สำหรับคนที่ใช้โดรน เป็นประจำนั้น จำเป็นต้องศึกษาการดูแลรักษาโดรน บังคับโดรนอย่างถูกวิธีตามข้อบังคับ และการปฏิบัติตามกฎหมายทุกครั้งที่เราใช้โดรน ซึ่งหากพูดถึงบทบาทของโดรนในปัจจุบันนั้นเราจะพบว่าโดรนมีความสำคัญอย่างมากมาย ซึ่งผู้บังคับโดรนนั้นต้องปฏิบัติตามกฏข้อบังคับ หรีอกฏการบินโดรนอย่างเคร่งครัด ไม่อย่างนั้นแล้ว ผู้ควบคุมโดรน หรือเจ้าของโดรนลำนั้นจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมายได้
กฏข้อบังคับการบิน โดรน และเขตห้ามบิน โดรน ในกรุงเทพ
กฏข้อบังคับการบินโดรน มีความสำคัญมาก เพราะไม่ใช่กฏข้อห้ามหรือข้อบังคับธรรมดา แต่คือกฏหมายและหากไม่ทำตาม จะถูกดำเนินคดี และนั่นคือสาเหตุหนึ่งที่ ผู้ควบคุมโดรนทุกลำจะต้องขึ้นทะเบียนโดรน เพื่อยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าของโดรนลำนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฏที่ว่าด้วยเขตห้ามบินโดรน No Fly Zone
วันนี้ทาง masii จะนำเกร็ดความรู้เรื่องกฎการใช้โดรนและเขตห้ามบินมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามกันอย่างเคร่งครัด เรามาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
- ห้ามทำการบินโดรนในสถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล ยกเว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
- ผู้ที่ปล่อยโดรน ห้ามทำการบินสูงเกิน 90 เมตร หรือ 300 ฟุต เหนือพื้นดิน
- ผู้ที่ปล่อยโดรน ต้องบินในช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก และต้องมองเห็นโดรนของเราตลอดเวลา ห้ามบินเข้าใกล้เมฆหรือบินเข้าไปในเมฆ
- ผู้ที่บังคับโดรน ห้ามบินเหนือหมู่บ้าน ชุมชน เมือง หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
- ผู้ที่บังคับโดรน ห้ามละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความรำคาญ ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.caat.or.th
No Fly Zone คืออะไร
ต้องบอกว่าผู้บังคับโดรนนั้น ต้องศึกษา ข้อห้าม และข้อบังคับต่างๆ ซึ่งรวมไปถึง No Fly Zone โซนในพื้นที่นั้นๆ ด้วย ซึ่งสำหรับ No Fly Zone นั้น เรียกได้ว่าเป็นเขตพื้นที่ห้ามบิน ซึ่งสำหรับพื้นที่ห้ามบิน คือพื้นที่ที่ตั้งอยู่และห้ามโดรนเข้ามาในพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยของบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เช่น การป้องกันการโจมตีทางอากาศ การป้องกันการเผยแพร่ของสารเคมีหรือป้องกันการกระจายเชื้อโรคทางอากาศ หรืออาจเป็นการป้องกันการใช้งานอากาศยานของบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ได้รับอนุญาตในพื้นที่นั้นๆ การกำหนด No Fly Zone จะเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายและนโยบายด้านการปกครองและการรักษาความมั่นคงของประเทศหรือพื้นที่นั้นๆ
1.ห้ามทำการบินโดรนบริเวณพื้นที่หวงห้ามเด็ดขาด พื้นที่หวงห้ามเฉพาะ และพื้นที่อันตราย ตามที่ประกาศในเอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP – Thailand) รวมทั้งบริเวณพื้นที่ 9 กิโลเมตร (5 ไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
2.ห้ามทำการบินในบริเวณสถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
3.ห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตร (300 ฟุต) เหนือพื้นดิน
4.ต้องทำการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก โดยสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน และห้ามทำการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ
5.ห้ามทำการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
6.ห้ามทำการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรำคาญผู้อื่น
วิธีตรวจสอบพื้นที่ห้ามบินโดรน
สำหรับเขตพื้นที่ ห้ามบินโดรน ในกรุงเทพมหานคร มีดังนี้
ดูภาพตัวอย่างด้านล่าง
- ท่าอากาศยานดอนเมือง
- กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
- สวนรถไฟ
- สนามราชมังคลากีฬาสถาน
- สวนหลวงร.9
- ป่าในกรุง
- สนามบินสุวรรณภูมิ
- ตลาดนัดรถไฟรัชดา
- เอสพลานาด รัชดาภิเษก
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
- สะพานพระราม8
- ท่ามหาราช
- วันพระแก้วและเขตวังฯ
- วันอรุณราชวราราม
- สวนลุมพินี
- สวนเบญจกิตติ
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://magiapp.me
สนใจสมัครประกันภัยโดรน
การกำหนดเขตห้ามบินโดรนที่กำหนดไว้ดังกล่าวเป็นการป้องกันการชนกับอากาศยานที่มีขนาดใหญ่กว่า และอุปสรรค อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการบินของโดรน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยกระแสลม การถูกคลื่นสัญญาณแทรกแซง และใช้สิทธิ์ในการควบคุมและจำกัดการบินของโดรนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ และหากใครที่ ซื้อโดรนลำใหม่มา่ อย่าลืมวางแผนที่จะขึ้นทะเบียนโดรนและซื้อประกันภัยโดรน หรือสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ
ใครที่สนใจหรืออยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับประกันโดรนเพิ่มเติม สามารถโทรมาสอบถามข้อมูลได้ที่ 02 710 3100 หรือแอด LINE: @masii (มี @ ด้วยนะ)