รู้หรือไม่!? นั่งนานเกินไปไม่ใช่เรื่องดี ควรลุกเคลื่อนที่ทุก 30 นาที เพื่อหลีกหนี ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
อาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

พนักงานออฟฟิศเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ดูเหมือนการทำงานจะง่าย และไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงใด ๆ มากมายจากทำงาน เพราะเพียงแค่นั่งทำงานผ่านหน้าจอคอมประจำตำแหน่งก็เพียงพอต่อการทำงานแล้ว ซึ่งอาจจะมีบ้างเหตุที่ต้องมีการทำให้ลุกเคลื่อนย้าย หรือเดินทางไปที่ต่าง ๆ ซึ่งก็ไม่ได้ดูว่าเป็นเรื่องที่น่าห่วงหรืออันตรายใด ๆ แต่รู้หรือไม่ เพียงแค่การนั่งทำงานในท่าเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ อย่างนี้ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของโรคร้ายอย่าง ออฟฟิศซินโดรม ได้ แม้ความรุนแรงอาจจะไม่ได้อันตรายถึงขั้นสูญเสียชีวิต หรือทุกพลภาพถาวร แต่ผลกระทบนี้ก็อาจจะก่อให้เกิดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรังได้

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคยอดฮิตคนทำงานออฟฟิศ

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังตามมาได้

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุมาจากอะไร

ออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทาง รวมถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ การนั่งตัวงอ หรือการก้มหน้านาน ๆ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานซ้ำ ๆ มีการหดเกร็ง หรือยืดค้างในรูปแบบเดิมบ่อย ๆ จนกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ เกิดการบาดเจ็บ หรืออาจขมวดเป็นก้อนตึง และเกิดอาการปวดตามมา

กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของเรามีลักษณะเป็นเส้นใยร้อยโยงต่อเนื่องกันหลายส่วน เมื่อกล้ามเนื้อเริ่มมีการขมวดกันเป็นปมขึ้น ก็ดึงรั้งกันไปมา ตอนแรกอาการปวดตึงอาจจะเริ่มจากจุดหนึ่ง แต่พอนานวันเข้าก็จะร้าวไปปวดอีกจุดหนึ่ง เพราะถูกดึงรั้งจากกล้ามเนื้อส่วนที่หดเกร็ง รู้ตัวอีกทีก็จะปวดเป็นบริเวณกว้าง ๆ ระบุหาตำแหน่งที่ปวดจริง ๆ ไม่ได้เลย

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ธรรมชาติของคนทำงานประจำในยุคนี้ มักจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานได้ยาก เพราะต้องโฟกัสกับงานที่ทำ หรือยุ่งจนลืมปรับเปลี่ยนท่าทางและหยุดพัก บ่อยครั้งจึงปล่อยให้อาการของโรคนี้มีอาการหนักมากขึ้น หรือลุกลามไปยังกล้ามเนื้อและระบบประสาทส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน

หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา หรือไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมา เช่น เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรงอีกด้วย

ใครมีโอกาสเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้บ้าง

อาการออฟฟิศซินโดรม อาจพบได้ทั้งในคนทำงานแบบใช้แรงเป็นประจำ และคนที่นั่งทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีโอกาสที่จะทำใช้กล้ามเนื้อในรูปแบบซ้ำ ๆ เป็นประจำ

  • คนทำงานในออฟฟิศ

แม้ว่าคนกลุ่มนี้จะแทบไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จนดูเหมือนว่าจะไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อ แต่การนั่ง ยืน หรือค้างอยู่ในท่า ๆ หนึ่งนานเกินไป เช่น การก้มหน้าใช้งานมือถือ ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อมัดที่ใช้ในอิริยาบถนั้น ๆ บ่อย ๆ เกิดอาการตึงและปวดตามมาได้

  • กรณีของผู้ใช้แรงงานเป็นประจำ หรือกลุ่มนักกีฬา

อาการทางกล้ามเนื้อหรือกระดูกอาจจะมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม เช่น การยกของผิดท่า การกระชากกล้ามเนื้อเร็วเกินไป การออกแรงมากเกินไป หรือต้องแบกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกได้รับบาดเจ็บอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

อาการแบบนี้ หลีกเลี่ยงให้ดี เสี่ยง! เป็น “ออฟฟิศซินโดรม”

  • ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง มักมีอาการปวดแบบว้างๆ ๆไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือในบางครั้งมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน

    ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
    ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
  • ปวดหลังเรื้อรัง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง นั่งไม่ถูกท่า นั่งหลังค้อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อย เกร็งอยู่ตลอด รวมถึงงานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง
  • ปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
  • ปวดตา ตาพร่า เนื่องจากต้องมีการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ หรือใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน
  • มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิม ๆ นาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วหรือข้อมือล็อคได้

แนวทางการป้องกันและรักษา

ออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในที่ทำงาน และไม่ควรปล่อยปละละเลยหากเกิดสัญญาณเตือนของอาการ เพราะการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่งสำหรับการรักษาสามารถทำได้โดยการ

  • รับประทานยา เพื่อช่วยบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำกายภาพบำบัดในการรักษาต่อไป
  • การทำกายภาพบำบัด เป็นการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และยังเป็นการประเมินโครงสร้างร่างกาย และการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้ในระยะยาว
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มจากการนั่งให้ถูกวิธีโดยการนั่งตัวตรง พยายามอย่าก้มคอ ปรับระดับเก้าอี้ให้พอดีกับโต๊ะ และควรพักสายตาหลังจากทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน เช่น การมองออกไปไกล ๆ เป็นต้น
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
วิธีผ่อนคลาย

ทั้งนี้ โรคออฟฟิศซินโดรมจะไม่สามารถเกิดขึ้น หรือสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายของเราได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของเราเป็นหลักก็ว่า นอกจากเพื่อเป็นการหลีกลี่ยง และป้องกันไม่ใช้ออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นกับเรา เราสามารถทำได้โดย

  • ออกกำลังกาย เพื่อยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น และเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา หรือปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย เป็นต้น
  • พักการใช้งานกล้ามเนื้อ เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง
  • เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ยึดหลัก “10-20-60”
  • พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที
  • ลุกออกไปเดินเล่นหรือเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อทำงานครบทุก ๆ 20 นาที
  • เมื่อครบ 60 นาที ให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและแขน โดยการบริหารต้นคอ สะบัก ไหล่ แขนมือ เอวหลัง และขา

แม้ว่าโรคออฟฟิศซินโดรม จะเป็นโรคที่ไม่อันตรายร้ายแรง และเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในที่ทำงาน แต่เราก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยหากเกิดสัญญาณเตือนของอาการ เพราะการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้  และนอกจากนี้ เรื่องของการดูแลสุขภาพก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรใส่ใจ ดังนั้นแล้ว มาเสริมความคุ้มครองให้กับสุขภาพของเรากันให้ได้อย่างเต็มที่ด้วย ประกันสุขภาพ แม้ออฟฟิศซินโดรมดรมจะไม่ได้เป็นหนึ่งในโรคที่ให้ความคุ้มครอง แต่ก็ยังมีเรื่องต่าง ๆ ที่ให้ความคุ้มครองอยู่ จะเป็นความคุ้มครองในเรื่องใดบ้างนั้น ตาม มาสิ ไปดูกัน

ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )

เอ็ทน่า ประกันภัย
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )
  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน ( ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาลค่าบริการทั่วไปสำหรับการรักษาพยาบาลค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดและค่าแพทย์เยี่ยมไข้ ) และการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง ( Major Medical ) สามารถเลือกแผนความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 1,000,000 และ 5,000,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งการรักษาต่อปี
  • ค่าห้อง ค่าอาหาร และพยาบาล สูงสุดต่อวัน 12,000 บาท
  • ค่าห้องไอซียูสูงสุด 24,000 บาท ( สูงสุด 15 วันต่อปี )
  • ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป สูงสุดถึงครั้งละ 200,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง
  • ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินกรณีผู้ป่วยนอก สูงสุด 25,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด รวมถึงค่าปรึกษาแพทย์ก่อนการผ่าตัด ( ตามตารางผ่าตัด ) สูงสุด 250,000 บาท
  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล( อบ.2* ) กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รายละ 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันเริ่มต้น 2,279 บาท

ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ

_____________________________________________
Please become Masii Fan !!

Facebook: www.facebook.com/MasiiThailand
Website: www.masii.co.th
Blog: https://blog.masii.co.th/
Line : @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCV-5rpO5ZqAGfgLdKqzKGFw
Instagram: www.instagram.com/masii_thailand/
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#ประกันสุขภาพ #ประกันโควิด #ประกันไข้เลือดออก #ประกันการเดินทาง
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน
#เงินสด #เงินก้อน #เงินกู้ทันใจ #เงินด่วน #เงินด่วนทันใจ
#ประกันภัยโดรน #ประกันโดรน #ลงทะเบียนโดรน #ขึ้นทะเบียนโดรน #Dronethailand
#ประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์ชั้น1 #สมัครประกันรถยนต์ #ประกันรถที่คุ้มที่สุด
#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison