เรื่องของสุขภาพร่างกาย ไม่ว่าจะภายนอกภายในหากเราขาดการดูแลรักษา เมื่อมีปัญญาด้สยความที่ร่างกายไม่มีปากที่จะพูดหรือสื่อสารได้อย่างที่เรา ดังนั้น มันย่อมที่จะมีการแสดงออกหรือแสดงสัญญาลักษณ์ให้เราสามารถรับรู้ได้เสมออยู่แต่มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถสังเกตได้มากน้อยแค่ไหนก็เท่านั่น อย่างกับอีกหนึ่งสัญญาณ สัญลักษณ์ในวันนี้ที่ มาสิ หยิบเอามาฝากให้ทุกคนได้เอาไปลองใช้สังเกตสุขภาพของตัวเองดูกันกับลักษณะ เล็บ ที่สามารถใช้บอกสุขภาพได้ ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร วิธีสังเกตุจะเป็นแบบไหน ตาม มาสิ ไปเช็คพร้อมกัน
ว่าด้วยเรื่องของ เล็บ
เล็บ (nails) คือ ชั้นของหนังกำพร้าที่ตายแล้ว ซึ่งเลื่อนจากชั้นล่างขึ้นมาอัดกันแน่นเป็นชั้นๆกลายเป็นแผ่นแข็งที่อยู่บริเวณด้านหลังของปลายนิ้วปล้องสุดท้าย ทั้งนิ้วมือ เรียกว่า เล็บมือ ที่นิ้วเท้า เรียกว่า เล็บเท้า ทั้งนี้ เล็บมือมีหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆไม้ให้เกิดแก่ปลายนิ้ว รวมถึงใช้ประโยชน์ในการขูดหรือจิก
เล็บมีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง และค่อนข้างโปร่งแสง สามารถอ่อนตัวได้ ไม่มีหลอดเลือด และเส้นประสาทมาเลี้ยง ทำให้เวลาตัดเล็บจึงไม่รู้สึกเจ็บ เล็บนี้จะแข็งแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเซลล์มีชีวิตบริเวณโคนเล็บที่เรียกว่า เรียกว่า Matrix ซึ่งหากร่างกายได้รับสารอาหารหลักที่จำเป็นในการสร้างเล็บที่เพียงพอก็ย่อมทำให้เล็บมีความแข็งแรง สารเหล่านี้ ได้แก่ โปรตีน ฟอสฟอรัส และแคลเซียม เป็นต้น
เล็บที่มีสุขภาพดี
เล็บที่มีสุขภาพดี คือ เล็บที่มีสีออกชมพูจางๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ พื้นผิวเล็บเรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรงไม่ถอยร่น และเล็บมีความหนาไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ถ้าเล็บมีความแตกต่างไปนอกเหนือจากที่กล่าวแล้วอาจเป็นเล็บที่ไม่ปกติ และอาจเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติในร่างกาย
เมื่อลักษณะเล็บบอกสุขภาพได้
รู้หรือไม่ หากอยากรู้ว่าตอนนี้สุขภาพของเรานั้นเป็นอย่างไร ให้ลองก้มลงมอง เล็บ ของตัวเองดู เพราะความเปลี่ยนแปลงของสีหรือลักษณะของเล็บสามารถบอกได้ว่า ตอนนี้ร่างกายกำลังมีปัญหาหรือเปล่า และนี่คือความเปลี่ยนแปลงของเล็บที่เราควรใส่ใจ
เล็บขาว
ถ้าเล็บเป็นสีขาวเกือบทั้งหมด หรือประมาณสองในสามส่วนของเล็บ อาจหมายถึงปัญหาโรคตับ เช่น โรคตับอักเสบ และโรคตับแข็ง นอกจากนี้ยังหมายถึงโรคเบาหวานและโรคหัวใจวายด้วย แต่หากเล็บสีขาวแต่นิ้วมือเป็นสีเหลืองอาจหมายถึงโรคดีซ่าน ซึ่งเกิดจากการที่ตับมีปัญหา ผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง มักมีเล็บเป็นสีขาวครึ่งเล็บ ส่วนถ้ามีสีขาวเป็นแถบขวางบนเล็บ และเมื่อใช้มือกดที่เล็บ สีขาวจะจางลง อาจหมายถึงภาวะขาดโปรตีนในร่างกาย (Hypoalbuminemia)
เล็บ สีซีด
เล็บสีซีดอาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่าง เช่น โรคโลหิตจาง ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคตับ หรืออาจจะแค่ขาดสารอาหารบางอย่างก็ได้
เล็บเหลือง
หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการเล็บสีเหลือง คือการติดเชื้อรา ถ้าการติดเชื้อรุนแรงขึ้น เนื้อเยื่อใต้แผ่นเล็บอาจหดตัว และเล็บอาจหนาและงอ ในกรณีที่หาได้ยาก เล็บเหลืองอาจบ่งบอกถึงโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด โรคเบาหวาน หรือโรคสะเก็ดเงิน เล็บเหลืองยังอาจเป็นสัญญาณของ Yellow Nail Syndrome ซึ่งอาการของโรคนี้อาจทำให้เล็บหนาขึ้น แต่ไม่ยาวขึ้นเหมือนอย่างปกติ หนังรอบเล็บอาจหายไป หรือโคนเล็บร่อนขึ้นมา ซึ่งอาการนี้อาจมีสาเหตุมาจากโรคภายในหลายอย่าง เช่น การมีเนื้อร้ายในร่างกาย โรคของระบบทางเดินหายใจ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรืออาจมาจากการบมของต่มอน้ำเหลืองที่มือก็เป็นได้
เล็บสีน้ำเงินอมเขียว
ในกรณีนี้ ตัวเล็บจะไม่ได้เปลี่ยนสีโดยตรง แต่ที่เนื้อเยื่อบริเวณใต้โคนเล็บจะกลายเป็นสีน้ำเงินอมเขียวจางๆ อาการนี้เรียกว่า nail bed cyanosis ซึ่งอาจหมายถึงการที่ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ รวมทั้งอาจบ่งบอกได้ว่าปอดมีปัญหา เช่น โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) หรือโรคหัวใจบางชนิด ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เล็บมีสีเช่นนี้ได้
ผิวเล็บขรุขระ
ถ้าผิวเล็บขรุขระ มีลักษณะเป็นรูหรือเป็นหลุม อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคข้ออักเสบ ซึ่งอาจพบการเปลี่ยนสีของเล็บร่วมด้วย โดยสีผิวใต้เล็บจะดูเป็นสีแดงอมน้ำตาล
เล็บแตกร่อน
เล็บที่แห้ง เปราะ แตกหรือร่อน อาจเชื่อมโยงกับโรคต่อมไทรอยด์ แต่ถ้าเล็บแตกร่อนและมีสีเหลืองร่วมด้วย อาจเกิดจากการติดเชื้อราในเล็บ
โคนเล็บบวม
ถ้าผิวรอบเล็บมีอาการบวมและแดง นี่บ่งบอกถึงอาการอักเสบเกิดของผิวหนังรอบเล็บ ซึ่งอาจเกิดจากโรคแพ้ภูมิตนเอง (Lupus) หรือความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน รวมถึงการติดเชื้อที่เป็นเหตุให้เกิดรอยแดง และการอักเสบบริเวณโคนเล็บ นอกจากนี้การสัมผัสกับน้ำบ่อยๆ อาจทำให้ผิวหนังรอบเล็บเปื่อยยุ่ย ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองจากสารเคมี เช่น สารเคมีจากน้ำยาทำความสะอาด
มีเส้นสีดำใต้ผิวเล็บ
หากมีเส้นสีดำใต้ผิวเล็บ ควรรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด เนื่องจากอาจหมายถึงภาวะ Melanoma ซึ่งเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดที่อันตรายที่สุด หากสาเหตุเกิดจากโรคมะเร็งผิวหนัง ลักษณะเล็บจะเป็นเส้นสีดำ สีไม่สม่ำเสมอ เป็นแค่เล็บเดียว และผิวหนังที่โคนเล็บอาจมีสีดำด้วย
ผิวเล็บนูนโค้ง
อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อส่วนปลายของนิ้วขยายใหญ่ขึ้น จนเล็บโค้งงอที่บริเวณปลายนิ้ว ปกติจะใช้เวลาเป็นปีว่าจะเกิดอาการเช่นนี้ อาการเล็บโค้งบางทีก็บ่งชี้ถึงออกซิเจนในเลือดต่ำ และอาจเป็นสัญญาณของโรคปอดบางชนิด และยังอาจสัมพันธ์กับลำไส้อักเสบ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคตับ และเอดส์
ปลายเล็บมีวงสีคล้ำ
เป็นลักษณะของวงสีคล้ำที่ปลายเล็บ เรียกว่า Terry’s nails ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่ก็อาจเกิดมาจากโรคบางอย่างก็ได้ อย่างเช่นโรคเบาหวาน โรคตับ หัวใจวาย
เล็บเว้า
เป็นลักษณะที่เล็บเว้าลงจนคล้ายรูปช้อน (Spoon nails หรือ koilonychia)ส่วนใหญ่แล้วอาการนี้เป็นสัญญาณของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หรือาจเป็นไปในทางตรงกันข้ามก็คือเกิดจากโรคตับที่ทำให้มีภาวะเหล็กเกิน (hemochromatosis) เนื่องจากร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารที่กินมากเกินไป บางครั้งอาการนี้ก็สัมพันธ์กับโรคหัวใจ และไฮโปไทรอยด์ หรือภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
เล็บเป็นร่อง
ลักษณะที่เกิดร่องขวางเล็บที่เรียกว่า Beau’s lines เกิดขึ้นได้จากการที่การเติบโตของเล็บ ถูกรบกวนจากอาการบาดเจ็บหรืออาการเจ็บป่วยร้ายแรง เช่น เบาหวานกำเริบ อาการตีบของเส้นเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease) หรือจากการมีไข้สูงเนื่องจากไข้อีดำอีแดง (scarlet fever) โรคหัด คางทูม หรือนิวมอเนีย และยังอาจเป็นสัญญาณของการขาดธาตุสังกะสีก็เป็นได้
ปลายเล็บร่น
บางครั้งเล็บอาจแยกออกจากเนื้อเยื่อใต้แผ่นเล็บ เรียกภาวะนี้ว่าภาวะปลายเล็บร่น (Onycholysis) ซึ่งส่งผลให้มีพื้นที่ว่างใต้เล็บ โดยสาเหตุอาจเกิดจากการเป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคไทรอยด์เป็นพิษ ติดเชื้อรา และโรคผิวหนังอักเสบ
5 วิธีดูแลเล็บมือให้แข็งแรง
1.หยุดกัดเล็บ
บางคนอาจจะนึกรำคาญตัวเองที่มีนิสัยชอบกัดเล็บบ่อยๆ ซึ่งไม่แต่เพียงทำให้เล็บเสียหายเท่านั้น ยังพลอยทำให้ฟันเสียด้วย ดังนั้น จึงควรที่จะหมั่นตัดเล็บอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้เล็บไม่งอกยาวจนกัดได้ ไม่ก็พยายามตั้งใจว่า จะต้องเลิกนิสัยนี้ให้จงได้
2.รับประทานอาหารที่ดี+วิตามินเสริม
อาหารของเล็บ คือ อาหารประเภทโปรตีนสูง ได้แก่ นม อกไก่ ปลาหรืออาหารที่มีธาตุเหล็ก วิตามินซี วิตามินบี ได้แก่ ข้าวกล้อง ผักใบเขียวต่างๆ หมั่นรับประทานก็จะได้เล็บแข็งแรง
3.หลีกเลี่ยงนำเล็บไปโดนแอลกอฮอล์
เล็บของเรามักจะพบเจอแอลกอฮอล์ในเจลล้างมือทั่วไป เนื่องจากเจลล้างมือเหล่านี้มักจะมีส่วนผสมของสารเคมีและแอลกอฮอล์ที่ใช้ขจัดหนังกำพร้าเพื่อชำระสิ่งสกปรกให้ออกไป เราหลีกเลี่ยงได้โดยใช้แบบสเปรย์ซึ่งตรงจุดและสูญเสียความชุ่มชื้นน้อยกว่า
4.หมั่นทาโลชั่นและแฮนด์ครีมเป็นประจำ
หากเมื่อต้องอยู่ในห้องปรับอากาศแต่ละวันนาน ๆ เป็นไปได้ว่าผิวของเราขาดความชุ่มชื่น หรือหากเป็นคนที่ชอบล้างมือ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็ส่งผลให้ผิวแห้งได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรใช้โลชั่นหรือครีมทามือทาอยู่เป็นประจำ ถึงแม้ว่าโลชั่น หรือแฮนด์ครีมจะมีราคาสูง แต่เชื่อเราเถอะว่ามันคุ้มค่ากว่าปล่อยให้มือเหี่ยวย่น แถมปัจจุบันยังมีหลายยี่ห้อให้เลือก ก็ลองสรรหาที่เหมาะกับผิวคุณ และหมั่นทาเป็นประจำจะช่วยได้
5.ลดการทาเล็บบ่อยๆ
เข้าใจได้ดีว่า ใครอยากจะมีเล็บมือที่สวย มีสีสันน่ารัก น่าดึงดูดใจ แต่การทำเล็บบ่อย ๆ ก็เหมือนเป็นการสั่งสมสารเคมีไว้บนหน้าเล็บ พอหน้าเล็บพัง ก็ทำให้ต้องตะไบออก ยิ่งทำให้เล็บบางเข้าไปอีก เพราะฉะนั้น…นานๆ ทำทีน่าจะดีกว่า
ขอขอบคุณ : โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล , Snook และ thaihealthlife
ก่อนจากกันในวันนี้ก็เหมือนอย่างเคย ไม่เพียงแค่สาระดี ๆ ที่ มาสิ ได้หยิบเอามาฝากให้ทุกคนได้อ่าน และได้นำไปใช้ในการดูแลสุขภาพกัน แต่ มาสิ ยังได้หยิบเอากับอีกหนึ่งตัวช่วยในเสริมสาร้างในการดูแลสุขภาพกับ ประกันสุขภาพ จากเอ็ทน่าประกันภัยที่จะช่วยเสริมสร้างความคุ้มครองที่ดีให้กับความเจ็บป่วยทางกาย จะมีความน่าสนใจ หรือรายละเอียดความคุ้มครองอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกัน
ประกันสุขภาพ แผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )
สำหรับ ประกันสุขภาพ เอ็ทน่า เอ็กซ์ตร้าแคร์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีประกันสุขภาพ ประกันสังคม หรือสวัสดิการจากบริษัทอยู่แล้ว แต่อาจมีวงเงินความคุ้มครองไม่เพียงพอ แผนประกันนี้จึงช่วยเติมเต็มวงเงินความคุ้มครองจากสวัสดิการที่มีอยู่ ช่วยชดเชยค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินอีก 80% โดยไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดในแต่ละแผนที่กำหนดไว้ต่อการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บในแต่ละครั้ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน( ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง ) 20,000 บาท
- ความคุ้มครองเพิ่มเติมอีก 80% ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในส่วนที่เกินจากความรับผิดส่วนแรก ครอบคลุมในส่วนค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดและวิสัญญีแพทย์ ค่าห้องผ่าตัด ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ ค่าธรรมเนียมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสูงสุด 600,000 บาท
- ค่าห้องผู้ป่วยปกติ สูงสุดต่อวัน 4,000 บาท
- ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล( อบ.2* ) กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รายละ 1,000 บาท
- เบี้ยประกันเริ่มต้น 3,172 บาท
* อบ.2 คือ ประเภทความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยที่มีรายละเอียดความคุ้มครองคือ (1) การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง, (2) การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง, (3) การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน, (4) การรักษาพยาบาล และ (5) การสูญเสียนิ้ว การสูญเสียการรับฟังเสียง/การพูดออกเสียงและการทุพพลภาพถาวรบางส่วน
สนใจสมัคร ประกันสุขภาพแผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ
-
เรื่องของ สิว อาจไม่สิวอย่างที่คิด…จริงหรือไม่? สิว ขึ้นตรงไหนบอกโรคได้
-
40 ยังแจ๋ว…เปิดวิธีดูแลสุขภาพคุณผู้ชาย บอกได้เลยว่าง่ายไม่ยุ่งยาก
-
ไขข้อสงสัย! ทำประกันสุขภาพ ใช้ได้เลยไหม ต้องรอกี่วันถึงจะคุ้มครอง
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#สินเชื่อ #ประกัน
#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล
#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์
#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii
#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison