การกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk) ของสินทรัพย์แต่ละตัว โดยใช้วิธี บริหารสินทรัพย์การลงทุน หรือ asset allocation นับว่าเป็นสิ่งที่ชาญฉลาด แล้วอะไรคือ asset allocation รู้สึกงงไหม? เพราะฉะนั้นในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจกับ asset allocation กัน
แค่รู้จักใช้ asset allocation ก็รวยได้
Asset Allocation คืออะไร ?
asset allocation จะเป็นเทคนิคในการบริหารความเสี่ยง เพื่อสร้างพอร์ตการลงทุนที่สมดุล มีการกระจายความเสี่ยงในพอร์ต โดยมีการแบ่งลงทุนไปตามสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตราสารในตลาดเงิน, ตราสารหนี้, หุ้นสามัญ,ทองคำ, อสังหาริมทรัพย์, หรือ อนุพันธ์ เป็นต้น ซึ่งสินทรัพย์แต่ละชนิดจะมีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อมีความผันผวนในตลาดหุ้นก็ยังสามารถลดการขาดทุนได้ด้วยการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้อนุพันธ์ และหากรับความเสี่ยงที่จะลงทุนในอนุพันธ์ไม่ไหว ก็ยังลงทุนในตราสารอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงและความผันผวนน้อยกว่าร่วมกับการลงทุนในตลาดหุ้นได้
ในพอร์ตการลงทุนหนึ่งๆ เมื่อสินทรัพย์ประเภทหนึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง เรามักอาจเสียดายว่าทำไมเราไม่ลงตัวนี้ไปเยอะๆ ชนิดที่เรียกว่า “อัดเต็มพอร์ต” เพราะถ้าใส่เงินลงไปตัวนั้นเต็มๆ รับรองพอร์ตโตมากมายแน่ๆ แต่อยากบอกว่าเมื่อมองในระยะยาว การลงทุนแบบอัดเต็มพอร์ต มันคือความเสี่ยงที่เราต้องเอาเงินทั้งหมด ไปแบกรับความเสี่ยงของสินทรัพย์ตัวนั้นไว้ และถ้ามีเหตุการณ์ไม่คาดคิด การขาดทุนครั้งใหญ่ก็จะเกิดขึ้นกับพอร์ตการลงทุนของเรา
ดังนั้นหากเราเข้าใจถึงความเสี่ยง แล้วเลือกลงทุนให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมก็จะไม่เกิดเหตุการณ์น่าเศร้าใจแน่นอน เพราะเรายังมีตัวอื่นค้ำอยู่ ถึงตอนได้จะได้น้อยแต่ตอนเสียก็ยังพอสบายใจ เงินในกระเป๋าก็ยังไม่หายมากแน่นอน ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับการลงทุนในรูปแบบนี้ให้มากขึ้น และวางแผนการลทุนให้รอบคอบที่สุด
โดยสรุป ทรัพย์สินทรัพย์แต่ละตัวมีเอกลักษณ์ที่ต่างกัน เราไม่รู้ว่าตัวไหนจะให้ผลตอบแทนกับเราดีหรือแย่ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการกระจายการลงทุนลงไปในที่ต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงเฉพาะ (Unsystematic Risk) ของแต่ละสินทรัพย์ด้วย Asset Allocation แต่ทั้งนี้ควรจะให้น้ำหนักการลงทุนไปในด้านไหนเป็นพิเศษก็แล้วแต่เรา แล้วแต่ความชอบ และที่สำคัญต้องรับความเสี่ยงในแต่ละตัวที่ตัดสินใจได้ด้วย อย่ามาเสียดายภายหลังเพราะเราได้ตัดสินใจไปแล้ว ยึดคติที่ว่า “ครั้งหน้าเอาใหม่” ดีที่สุด โดยนำเอาความผิดพลาดมาเป็นบทเรียนเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นนั่นเอง