ประกันกลุ่ม กับ ประกันสังคม เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ประกันกลุ่ม กับ ประกันสังคม เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ประกันกลุ่ม กับ ประกันสังคม เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

สำหรับพนักงานออฟฟิศหรือมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ เคยสงสัยกันไหมว่า “ประกันกลุ่ม” กับ “ประกันสังคม” มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะบางคนได้รับสิทธิประกันกลุ่มจากสวัสดิการของบริษัท แต่ไม่เคยใช้ประกันใดๆ เลย ซึ่งอาจทำให้เราเสียสิทธิ์ในการได้รับความคุ้มครองจากประกันเหล่านี้ไปโดยไม่รู้ตัว วันนี้ masii เลยมีความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ ประกันกลุ่ม และ ประกันสังคม มาฝากกันว่าทั้งสองสิ่งนี้ มีความเหมือนหรือมีความต่างอย่างไรบ้าง

ประกันกลุ่ม กับ ประกันสังคม เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ประกันกลุ่ม คืออะไร

ประกันกลุ่ม หรือ ประกันภัยแบบกลุ่ม คือการประกันภัยบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์เดียวกัน โดยส่วนใหญ่บริษัทจะใช้เป็นสวัสดิการให้แก่พนักงาน โดยผู้จ้างเป็นผู้ถือกรมธรรม์และพนักงานหรือลูกจ้างเป็นผู้เอาประกัน โดยพนักงานจะมีใบรับรองการเอาประกันเป็นหลักฐานในการเอาประกันภัย และมีไว้สำหรับใช้สิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง สามารถยื่นบัตรประกันกลุ่มพร้อมกับบัตรประชาชนเพื่อรับสิทธิ์กับทางโรงพยาบาลได้เลย ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเดือดร้อนหาที่กู้เงินมาเป็นค่ารักษาพยาบาลให้ยุ่งยาก

ซึ่งประกันกลุ่ม นั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ประกันอุบัติเหตุกลุ่ม, ประกันสุขภาพกลุ่ม และประกันทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแบบกลุ่ม เป็นต้น

ผู้เอาประกัน : บุคคลทั่วไปที่ทำงานในบริษัทหรือองค์กร ในกรณีลาออกจากงาน จะถือว่าสิ้นสุดการคุ้มครองทันที

ความคุ้มครอง : ให้ความดูแลตามเงื่อนไขกรมธรรม์ที่บริษัทเลือก เช่น ประกันสุขภาพแบบกลุ่มจะดูแลในกรณีเจ็บป่วยเล็กน้อยไปถึงขั้นผ่าตัดตามเงื่อนไขที่กำหนด หรือประกันอุบัติเหตุกลุ่มที่จะคุ้มครองเฉพาะเหตุไม่คาดฝัน โดยประกันกลุ่มจะชดเชยตามวงเงินที่บริษัททำการตกลงไว้กับบริษัทประกันเท่านั้น

ประกันกลุ่ม กับ ประกันสังคม เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ประกันสังคมคืออะไร

ส่วนประกันสังคมนั้น จะเป็นเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิตสำหรับผู้ที่มีรายได้ และเป็นกองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม

1) ผู้ประกันตน
ผู้ทำงานประจำ : ลูกจ้างที่มีอายุ 15-60 ปี มีรายได้อย่างน้อย 15,000 บาท จำเป็นต้องจ่าย 5% ของรายได้ทุกเดือน ตามมาตรา 33 ภาคบังคับสำหรับลูกจ้าง บางบริษัทจ่ายเงินสมทบให้หรือบางบริษัทอาจหักออกจากเงินเดือนให้เลย

ผู้เคยทำงานประจำ: เลิกทำงานประจำแต่เคยจ่ายเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 1 ปี = ประกันสังคมมาตรา 39 เป็นประกันสังคมแบบสมัครใจ

ผู้ไม่ได้ทำงานประจำ : มีการจ่ายเงินสมทบด้วยตนเองหรือประกันสังคมมาตรา 40 เรียกว่าประกันสังคมแบบสมัครใจเช่นเดียวกัน

2) นายจ้าง
ต้องมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และจำเป็นต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง-ลูกจ้างภายใน 30 วัน

3) เงินสมทบ
เงินที่นายจ้างหรือลูกจ้างนำส่งกองทุนประกันสังคมทุกเดือน
ความคุ้มครอง : เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ จนถึงเสียชีวิต ซึ่งไม่ได้เกิดจากการทำงาน อีกทั้งยังช่วยคุ้มครองในกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงานอีกด้วย

หมายเหตุ : กรณีย้ายงาน สิทธิประกันสังคมจะยังอยู่แต่สามารถเลือกเปลี่ยนโรงพยาบาลได้

ประกันกลุ่ม กับ ประกันสังคม เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ประกันกลุ่มและประกันสังคมใช้ร่วมกันได้หรือไม่

ประกันกลุ่มและประกันสังคมสามารถใช้ร่วมกันได้ในกรณีที่ผู้เอาประกันใช้บริการโรงพยาบาลที่เลือกรับสิทธิ์ประกันสังคม โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายส่วนต่างที่เหลือจากประกันกลุ่ม เนื่องจากโรงพยาบาลจะทำการเรียกเก็บที่ประกันสังคมแทน โดยสามารถแจ้งกับทางโรงพยาบาลได้ว่าต้องการใช้ประกันกลุ่มและประกันสังคมควบคู่กัน เผื่อวงเงินประกันกลุ่มไม่เพียงพอต่อการรักษา สามารถใช้ประกันสังคมมาช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายได้ หรือหากในกรณีที่เกินวงเงิน ผู้เอาประกันอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเอง

สนใจสมัครประกันสุขภาพ

regis-but
สนใจสมัคร

แม้ว่าประกันสังคมและประกันกลุ่มจะให้ความคุ้มครองในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลต่างๆ แต่หากใครที่ต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม สามารถซื้อประกันสุขภาพกับ masii ได้เพียง คลิกที่นี่ หรือโทร. 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @hellomasii เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประกันสุขภาพ ประกันโควิด-19 ประกันภัยโดรน การซื้อประกันภัยรถยนต์ รวมไปถึง การสมัครบัตรเครดิต ออนไลน์ การสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล จากสถาบันการเงินชั้นนำ