สำหรับคนที่เป็นหนี้ทั้งหลาย ไม่ว่าจะหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือหนี้อื่นๆ ก็ตาม แล้วคิดจะชำระหนี้ด้วยเหรียญจำนวนเยอะๆ นั้น ต้องขอบอกเลยครับว่ามีกฏหมายคุ้มครองในส่วนนี้นะครับ เพื่อให้ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ไม่ต้องมาปวดหัวนั่งนับเหรียญกันจนพลาด และโกรธกันซะเปล่าๆ และวันนี้ “มาสิ” จะพาไปดูว่ากฏหมายระบุว่าการชำระหนี้ด้วยเหรียญนั้นมีอะไรกันบ้างไปดูกันเลย
กฏหมายการชำระหนี้ด้วยเหรียญกำหนดออกมาว่า แต่ละเหรียญจะสามารถชำระหนี้ได้เท่าไร หากเอาเหรียญไปชำระหนี้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ก็จะเป็นการชำระหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
โดยกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกำหนดการชำระหนี้ด้วยเหรียญไว้ ดังนี้
- เหรียญ 25 สตางค์ ใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกิน 10 บาท
- เหรียญ 50 สตางค์ ใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกิน 10 บาท
- เหรียญ 1 บาท ใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกิน 500 บาท
- เหรียญ 2 บาท ใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกิน 500 บาท
- เหรียญ 5 บาท ใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกิน 500 บาท
- เหรียญ 10 บาท ใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกิน 1,000 บาท
ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501
มาตรา 11 เหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไม่เกินจำนวนที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
เหรียญ 2 บาท
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a703/%a703-2b-2548-a0004.pdf
เหรียญ 0.25 สตางค์ 0.50 สตางค์ และ 1 บาท
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a703/%a703-2b-2506-005.pdf
เหรียญ 5 บาท
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a703/%a703-2b-2523-053.pdf
เหรียญ 10 บาท
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a703/%a703-2b-2533-100.pdf
(ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ สายตรงกฎหมาย ยึดมั่นความยุติธรรม)
จากข้อมูลที่ “มาสิ” นำมาเสนอนี้จะเห็นได้ว่าการชำระหนี้ด้วยเหรียญนั้นมีกฏหมายรองรับไว้ หากใครที่คิดพิเรนๆ จะเอาเหรียญจำนวนมากๆไปใช้หนี้แก่เจ้าหนี้นั้นคงไม่ดีแน่ๆ ครับ สมมุติว่าเป็นหนี้ 1000 บาท แล้วจะเอาเหรียญบาทไปใช้เป็นจำนวน 1000 เหรียญ ก็คงไม่ดีแน่ๆ ครับเพราะผิดกฏหมายนั้นเอง
หวังว่าข้อมูลที่นำมาเสนอในวันนี้จะช่วงให้คนที่เป็นหนี้ปลดหนี้ได้ถูกต้องตามกฏหมายนะครับ เพื่อที่จะสามารถปลดหนี้ออกจากตัวเองได้ครับ และข้อสำคัญการติดหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นจะมีผลให้มีประวัติชำระหนี้ล่าช้า ด้วยนะครับ ซึ่งจะส่งผลให้เราไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้นั่นเอง