หน้าแรก สินเชื่อส่วนบุคคล

สินเชื่อส่วนบุคคล

แหล่งรวบรวมเคล็ดลับการเลือก เปรียบเทียบ และวิธีการสมัครขอสินเชื่อส่วนบุคคล พร้อมวิธีการบริหารหนี้และการหมุนเงิน วิธีการกำจัดหนี้เสียให้หมดไป

สินเชื่อส่วนบุคคล

ข้อควรรู้ก่อนและหลังกู้ สินเชื่อส่วนบุคคล & คำถามที่พบบ่อย

ข้อควรรู้ก่อนและหลังกู้ สินเชื่อส่วนบุคคล & คำถามที่พบบ่อย ก่อนกู้ต้องดูอะไรบ้าง 1. โฆษณาดอกเบี้ยต่อเดือน  ในการพิจารณาขอกู้สินเชื่อจากแต่ละสถาบันการเงิน บางทีอาจจะมีการโฆษณาว่าดอกเบี้ยของตนเองถูกกว่า ถูกที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรระวังโฆษณาที่ระบุว่า ดอกเบี้ยต่อเดือนน้อย หรือดอกเบี้ย 0% เพราะถ้าเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อเดือน ให้คูณด้วย 12 เข้าไปด้วย จึงจะได้อัตราดอกเบี้ยต่อปีที่แท้จริง 2. ต้องคำนวณรวมตัวเลขทุกอย่าง ในทางปฏิบัติ เราไม่ควรพิจารณาแค่ "อัตราดอกเบี้ย" ของสินเชื่อแต่ละประเภทที่สถาบันการเงินเสนอมาเพียงอย่างเดียว เพราะในชีวิตจริงนั้น ทุกอย่างที่เป็นต้นทุนการกู้ของเราถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเรียกว่าดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการใดๆ ก็ตาม เพราะสำหรับสินเชื่อบางประเภทนั้น แม้ดอกเบี้ยของสินเชื่ออาจถูกกว่า แต่พอรวมค่าธรรมเนียมต่างๆ เข้าไปแล้ว เงินที่ต้องจ่ายทั้งหมดอาจจะแพงกว่าสินเชื่อประเภทอื่นก็ได้ เช่น ดอกเบี้ยสินเชื่อกดจากบัตรเครดิต ดอกเบี้ยอาจต่ำกว่าประเภทอื่น...
วัยทำงาน

วัยทำงาน 50+ หางานยังไงให้ได้งาน? ผู้เชี่ยวชาญเผย 6 เคล็ดลับต้องรู้!

เมื่อธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลกต้องปรับตัวอย่างหนัก ทั้งจากเทคโนโลยี AI เข้ามาดิสรัปต์ และจากปัญหาเศรษฐกิจผันผวน เงินเฟ้อ ค่าครองชีพพุ่งสูง ทำให้ วัยทำงาน หรือ วัยแรงงานกลุ่มอายุ 50-60 ปีที่ยังเกษียณไม่ได้และต้องทำงานต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มที่ เกษียณอายุงาน ก่อนวัย ( ช่วงอายุ 50 กว่าๆ ) อาจจะต้องกลับเข้าสู่ระบบแรงงานอีกครั้ง เพราะรายได้หลังเกษียณไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหรือค่าครองชีพในยุคนี้ รวมถึงการขาดแคลนแรงงานอย่างหนักในหลายๆ ประเทศ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องขยายอายุงานออกไปอีก เนื่องในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2567 นี้ masii หยิบยกเรื่องราวที่น้่าสนใจของคนทำงาน...
ปรับโครงสร้างหนี้

ขอ ปรับโครงสร้างหนี้ แบบไหน…ที่เหมาะกับเรา

สิ่งสำคัญที่สุดในการ ปรับโครงสร้างหนี้ คือ เราต้องประเมินสถานการณ์ของเราก่อน เช่น รายได้ของเราลดลงมากน้อยแค่ไหนหรือเราขาดรายได้ และระยะเวลาที่รายได้ของเราลดลงหรือขาดรายได้จะนานแค่ไหน แล้วค่อยพิจารณาความคุ้มค่าของแต่ละทางเลือก บางทางเลือกอาจดูคุ้มค่า เช่น โดยรวม ๆ แล้วเราจะเสียดอกเบี้ยน้อยกว่า แต่ค่างวดในแต่ละเดือนอาจทำให้เราเหลือเงินไม่พอใช้จนต้องกู้เงินมาใช้จ่ายอีก ขอ ปรับโครงสร้างหนี้ แบบไหน...ที่เหมาะกับเรา เมื่อรายรับที่ได้ไม่พอจ่ายหนี้ หลายคนอาจใช้วิธี “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” แต่ใครจะรู้...ถึงแม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน (เช่น หนี้บัตรเครดิต) การ “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” ก็อาจจะทำให้เจ้าหนี้ฟ้องยึดบ้าน หรือยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของเรา รวมถึงเสียประวัติเครดิต ไม่มีใครปล่อยกู้ และเสียหายถึงหน้าที่การงานของเราได้ การขอปรับโครงสร้างหนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เราไม่ผิดนัดชำระ และรักษาทรัพย์สินของเราไว้ได้ แต่เราต้องรู้ก่อนว่าการปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบคืออะไร...
ปรับโครงสร้างหนี้

masii ชวนรู้ … ปรับโครงสร้างหนี้ … คืออะไร

เมื่อเกิดเหตุที่ทำให้รายรับลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น หรือทั้ง 2 อย่างพร้อมกัน แม้จะลองลดค่าใช้จ่ายแล้ว แต่ก็มีแววว่าจะเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหว จะหาเงินก้อนมาปิดทันทีก็เป็นไปไม่ได้ ถ้าคุณกำลังเจอปัญหานี้ สิ่งแรกที่ต้องรีบดำเนินการคือ รีบติดต่อกับสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาขอ ปรับโครงสร้างหนี้ ที่มีอยู่ masii ชวนรู้ ... ปรับโครงสร้างหนี้ ... คืออะไร การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญากู้เงินที่เคยทำไว้กับเจ้าหนี้ได้อีกต่อไปได้ ด้วยการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ให้เหมาะสมกับรายรับที่ลดลงหรือความสามารถในการชำระหนี้ที่เปลี่ยนไป โดยที่ไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสีย (Non-Performing Loan : NPL) เพราะหากปล่อยปัญหาหนี้ไว้นานเกินไปอาจส่งผลเลวร้ายกว่าที่คิด เช่น ถูกฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ และหาทางออกได้ยากยิ่งขึ้น ก่อนจะเริ่มกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ เราควรเริ่มต้นจากการศึกษาทางเลือกในการปรับโครงสร้างหนี้และลองคิดไว้ล่วงหน้าว่าแบบไหนที่เหมาะกับความสามารถในการผ่อนชำระของเรามากที่สุด ตัวอย่างรูปแบบของการปรับโครงสร้างหนี้มีดังนี้ 1. ขอขยายเวลาชำระหนี้  หรือการยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปซึ่งจะทำให้ค่างวดลดลง เช่น...
เงินเดือนข้าราชการ

เช็กเลย! เงินเดือนข้าราชการ แต่ละวุฒิการศึกษาปรับขึ้นเท่าไหร่ เริ่ม 1 พ.ค. 67

เรียกได้ว่าสร้างฮือฮาอย่างมาก กรณีการปรับขึ้น เงินเดือนข้าราชการ 2567 โดยในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2566 เห็นชอบการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ การปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว และแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ตามที่ สำนักงาน ก.พ. เสนอ เช็กเลย! เงินเดือนข้าราชการ แต่ละวุฒิการศึกษาปรับขึ้นเท่าไหร่ เริ่ม 1 พ.ค. 67 โดยการปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ ปรับขึ้น เงินเดือนข้าราชการ 1 พฤษภาคม 2567 ตัดสินจากคุณวุฒิ (ในประเทศ) ที่ ก.พ. รับรองเพื่อการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จำนวน 34 คุณวุฒิ ซึ่งมีดังนี้ 1. วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ของแพทยสภา ในสาขาที่มีกําหนดเวลาศึกษา...
เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ

ออมสิน เปิดลงทะเบียน เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ เพื่อการเกษียณ 10 ปี ดอกเบี้ย 2.84%

เริ่มแล้ว! ธนาคาร ออมสิน เปิดลงทะเบียนจองสิทธิ เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ เพื่อการเกษียณ 10 ปี ดอกเบี้ย 2.84% ต่อปี เริ่ม 22 เม.ย.-30 มิ.ย.นี้ ออมสิน เปิดลงทะเบียน เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ เพื่อการเกษียณ 10 ปี ดอกเบี้ย 2.84% ธนาคารออมสินได้เปิดให้ลงทะเบียนจองสิทธิเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษเพื่อการเกษียณ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.84% ต่อปี (เทียบเท่าเงินฝากประจำ 3.34% ต่อปี) จ่ายดอกเบี้ยทุกปี โดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากประเภทเผื่อเรียกที่เป็นบัญชีคู่โอน เมื่อฝากครบ 10...
สินเชื่อ

masii ชวนคุณมา … ไขความจริง … เรื่องปัญหา สินเชื่อ

เคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องนั่งคิดเรื่องปัญหาหนี้เพียงลำพังหรือไม่ ซึ่งก็อาจมีช่วงเวลาที่เราคิดหรือเข้าใจอะไรไปเองสักอย่าง วาดภาพหรือจินตนาการไว้รูปแบบหนึ่ง แต่ในความจริงแล้วอาจกลับกลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่งแบบตรงข้ามกันเลยทีเดียว มาไขความจริงกับปัญหาหนี้ สินเชื่อ สินเชื่อส่วนบุคคล เหล่านี้กันดีกว่าว่าเป็นอย่างที่คุณคิดไว้หรือไม่ masii ชวนคุณมา ... ไขความจริง … เรื่องปัญหา สินเชื่อ ความเชื่อที่ 1 : เจ้าหนี้คงไม่รับฟังปัญหา ไม่ช่วยเหลือ ความจริง เจ้าหนี้ทั้งหลายล้วนมีความจริงในใจอย่างเดียวกันข้อหนึ่งคือต้องการได้เงินที่ให้กู้ยืมกลับคืนมา (ยกเว้นเจ้าหนี้ที่ไม่ดีบางรายที่หวังยึดทรัพย์สินเพราะขายต่อแล้วจะได้เงินเกินมูลหนี้ เช่น ที่ดินในทำเลดี) ดังนั้น เมื่อตัวเราเกิดปัญหาจ่ายหนี้ไม่ไหว เช่นเพราะตกงาน รายได้ลดลง หรือความจำเป็นอื่น ๆ ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อชี้แจงเหตุผลและเจรจาขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เหมาะกับสถานะทางการเงินของเรา เจ้าหนี้จะช่วยวิเคราะห์ หาทางออกปัญหา รวมถึงปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ให้เรา ซึ่งมีได้หลายรูปแบบ เช่น...
เงินดิจิทัล

เงินดิจิทัล 10,000 บาท คลังสรุปเงื่อนไขตามมติครม. ล่าสุด

ความคืบหน้าโครงการ เงินดิจิทัล 10,000 บาท ล่้าสุด นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันที่ 23 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ตามมติคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet  ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567...
Samsung เกิดเส้นเขียว

5 วิธีแก้ไขเบื้องต้น หากหน้าจอมือถือ Samsung เกิดเส้นเขียว

เมื่อไม่กี่วันก่อน มีรายงานจากผู้ใช้หลายรายว่า มือถือ Samsung เกิดเส้นเขียว ปรากฏขึ้นคาดบริเวณหน้าจอจากด้านบนลงล่าง หลังอัปเดตซอฟต์แวร์ ยกระดับความปลอดภัย-แก้ไขบั๊ก ประจำเดือนเมษายน จนเส้นดังกล่าวปรากฏค้างบนหน้าจอ รวมถึงมีรายงานว่ามือถือแบรนด์อื่น ๆ ก็พบกรณีนี้เช่นกัน ไม่รอช้า Samsung มีการประกาศวิธีแก้ไขเบื้องต้น กรณีที่หน้าจอปรากฏเส้นสีเขียว ซึ่งเราสามารถลองทำได้ด้วยตัวเองmasii เลยนำข้อมูลมาบอกต่อ เพื่อให้ทุกท่านได้ลองแก้ไขกันดู 5 วิธีแก้ไขเบื้องต้น หากหน้าจอมือถือ Samsung เกิดเส้นเขียว เมื่อ แSamsung เกิดเส้นเขียวรีสตาร์ทเครื่อง หลายครั้ง ที่ระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์ทำงานผิดพลาด อาจทำให้เกิดอาการหน้าจอเป็นเส้นขึ้นมาได้ สิ่งแรกที่ควรทดลองทำ คือ การรีสตาร์ทเครื่อง หรือถ้ามีอาการเครื่องค้างร่วมด้วย ให้กดปุ่ม Power ด้านข้าง พร้อมกับปุ่มเพิ่ม-ลดเสียงพร้อมกัน...
กู้เงิน

ข้อคิดก่อนตัดสินใจ กู้เงิน สินเชื่อ สินเชื่อส่วนบุคคล

เชื่อแน่ว่าเราทุกคนต่างก็ไม่ได้อยากเป็นหนี้กันทั้งนั้น แต่บางครั้งหากจำเป็นจริงๆ การเป็นหนี้ก็ไม่ได้ถือเป็นเรื่องเลวร้าย ในทางตรงกันข้ามมันอาจจะเป็นการลงทุนกับปัจจุบันเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นก็ได้ ถึงอย่างไรก็ตามก่อนจะกู้เงินเราต้องคิดพิจารณาให้ดีเสียก่อน และต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนเท่านี้เราก็ กู้เงิน ได้อย่างสบายใจแล้วล่ะครับ 1. ความสามารถในการผ่อนชำระ หากเรามีหนี้มากก็ต้องเสียดอกเบี้ยจำนวนมาก และถ้าภาระหนี้ที่ต้องผ่อนจ่ายในแต่ละงวดมากเกินกำลังชำระหนี้ของเราก็อาจไม่มีเงินไปจ่ายตามกำหนด หรือที่เรียกว่าเกิดการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งเราอาจต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดซึ่งแพงกว่าดอกเบี้ยผิดปกติ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ดังนั้น สิ่งที่ควรจำให้ขึ้นใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจเป็นหนี้ ก็คือควรพิจารณาว่าเรามีความสามารถในการผ่อนชำระมากน้อยแค่ไหน 2. ประเภทสินเชื่อ สินเชื่อมีหลากหลายประเภท มีลักษณะและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เราจึงควรพิจารณาประเภทของสินเชื่อที่เหมาะกับความจำเป็นในการใช้เงินของเรา ซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสถาบันการเงินต่างๆ ที่ให้บริการด้านสินเชื่อ 3. อัตราดอกเบี้ย และวิธีการคิดดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่ใช้ และวิธีการคำนวณดอกเบี้ยของสถาบันการเงินแต่ละแห่งอาจแตกต่างกัน ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลอัตราดอกเบี้ยและวิธีคิดอัตราดอกเบี้ยว่าสถาบันการเงินที่เราสนใจจะใช้บริการ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบประกอบการตัดสินใจ เราสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากผู้ให้บริการสินเชื่อ หรือหากต้องการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมที่สำคัญก็สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงอย่างไรก็ตามก่อนจะกู้เงินเราต้องคิดพิจารณาให้ดีเสียก่อน และต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนรวมถึงพยายามรู้ให้เท่าทันสถาบันการเงิน เท่านี้เราก็กู้เงินได้อย่างสบายใจแล้วล่ะครับ 5 เคล็ดลับกับเรื่อง สินเชื่อ ที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ เคล็ดลับการขอสินเชื่อ ข้อที่ 1 ไม่ควรขอสินเชื่อบ่อยเกินกว่า 1 ครั้งต่อเดือน...