“ โดรน ” หรือ อากาศยานไร้คนขับ ถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่กลายเป็นเทรนด์เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ที่มีส่วนช่วยในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ เช่น ภาคเกษตรกรรมมีการนำ โดรนการเกษตร พ่นยาฆ่าหญ้า การขนส่งสินค้า หรือที่เรียกว่า โดรนขนส่ง กลุ่มธุรกิจภาพยนตร์และการโฆษณา ใช้ โดรนถ่ายภาพ เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีสุดล้ำอย่างโดรนนี้มีข้อดีมากมาย เพราะลดการใช้แรงงานคน ลดต้นทุน แถมยังมีส่วนช่วยให้เกิดความสวยงามในกระบวนการผลิตสื่อต่างๆ ด้วย แต่ในข้อดีมากมายที่ได้กล่าวมา หากไม่มีการควบคุมอย่างจริงจัง ก็อาจจะมีคนนำโดรนไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายได้ ดังนั้น โดรนจึงต้องถูกควบคุมเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงต้องมีการ ขึ้นทะเบียนโดรน
เอาโดรนขึ้นบิน แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนโดรน ความผิดพลาดที่ไม่ควรเกิด
ในประเทศไทย เริ่มเปิดกว้างให้ใช้โดรนมากขึ้น สำนักงาน กสทช. จึงมีการ รับขึ้นทะเบียนโดรน สำหรับผู้ที่ครอบครองโดรน ไม่อย่างนั้นอาจผิดกฎหมายได้ โดยล่าสุด สำนักงาน กสทช. ประกาศหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขการอนุญาตโดรน หรืออากาศยานไร้คนขับที่มีน้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ดังนั้นก่อนที่ นักบินโดรนทั้งหลายเตรียมวางแพลนว่าจะไปเก็บภาพสวยๆ ตามสถานที่ต่างๆ ในช่วงปีใหม่ มาสิ อยากให้คุณๆ อ่านบทความนี้ก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น หากคุณนำโดรนขึ้นบินโดยไม่ได้จดทะเบียน
ก่อนอื่นเลย เมื่อคุณซื้อโดรนใหม่แกะกล่องมานั้น นักบินโดรนจะต้องรู้ก่อนครับว่าคุณเป็นผู้ครอบครองโดรนประเภทไหน ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
- ผู้ครอบครองโดรนที่ใช้งานโดรนทั่วไป
- ผู้ครอบครองโดรนที่ใช้ในภารกิจชั่วคราว เช่น กองถ่ายภาพยนตร์ งานแสดงต่างๆ
- ผู้ครอบครองโดรนที่ใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งหมด ยกเว้นหน่วยงานด้านความมั่นคง
- ผู้ครอบครองโดรนที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติและนำโดรนเข้ามาใช้ในประเทศไทย
ซึ่ง มาสิ ขอบอกเลยครับว่า ทั้ง 4 ประเภทนี้จะต้อง ขึ้นทะเบียนโดรน ทั้งหมด ถ้าคุณไม่อยากเสียค่าปรับ เพราะถ้าผู้ซื้อโดรนรายใหม่ไม่ ขึ้นทะเบียนโดรน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีโดรนไว้ในครอบครอง จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ถือว่าสำคัญมากๆ ซึ่งเจ้าของโดรนทั้ง 4 ประเภทดังกล่าว สามารถเดินทางไปขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงาน กสทช. ส่วนกลาง ซอยพหลโยธิน 8 (ซอยสายลม) กรุงเทพฯ หรือสำนักงานกสทช. ในเขตพื้นที่ที่อาศัยอยู่
โดยจะมีค่าธรรมเนียม 200 บาทต่อ 1 เครื่อง สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02 670 8888 ต่อ 7850,7852 สายด่วน Call Center 1200 หรือ แฟนเพจเฟซบุ๊กและยูทูป “ กสทช.” ไลน์ @NBTC
และอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของโดรนจะต้องทำ คือ ประกันโดรน เพื่อใช้ประกอบเป็นเอกสารสำคัญในการยื่นทำ ใบอนุญาตบินโดรน หรือ ขึ้นทะเบียนโดรน ไม่ต้องยุ่งยาก เพราะสามารถทำ ประกันภัยโดรน ได้ง่ายๆ ผ่านทางเว็บไซต์ มาสิ ได้เลย โดยมีให้เลือกสมัคร ประกัน คุ้มครองโดรน มากถึง 8 แพ็กเกจ ในราคาเริ่มต้นเพียง 650 บาท เท่านั้น พร้อมรับกรมธรรม์ผ่านทางอีเมลล์ภายใน 1 วัน หลังจากส่งเอกสารและชำระเงินก่อนเวลา 16.00 น. ส่วนกรมธรรม์ฉบับจริงจะส่งให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้
โอกาสดีรับปีใหม่! ลูกค้าที่ซื้อโดรนใหม่ และเลือกทำ ประกันโดรน กับ มาสิ มีบริการ ขึ้นทะเบียนโดรน โดยมีค่าธรรมเนียมเพียง 214 บาท สำหรับขึ้นทะเบียนกับ กสทช. และ ไม่มีค่าธรรมเนียมสำหรับขึ้นทะเบียนกับกรมการบินพลเรือน โดยต้องเป็นโดรนซื้อใหม่ มีใบเสร็จการซื้อโดรนไม่เกิน 30 วันหลังจากการซื้อโดรน ซึ่งจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 15 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วน
ดังนั้นใครที่ซื้อโดรนรุ่นล้ำๆ มาใหม่แกะกล่อง เพื่อความปลอดภัย อย่าลืม! ขึ้นทะเบียนโดรน เพราะการ บินโดรน ไม่มีใบอนุญาต ความผิดแน่นอน! และสามารถ เช็กราคา ประกันโดรน กับ มาสิ รือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ ค่าประกันภัย สำหรับโดรน , การขึ้นทะเบียนโดรน และการ ขึ้นทะเบียนโดรนรวมประกัน ได้ที่ 02 710 3100 หรือ 06 3323 1640 รวมถึง Line @hellomasii
สนใจสมัครประกันโดรน
_____________________________________________
Please become Masii Fan !!
Facebook: www.facebook.com/MasiiThailand
Website: www.masii.co.th
Line : @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCV-5rpO5ZqAGfgLdKqzKGFw
Instagram: www.instagram.com/masii_thailand/
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์ #ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน
#ประกันภัยโดรน #ประกันโดรน #ลงทะเบียนโดรน #ขึ้นทะเบียนโดรน #Dronethailand#ประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์ชั้น1 #สมัครประกันรถยนต์ #ประกันรถที่คุ้มที่สุด
#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า