เพราะในช่วงเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่นั้น ทำให้เกิดผลกระทบกันในวงกว้าง หลายคนต้องออกจากงาน หลายคนต้องมีหนี้เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหนี้นอกระบบ หนี้บ้าน หนี้สินเชื่อรถ หรือแม้แต่หนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ผ่อนปรนในการชำระหนี้หลายรอบแล้ว และล่าสุดทางแบงก์ชาติ หรือธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออก ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ เพื่อช่วยลดภาระหนี้แก่ประชาชน มีทั้งหมด 3 เรื่องด้วยกันครับ เราไปดูรายละเอียด นโยบายใหม่จากแบงก์ชาติ กันเลยดีกว่า
3 นโยบายใหม่จากแบงก์ชาติ เยียวยาลูกหนี้ผิดนัดชำระ
คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ บนฐานของเงินต้น
คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ บนฐานของเงินต้นที่ผิดนัดจริงเท่านั้น ยังไม่นับรวมส่วนของเงินต้นที่ยังไม่ชำระในอนาคต ซึ่งในส่วนนี้จะแตกต่างจากของเดิมเพราะของเดิมจะเป็น หากมีการผิดนัดชำระหนี้เพียงงวดเดียวทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินสามารถดอกเบี้ยคงค้างทั้งหมด และทำให้มูลค่าดอกเบี้ยผิดนัดสูงมาก ซึ่งเกณฑ์นี้จะให้ความเป็นธรรมกับลูกหนี้มากยิ่งขึ้น
กำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ที่ “อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกิน 3%”
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาคือ 8% แต่หากผิดนัดชำระหนี้ผู้ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้ไม่เกิน 11% โดยคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาด้วยซึ่งต่างจากของเดิมที่ทางสถาบันทางการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เองครับ กล่าวคือ ตามปกติกำหนดตามอัตราดอกเบี้ยสูดสุด 15% หรือบางกรณีสูงถึง 18% หรือ 22% ทำให้ลูกหนี้นั้นต้องแบกภาระในการชำระหนี้ ดังนั้น การปรับเกณฑ์ในครั้งนี้ จะช่วยให้ลูกหนี้พยายามจ่ายชำระหนี้ ลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ และยังช่วยให้ระบบการเงินมีความสมดุลมากขึ้น การฟ้องร้องดำเนินคดีจะลดลง
กำหนดลำดับการตัดชำระหนี้ใหม่ โดยตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุด ให้ตัดเป็นอันดับแรก
ตามปกติเงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมด ตามด้วยดอกเบี้ยทั้งหมดก่อนนำเงินส่วนที่เหลือมาตัดเงินต้น ซึ่งเกณฑ์ใหม่นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้นเพราะ ลูกหนี้จะได้ทราบลำดับการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจน เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปจ่ายค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน วิธีนี้จะช่วยลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพหรือ NPL รวมทั้งช่วยให้ลูกหนี้มีกำลังใจในการจ่ายชำระหนี้ต่อเนื่องและพร้อมชำระหนี้อีกด้วยครับ
ซึ่งทั้ง 3 เกณฑ์นี้ คือ 3 นโยบายใหม่จากทางธนาคารแห่งประเทศไทย และเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ยกเว้นเรื่องลำดับการตัดชำระหนี้ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
และอย่าลืมครับ ในช่วงวิกฤติแบบนี้ หากใครต้องการเงินด่วน หรือบัตรกดเงินสดไว้ใช้ในเวลาฉุกเฉินนั้น อย่าลืมว่าการมีบัตรกดเงินสดสักใบหนึ่งจะช่วยเราได้เป็นอย่างมากกรณีที่ต้องการเงินด่วน และหากมีบัตรกดเงินสดที่สามารถกดเงินด่วนได้เวลาที่ต้องการอย่าง บัตรกดเงินสด KTC PROUD UNION PAY สักตัวจะช่วยเราได้มากเลยครับ
บัตรกดเงินสด KTC PROUD UNION PAY
คุณสมบัติผู้สมัคร บัตรกดเงินสด KTC PROUD UNION PAY
- สัญชาติ ไทยอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
- ผู้สมัครจะต้องมีรายได้อย่างน้อย 12,000 บาทขึ้นไป (สามารถรวมกับรายได้อื่นได้ด้วย)
- ต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือน / สลิปเงินเดือน เดือนล่าสุด
- ประสบการณ์ขั้นต่ำในการทำงาน 4 เดือน
สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Line@ :@masii ครับ หากอยากสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลแบบอื่น หรือเปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคลได้ด้วยตัวเอง ได้ ที่นี่ ครับ