ด้วยภาวะเศรษฐกิจสังคม และค่าครองชีพในปัจจุบันทำให้การใช้ชีวิตของเราในปัจจุบันนั้น ต้องเจอกับความกดดันและความเครียดกันเป็นอย่างมาก โดยคนไทยติดอันดับ 2 ประเทศที่เครียดมากที่สุดในอาเซียน จากการรายงานของ Gallup Global Emotions Report 2022 บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำโพลสัญชาติอเมริกัน และด้วยสภาพวะความเครียด ความกดดัน และความผิดหวังต่าง ๆ ส่งผลให้มีอัตราผู้ที่ป่วยเป็น โรคซึมเศร้า มีปริมาณมากขึ้นตามมาด้วย วันนี้ เรามาเช็กกันดีกว่าว่าเราเข้าข่ายหรือเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือไว้ก่อนที่จะสาย พร้อมเสริมการดูแลสุขภาพกันให้เต็มที่ด้วย ประกันสุขภาพ แม้จะไม่ครอบคลุมความคุ้มครองถึงโรคซึมเศร้า แต่เรายังให้ความสำคัญกับส่วนอื่นได้ ซึ่งจะมีเงื่อนไข ความคุ้มครองใดที่น่าสนใจบ้างต้องไปติดตามกัน แต่ตอนนี้เราไปเช็กกันก่อนดีกว่าว่าสุขภาพจิตเรายังดีกันอยู่ไหม ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกกันเลย!
ประกันสุขภาพ คุ้มครอบครบ ทั้งเจ็บป่วยและบาดเจ็บ….พร้อม รู้ทัน! โรคซึมเศร้า เตรียมความพร้อมรับมือก่อนจะสาย
โรคซึมเศร้า เป็นนโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงชีวิตของเรา เหมือนกับโรคต่าง ๆ ทางร่างกายอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ความดัน และการที่เรานั้นเป็น “โรคซึมเศร้า” ก็ไม่ได้แปลว่าเรานั้นเป็นคนที่อ่อนแอ ล้มเหลว ไม่มีความสามารถ แต่มันเป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งที่ได้เกิดขึ้นกับเรา ซึ่งอาจจะมีสาเหตุที่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ความเครียด ความผิดหวัง การสูญเสีย หรืออาจจะไม่ได้มีสาเหตุใด ๆ เลยก็ได้ โดดยในปัจจุบัน โรคซึมเศร้า นี้สามารถรักให้หายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างไปพร้อมกันก็ได้
อาการ “ซึมเศร้า ( Clinical Depression )” ทางการแพทย์ หมายถึง ภาวะซึมเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้า และเป็นพยาธิสภาพชนิดหนึ่งที่พบได้ในหลาย ๆ โรคทางจิตเวช โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคทางอารมณ์อย่าง โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder หรือ Depressive Episode) และ โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) ทั้งนี้โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิฟริน และโดปามีน ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกาย ความคิด และอารมณ์ เกิดการแปรปรวน จนนำไปสู่อาการต่าง ๆ โดยมีสาเหตุ
สาเหตุของอาการ ซึมเศร้า
1.สถานการ์เลวร้ายในชีวิต
ไม่ว่าจะการสูญเสีย การโดนทำร้าย หรือว่าการผิดหวังจากเหตุการณ์สำคัญของชีวิต สิ่งเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นจะทำให้เกิดความคาดหวัง และความเศร้า หากไม่ได้รับการรักษาเยียวยา ก็อาจจะนำพาไปสู่โรคซึมเศร้าตามมาได้
2.ความเครียด
ด้วยสภาวะความเครียด ความกดดันต่าง ๆ หากเราเก็บมาคิด ย้ำคิดย้ำทำอยู่ตลอดเวลา มันก็จะนำพาให้เรารู้สึกผิดหวัง เบื่อหน่าย ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเอง และโลกที่เราอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิต อาการต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนทำให้เรานั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น
3.ผู้สูงอายุ
เมื่อเรากว่าเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จะมีโอกาสเสี่ยงจะเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น เนื่องมาจากอารมณ์ ความแปรรวน และความเศร้าจากการใช้ชีวิต อาจจะทำให้เรารู้สึกซึมเศร้า และเกิดการเจ็บป่วยตามมาได้ เช่น การอยู่โดดเดียวคนเดียว ไม่มีลูกหลานดูแล
4.ผลข้างเคียงของโรคร้าย หรือจากการใช้ยาบางชนิด
ด้วยภาวการณ์ผิดปกติของร่างกายอันมาเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ เช่น ภาวะไทรอยด์ทำให้ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ โรคทางสมอง เป็นต้น
5.พันธุกรรม
พันธุกรรมเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ใครหลายคนอาจจไม่เคยรู้มาก่อนว่า โรคซึมเศร้า นี้จะสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยหากใครที่มีฝาแฝด หากใครใดคนหนึ่งเป็นนโรคซึมเศร้า ฝาแฝดอีกฝ่ายมีโอกาสสูงถึง 60-80% ที่จะเป็นนซึมเศร้าตามได้ นอกจากนี้หากคนในครอบครัวที่เป็นสายตรง ไม่จะเป็น พ่อ แม่ พี่น้องที่ร่วมท้องเดียวกัน เป็นโรคซึมเศร้า สมาชิกในครอบครัวจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าตามาได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 20% เลยทีเดียว
นอกจากนี้ แม้ โรคซึมเศร้า จะเป็นโรคทางจิตเวชที่มีคนเป็นกันเยอะแต่ยังรู้จักโรคนี้ไม่มากนัก ซึ่งในบางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่รู้ นึกว่าคิดมากไปเอง ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันท่วงที ดังนั้น เรามาทำความรู้จัก กับโรคซึมเศร้าแต่ละแบบกันดีกว่า ว่าแต่ละแบบมีอาการแบบไหนกันบ้าง มาดูกันครับ
1.โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression)
เป็นประเภทที่พบมากที่สุด โดยผู้ที้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าร้าประเภทนี้ จะมีความผิดปกติที่มีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งจะมีอาการเริ่มต้นที่รู้สึกว่าไม่มีความสุขกับสิ่งที่เคยมีความสุข รู้สึกผิดรู้สึกไร้ค่าเสมอ มองโลกในแง่ลบ นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ และเริ่มตีตัวออกห่างจากคนที่รัก ดังนั้น ควรเริ่มรักษาแต่เนิ่น ๆ เพื่อช่วยให้ไม่โรคซึมเศร้าแบบนี้มีความรุนแรงขึ้นไปเป็นประเภทถัด ๆ ไป อีกทั้งยังเป็นการลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกด้วย
2.โรคซึมเศร้าแบบเรื้อรัง (Dysthymia Depression)
คนที่เป็นโรคซึมเศร้าประเภทนี้ จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้าแบบก่อนหน้า แต่จะเป็นอย่างต่อเนื่องและนานกว่า ซึ่งจะมีอาการเริ่มต้นตั้งแต่ 2 ปี ไปจนถึง 5 ปีเลยก็ได้ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแบบเรื้อรังนี้ อาการอาจจะไม่ได้รุนแรงจนถึงขนาดที่ไม่สามารทำอะไรไม่ได้ แต่ผู้ป่วยจะมีอาการสลับวนไป โดยอาการเบื้องต้น ได้แก่ ไม่อยากอาหารหรือกินมากเกินไป นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดแรง ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่มีสมาธิ รู้สึกหมดหวัง และสลัดความรู้สึกแย่ ๆ ออกไปไม่ได้ เป็นต้น
3.โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ (bipolar disorder)
สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ร้าประเภทนี้ บางรายจะมีอาการซึมเศร้าสลับกับอาการลิงโลด โดดยเป็นอาการที่ต่างกัน หรือต่างขั้วกัน ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจ และมักจะก่อให้เกิดปัญหาตามอีดได้ โดยช่วงที่มีอารมณ์ดี หรือก้าวร้าวผิปกติ มักมีอาการ เช่น รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญมาก นอนน้อยกว่าปกติมากแต่ไม่มีอาการอ่อนเพลีย สมาธิลดลง เปลี่ยนความสนใจเร็ว ความคิดแล่นเร็ว มีหลายความคิดเข้ามาในหัว มีกิจกรรมที่ต้องทำมากผิดปกติ อาจจะเป็นแค่แผนหรือลงมือทำจริงก็ได้ เป็นต้น
4.โรคซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder)
โรคซึมเศร้าชนิดนี้ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในเพศหญิง ช่วงครึ่งหลังของรอบเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอบเดือนที่มีการตกไข่ ซึ่งอาการซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือนนั้นจะพบเพียง 2-10% จากจำนวนผู้หญิงที่มีประจำเดือนทั้งหมด โดยจะมีการแสดงอาการหลายอย่าง เช่น ซึมเศร้าเป็นนอย่างมาก ร้องไห้บ่อย โมโหร้าย นอนไม่หลับพักผ่อนไม่เพียงพอ และความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
5.โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder)
ใครที่เคยกล่าวว่า อากาศหนาวนั้นทำให้คนเหงา อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ใช่พูดเล่นกันต่อไป เมื่อฤดูกาลก็มีส่วนที่จะทำให้เรารู้สึกซึมเศร้าได้โดย โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปีที่ส่วนใหญ่มักเกิดอาการขึ้นในฤดูหนาว ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นช่วงเวลาที่กลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน อาจมีอาการต่างๆ ได้แก่ ซึมเศร้า เหนื่อยล้าและแยกตัวจากสังคม แม้ว่าอาการต่างๆ มักจะหายไปภายในไม่กี่เดือน แต่ก็อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความรู้สึก และการทำหน้าที่ต่างๆ ของบุคคลได้
6.โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression)
ซึมเศร้าชนิดนี้ เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่บางคนอาจต้องเผชิญหลังคลอดบุตร โดยอาจมีอาการซึมเศร้า เสียใจ วิตกกังวล และอ่อนเพลียมากจนไม่สามารถเลี้ยงลูกหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หากมีอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม และหากมีอาการรุนแรงอย่างหลอน มีความคิดทำร้ายตัวเองหรือลูกน้อย หรือแม้แต่คิดฆ่าตัวตาย คนรอบข้างควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที
7.โรคซึมเศร้าเพราะปรับตัวไม่ทัน (Situational Depression)
โดยโรคซึมเศร้าเพราะปรับตัวไม่ทันนี้ สามาถเกิดขึ้นได้ตามหลังเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง เช่น หย่าร้าง ตกงาน การเสียชีวิตของคนใกล้ชิด ประสบอุบัติเหตุรุนแรง หรือกระทั่งเกษียณอายุ ซึ่งอาจเกิดอาการ ห่อเหี่ยววุ่นวายใจ รู้สึกเศร้าและสิ้นหวัง นอนไม่หลับ ร้องไห้บ่อยๆ วิตกกังวล เสียสมาธิ แยกตัวจากคนรอบข้างหรือไม่ทำกิจกรรมที่เคยทำตามปกติ บางคนอาจมีความคิดฆ่าตัวตายตามมาได้ ดังนั้น สำหรับ ญาติหรือคนใกล้ชิดผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าประเภทนี้ อาจจะให้ความสำคัญและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ขอขอบคุณ : Sale Here และ Sanook .com
ทั้งนี้ โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจจะมีการตอบสนองต่อการรักษาแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งบางคนอาจจะต้องมีการรักษาษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาอาจจะทำให้อาการของโรคนี้ดีขึ้น ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้เรามี “ภูมิคุ้มกัน” ที่จะสามารถต่อสู้กับปัญหาที่เข้ามาได้มากกว่าเดิม เรื่องของเราไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางสภาพจิตใจ หรือเรื่องร่างของร่างกายเราต่างก็ต้องดูแลให้ที่สุด มาสิ เองก็จึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนได้มีเติมความคุ้มครองให้กับเราได้อย่างเต็มที่ด้วยการทำ ประกันสุขภาพ ไว้ เมื่อเจ็บป่วยยามใดก็หมดห่วงทุกเรื่องของการรักษา กับ ประกันสุขภาพ แผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care ) จะมีรายละเอียดความคุ้มครอง หรือเงื่อนไขการให้บริการอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกัน
ประกันสุขภาพ แผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )
สำหรับ ประกันสุขภาพ เอ็ทน่า เอ็กซ์ตร้าแคร์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีประกันสุขภาพ ประกันสังคม หรือสวัสดิการจากบริษัทอยู่แล้ว แต่อาจมีวงเงินความคุ้มครองไม่เพียงพอ แผนประกันนี้จึงช่วยเติมเต็มวงเงินความคุ้มครองจากสวัสดิการที่มีอยู่ ช่วยชดเชยค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินอีก 80% โดยไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดในแต่ละแผนที่กำหนดไว้ต่อการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บในแต่ละครั้ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน( ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง ) 20,000 บาท
- ความคุ้มครองเพิ่มเติมอีก 80% ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในส่วนที่เกินจากความรับผิดส่วนแรก ครอบคลุมในส่วนค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดและวิสัญญีแพทย์ ค่าห้องผ่าตัด ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ ค่าธรรมเนียมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสูงสุด 600,000 บาท
- ค่าห้องผู้ป่วยปกติ สูงสุดต่อวัน 4,000 บาท
- ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล( อบ.2* ) กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รายละ 1,000 บาท
- เบี้ยประกันเริ่มต้น 3,172 บาท
* อบ.2 คือ ประเภทความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยที่มีรายละเอียดความคุ้มครองคือ (1) การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง, (2) การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง, (3) การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน, (4) การรักษาพยาบาล และ (5) การสูญเสียนิ้ว การสูญเสียการรับฟังเสียง/การพูดออกเสียงและการทุพพลภาพถาวรบางส่วน
สนใจสมัคร ประกันสุขภาพแผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสุขภาพ
- กรมการแพทย์แจ้งรายละเอียด แนวทางรักษา โควิด -19 แบบไม่แสดงอาการ ( 5+5 ) … พร้อมสร้างความคุ้มครองตั้งแต่ต้นเหตุ ด้วย ประกันโควิด
-
เช็กเลย! 10 ข้อ ต้องทำ หลังออกจากการรักษา โควิด แล้ว masii แนะนำ ประกันโควิด ยังคงสำคัญ!
-
เราจะเลือกทำประกันภัยแบบไหนดี ระหว่าง ประกันชีวิต และประกันสุขภาพ หากเรามีงบจำกัด
_____________________________________________
Please become Masii Fan !!
Facebook: www.facebook.com/MasiiThailand
Website: www.masii.co.th
Blog: https://blog.masii.co.th/
Line : @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCV-5rpO5ZqAGfgLdKqzKGFw
Instagram: www.instagram.com/masii_thailand/
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#ประกันสุขภาพ #ประกันโควิด #ประกันไข้เลือดออก #ประกันการเดินทาง
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน
#เงินสด #เงินก้อน #เงินกู้ทันใจ #เงินด่วน #เงินด่วนทันใจ
#ประกันภัยโดรน #ประกันโดรน #ลงทะเบียนโดรน #ขึ้นทะเบียนโดรน #Dronethailand
#ประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์ชั้น1 #สมัครประกันรถยนต์ #ประกันรถที่คุ้มที่สุด
#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison