกฮาร์ด ลิงค์ 5 ซอยกรุงเทพกรีฑา 7 หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
  •  โทร.: 02 016 9300
  •  เวลาทำการ: 08:30 – 17:30
  •  อีเมล: [email protected]

ค้นหาเราทางช่องทางออนไลน์

  • Line: @siamdlloan
  • Facebook: Siamdl Finance
  • IG: siamdlloan
  • Youtube: siamdlloan
  • Tiktok: siamdlloan

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

#SiamDL #SiamDigitalLending #สินเชื่อส่วนบุคคล #สินเชื่อเงินด่วน #แอปสินเชื่อถูกกฎหมาย #แอปเงินกู้ #ดอกเบี้ยถูก #อนุมัติไว #แอปสินเชื่อ #วิธีชำระคืน #SiamDL #การเงิน #สินเชื่อออนไลน์