ไม่ใช่แค่เพียงเส้นทางผ่านแต่คือเส้นทางเริ่มต้นของโครงการหลวง
สำหรับในสายพระเนตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่มักจะเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาต่อพสกนิการชาวไทยอยู่เสมอโดยไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ ซึ่งเห็นได้จากการปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ในรูปแบบของโครงการหลวง หรือโครงการพระราชดำริที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนอยู่เสมอ และอีกหนึ่งโครงการที่เกิดจากสายพระเนตรแห่งความเมตตาของพระองค์ที่มีพสกนิกรชาวเขาอย่างโครงการหลวงนั้นก็ถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่เริ่มต้นจากอำเภอเล็ก ๆ ที่พระองค์ท่านได้เสด็จผ่าน แต่กลับกลายมาเป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีความยิ่งใหญ่และหล่อเลี้ยชีวิตทั้งชาวเขาและพสกนิกรในพื้นราบจวบจนเช่นปัจจุบัน
ซึ่งจากคำบอกเล่าของหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวงที่บอกเล่าว่าโครงการหลวงนั้นเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเพื่อไปทอดพระเนตรทุกข์สุขของประชาชนที่บ้านดอยปุย ใกล้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ แล้วได้ทรงทราบว่าพสกนิกรชาวเขาบนดอยนั้นมีอาชีพปลูกฝิ่นขายและทำไร่เลื่อนลอย ถึงแม้จะมีการเก็บท้อพื้นเมืองขายแต่ก็ยังได้เงินเท่ากัน และด้วยความใส่พระทัยและพระเมตตาของพระองค์นี้เองจึงทำให้เกิดเป็นโครงการหลวงขึ้นมาเป็นครั้งแรกที่ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ และได้พัฒนามาเป็นโครงการหลักที่พัฒนาสังคมและวิถีชีวิตของเกษตรชาวเขาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นควบคู่ที่ดีขึ้น ตลอดจนมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน โดยโครงการหลวงมีอยู่ทั้งสิ้น 38 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง และพะเยา มีภาระหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช รวมถึงงานส่งเสริมทางด้านการเกษตรบนดอยสูง และส่งเสริมชาวเขาในเรื่องการเพาะปลูกและสามารถหารายได้เลี้ยงครอบครัว
นอกจากนี้ปัจจุบันโครงการหลวงเป็นโครงการที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมและเข้าพักได้ตลอดทั้งปี รวมถึงแต่ละแห่งมีความสวยงามและน่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น
โครงการหลวงที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางที่มีพรรณไม้ตกแต่งในรูปแบบสวนสไตล์อังกฤษ มีทั้งไม้ดอกและไม้ประดับที่ส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งปี
...
ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลจนเกิดเป็นโครงการหลวง จ.เชียงราย
เป็นที่ทราบกันดีในหมู่พสกนิกรชาวไทยและนานาประเทศทั่วโลก ว่าพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 นั้นคือผู้ทรงความเป็นเลิศทั้งทางด้านการเกษตร การศึกษา การพัฒนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การฑูตและอื่นๆ อื่นมากมาย ซึ่งเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจตลอดรัชสมัยของพระองค์ที่ทรงครองสิริราชสมบัติมาโดยตลอด
และหนึ่งในโครงการที่พระองค์ท่านได้มีพระราชดำริที่จะช่วยพลิกฟื้นผืนป่าบนดอยสูงที่สูญเสียไปจากการทำไร่เลื่อนลอยบุกรุกถางป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และต้องการช่วยเหลือให้พสกนิกรชาวเขาบนดอยสูงได้มีที่อาชีพทำกินอย่างสุจริตด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ค้าฝิ่น ค้ายาเสพติด มาเป็นเกษตรกรชาวเขา โดยมีหน้าที่หลักในการเพาะปลูกพืชพันธุ์เมืองหนาวและช่วยอนุรักษ์พื้นที่ป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันจากจุดเริ่มต้นของโครงการหลวงที่ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ ก็ได้มีการพัฒนาโครงการหลวงและแบ่งสาขาการทำงานทั้งหมด 38 แห่งทั่วภาคเหนือ เพื่อที่จะกระจายการพัฒนาตามแนวพระราชดำริรวมถึงการให้ความช่วยเหลือพสกนิกรชาวเขาให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
จังหวัดเชียงราย จึงเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่สายพระเนตรของพระองค์ท่านได้เล็งเห็นว่าเป็นพื้นที่ ๆ มีดอยสูงและมีชนเผ่าต่าง ๆ มากมายอาศัยอยู่ การขยายโครงการหลวงให้ไปถึง ก็เปรียบได้กับการนำน้ำพระทัยแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปพลิกฟื้นผืนดินจากร้อนกลับมาชุ่มเย็นเช่นกัน โดยโครงการหลวง จ.เชียงรายนั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าเดินทางไปศึกษาและเยี่ยมชม ดังต่อไปนี้
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน ที่ในปัจจุบันมีประชากรชาวเขาเผ่ามูเซอ...
4 สถานีวิจัยโครงการหลวง จุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาตามพระราชดำริ
จากจุดเริ่มต้นในการก่อตั้งโครงการหลวงที่ดอยอ่างขาง ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในปี 2512 ที่เริ่มต้นความใส่พระทัยในเรื่องของการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวเขาบนดอยสูงที่ประกอบอาชีพปลูกฝิ่น และทำไร่เลื่อนลอย หลังจากนั้นก็ได้มีสถานีวิจัยโครงการหลวงตามมาอีกหลายโครงการไม่ว่าจะเป็นสถานีวิจัยเกษตรหลวงอินทนนท์ สถานีเกษตรหลวงปางดะ และสถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด
และด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านที่เล็งเห็นว่าพื้นที่ของโครงการหลวงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ทำให้การเพาะปลูกพืชพรรณต่าง ๆ จะมีความแตกต่างจากพื้นที่ราบทั่วไป ส่งผลให้งานหลักและงานสำคัญของสถานีโครงการหลวง จึงมุ่งเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาการผลิตและขยายพันธุ์พืช รวมไปถึงการทำหน้าที่ให้บริการทางให้ความรู้และอบรมเกษตรกรและฝึกงานด้านวิชาการแก่ผู้ที่สนใจ
และนอกจากภารกิจที่กล่าวมาแล้ว สถานีโครงการหลวงยังมีภารกิจที่สำคัญคือการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับการเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการและการท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีความสวยงาม
ภาระงานแรกของสถานีโครงการหลวงนั้นเน้นการวิจัยเกี่ยวกับพืชและสัตว์ที่จะสามารถนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรและชาวเขาสามารถนำไปใช้ทดแทนการปลูกฝิ่น และทำไร่เลื่อนลอยโดยเน้นที่พืชที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่หนาวเย็น และสามารถปลูกได้ตามวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงตามความถนัดในการเพาะปลูก
ส่วนในปัจจุบันภาระงานหลักของสถานีโครงการหลวงทั้ง 4 แห่งนั้นเน้นไปที่บทบาทในการรองรับและสนับสนุนงานวิจัย เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเมืองหนาวเพื่อนำมาใช้ในการวิจัย ทดสอบ ทดลอง สาธิต และขยายพันธุ์...
โครงการหลวงเพื่อปวงประชา รักษาดิน รักษาป่าพัฒนาพื้นที่
โครงการหลวง (Royal project) เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2512 ภายใต้พระเมตาและปรีชาสามารถทางด้านการคิดค้นวิธีการลดการบุกรุกทำลายป่าจาการทำไร่เลื่อนลอยและกำจัดการปลูกฝิ่นบนดอยสูงของแผ่นดินไทยให้หมดไปได้โดยง่าย โดยแรกเริ่มเดิมทีของโครงการนี้นั้นได้ใช้ชื่อว่า “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” และมีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 4 ข้อคือ1.ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม 2.ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร 3.กำจัดการปลูกฝิ่น 4.รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูกอย่าสองส่วนนี้รุกล้ำซึ่งกันและกัน ภายใต้สโลแกน 3 ข้อที่ว่า “เร็วๆ เข้า” “ลดขั้นตอน” และ “ช่วยเขาให้ช่วยตัวเอง”
ซึ่งจากจุดแรกที่มีการดำเนินการจัดตั้งโครงการหลวง...
จากการเสด็จเยี่ยมราษฏร สู่โครงการหลวงแห่งแรกที่ดอยอ่างขาง
จากความตั้งใจในการเสด็จพระราชดำเนินเพื่อเยี่ยมราษฏรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่หมู่บ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ โดยในระหว่างการเดินทางที่ต้องผ่านดอยอ่างขาง ก็ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นยังมีความยากจน รวมถึงมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร ที่หากปล่อยให้มีการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอยต่อไปก็อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อการพัฒนาประเทศโดยรวมได้ จึงได้มีการพระราชดำริที่จะจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นพร้อมกับได้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นเงินก้อนแรกในการดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับการเพาะปลูกพันธุ์พืชและส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้กับชาวเขาบนดอยทั้งหมด 9 หมู่บ้านได้แก่บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา บ้านขอบด้ง บ้านผาแดง บ้านสินชัย และบ้านถ้ำง๊อบ ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร จำนวน 4 เผ่า อันได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และ จีนยูนนาน
ส่วนการพัฒนางานของโครงการหลวงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่...
โครงการหลวง จากพื้นที่พัฒนาสู่การท่องเที่ยวธรรมชาติเพื่อเรียนรู้วิถีวัฒนธรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และหม่อมสังวาลย์ ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น (MOUNT AUBURN) รัฐแมสซาชูเซตส์ (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตลอดรัชสมัยการครองราชย์ของพระองค์ท่านทรงขจัดทุกข์ยากให้กับพสกนิกรทั่วประเทศ ยังความผาสุกมาสู่ประชาชน รวมถึงช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฏรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฏีใหม่ที่เน้นการให้ประชาชนใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง เรียบง่าย โดยพระองค์ท่านได้พระราชโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อปวงประชาชนและการพัฒนาประเทศมากกว่า2,000 โครงการ ครอบคลุมทุกด้านในการพัฒนาประเทศไม่ว่าจะเป็นการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคมหรือเศรษฐกิจ และอีกหนึ่งรูปแบบของโครงการส่วนพระองค์ที่ปวงชนชาวไทยล้วนรู้จักกันดีก็คือ “โครงการหลวง” นั่นเอง
โดยโครงการหลวงนั้น...
จากแนวพระราชดำริ สู่การบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนบนดอยสูง
เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วกันว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 นั้นทรงเป็นกษัติรย์ที่มีหัวใจของนักพัฒนา และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก ด้วยโครงการส่วนพระองค์ทั้งโครงการหลวง และโครงการตามแนวพระราชดำริที่มากกว่า 4,000 โครงการ
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติภารกิจทางด้านการพัฒนาในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง และได้ทรงพระราชดำริโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายหลังจากการเสด็จเยี่ยมราษฏรในภูมิภาคต่าง ๆ ที่ด้อยโอกาส มีความยากจนแร้นแค้นให้ได้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งทุกย่างก้าวที่พระองค์ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนิน พระองค์จะช่วยปัดเป่าขจัดความทุกข์ยากและนำความผาสุกมาให้กับราษฎรทุกพื้นที่ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล และพระปรีชาสามารถที่ปราดเปรื่องจนนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติตลอดมา
การก่อตั้งและพัฒนาโครงการหลวง รวมถึงโครงการในพระราชดำริจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่พระองค์ท่านได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอด้วยหวังผลทางด้านการพัฒนาทรัพยากรทางธรรมชาติและยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฏรในพื้นที่ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการก่อตั้งโครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา ด้วยการพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ร่วมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าถวานอีกส่วนหนึ่งเพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการดำเนินโครงการ ส่วนวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งโครงการหลวงในเริ่มแรกนั้นต้องการทำเพื่อช่วยเหลือชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม ช่วยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมกับการช่วยกำจัดการปลูกฝิ่นและอนุรักษ์ดินรวมถึงใช้พื้นที่ให้ถูกต้องคือให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน
โดยการดำเนินการในส่วนแรกเป็นไปในลักษณะของการเปิดโอกาสให้อาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้...
เส้นทางท่องเที่ยวตามรอยพ่อจ. เชียงใหม่กับ 3 โครงการหลวงที่ไม่ควรพลาด
หากจะพูดถึงการท่องเที่ยวในฤดูหนาว หลายคนคงจะต้องคิดถึงการท่องเที่ยวในรูปแบบของการพาตัวเองไปสัมผัสสายลมหนาว พร้อมรับอากาศที่สุดแสนสดชื่นบนดอยที่จังหวัดเชียงใหม่อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของโครงการหลวงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาพื้นที่บนดอยสูงหลายแห่งให้จากแหล่งทำไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่น ให้กลายพื้นที่สามารถสร้างประโยชน์ได้นานัปการ รวมถึงพลิกฟื้นป่าไม้ที่เคยแห้งแล้งให้กลับมาเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์
ส่วนประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการท่องเที่ยวโครงการหลวงที่นอกจากจะให้นักท่องเที่ยวทุกคนได้ทราบถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านการพลิกฟื้นผืนดินและชุบชีวิตให้เกษตรกรชาวเขาได้มีพื้นที่ในการทำกินและมีรายได้เป็นของตนเองแล้ว นอกเหนือนยิ่งไปกว่านั้นก็คือการเรียนรู้ตามแนวทางของพ่อหลวงผู้เป็นกษัตริย์นักพัฒนาในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเชิงเกษตรไปพร้อมกับการเรียนรู้ในเรื่องการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชเมืองหนาวต่าง ๆ ที่ในวันนี้บทความของเราจะขอนำเสนอการท่องเที่ยว 3 โครงการหลวงตามรอยพ่อ จ.เชียงใหม่ ให้ได้เก็บกระเป๋าไปเที่ยวกันในหน้าหนาวนี้
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง จ.เชียงใหม่
ที่เปรียบเป็นโครงการหลวงต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย ที่เกิดจากการพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อพัฒนาผืนดินบนดอยสูงประมาณ โครงการประมาณ 30 ไร่ นี้ให้กลายเป็นแหล่งวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช และช่วยให้ราษฏรชาวเขาทั้งกะเหรี่ยงและม้ง ได้มีอาชีพเป็นของตนเอง ยกเลิกการปลูกฝิ่นทำไร่เลื่อนลอย มาเป็นเกษตรกรชาวเขาอย่างเต็มตัว ส่วนความน่าสนใจเมื่อเดินทางมาท่องเที่ยวที่นี่ได้แก่
การชมแปลงสาธิตไม้ผลเมืองหนาวภายในศูนย์ฯ แปลงปลูกผัก โรงเรือนเห็ดเมืองหนาว รวมถึงชมวิถีชีวิตของชาวเผ่าม้ง...
กาแฟอาราบิก้าจากโครงการหลวงอีกหนึ่งผลผลิตคุณภาพที่ไม่ควรพลาด
หากจะกล่าวถึงพระอัจฉริยภาพแห่งองค์พระบาทพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทางด้านโครงการพัฒนาที่มีประโยชน์อย่างมากกับชาวไทย ที่ประจักษ์และรู้จักกันดีอย่างเช่นการพัฒนาพื้นที่บนดอยจากพื้นที่รกร้าง ผืนดินที่เสื่อมสภาพ กลับมาเป็นผืนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการนำร่องเพื่อเพาะปลูกพืชพันธุ์เมืองหนาวมากมายให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและเกษตรกรชาวเขาได้เป็นอย่างดีอีกหนึ่งโครงการก็คงหนีไม่พ้นในเรื่องของการทดลองปลูกกาแฟอาราบิก้าคุณภาพของโครงการหลวงนั่นเอง
โดยการปลูกกาแฟอาราบิก้าของโครงการหลวงนั้นมีจุดเริ่มต้นหลังจากที่จัดตั้งโครงการหลวงไม่นานและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทำการเสด็จประพาสต้นเพื่อไปทอดพระเนตรต้นกาแฟแค่ 2- 3 ต้นเพื่อทำให้ชาวเขาเห็นว่ากาแฟนั้นมีความสำคัญ ทำให้พวกเขาสนใจที่จะปลูกกาแฟบนดอยกันมากขึ้นทดแทนการปลูกฝิ่นบนดอย และต่อมาจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานต้นกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า ให้แก่พี่น้องชาวไทยภูเขา โดยเริ่มจากเกษตรกรหมู่บ้านดอยช้าง ต.วารี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ด้วยการเข้ารับพระราชทานต้นกล้ากาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า จำนวน40 ครอบครัว ๆ ละ400 ต้น จึงกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของกาแฟอาราบิก้าในประเทศไทย
ปัจจุบันโครงการหลวงมีพื้นที่ในการปลูกกาแฟอาราบิก้าทั้งหมด 24 ศูนย์กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี ส่วนต้นแบบของการเพาะปลูกกาแฟอาราบิก้าของโครงการหลวงนั้นมีต่นแบบมาจากประเทศโคลัมเบียที่ถือว่าเป็นแหล่งที่ปลูกและผลิตกาแฟมาอย่างยาวนานและมีกาแฟดีที่สุดของโลก ส่วนกระบวนการปลูกกาแฟของโครงการหลวงนั้นจะเน้นการผลิตที่มีความปลอดภัย โดยใช้วิธีการปลูกแบบผสมผสานกับพืชท้องถิ่นในลักษณ์การปลูกภายใต้ร่มเงาของไม้ยืนต้นธรมชาติ เพื่อรักษาสมดุลและธรรมชาติให้กับสิ่งแวดล้อม...
โครงการหลวง โครงการจากน้ำพระทัย สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตลอดรัชสมัยแห่งการปกครองและการพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่การพัฒนาทั้งทางด้านความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ และสังคมอย่างเต็มรูปแบบควบคู่ไปกับการนำแนวคิดพระราชดำริของพระองค์เกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ มาปรับใช้เพื่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่การพึ่งพาตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
และหนึ่งในโครงการที่มาจากพระราชดำริที่พวกเราชาวไทยล้วนรู้จักกันดีในฐานะ โครงการที่เปรียบเสมือนสายใยที่เชื่อมความรักระหว่างกษัตริย์นักพัฒนาและใส่ใจพสกนิกรอยู่เสมอมาถึงประชาชนทั่วประเทศในรูปแบบของ “โครงการหลวง” สายใยที่ช่วยชุบชีวิตของประชาชนชาวไทยตั้งแต่ยอดดอยลงมาถึงพื้นราบได้ให้อยู่ดีกินดี มีรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบตามวิถีทางของพระองค์ท่าน
โดยจุดเริ่มต้นของโครงการหลวงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้นเริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ.2512 โดยพระองค์ท่านได้ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินที่มีผู้ทูลเกล้าถวายมาใช้ในการดำเนินการจัดตั้ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่นบนดอยให้กลายเป็นพื่นที่ในการปลูกพืชเมืองหนาว และเปลี่ยนวิถีชาวเขาจากการค้าขายฝิ่นที่ผิดกฏหมายมาเป็นเกษตรกรชาวเขาที่มีหน้าที่ช่วยอนุรักษ์ผืนป่า ต้นน้ำลำธารตามธรรมชาติให้กลับมามีสภาพที่สมบูรณ์สวยงาม และต่อมาในปีพ.ศ.2535 พระองค์ได้โปรดเกล้าให้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิโครงการหลวง พร้อมกับการเพิ่มแนวทางในการพัฒนามากขึ้นด้วยการทำวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์พืช และการทดลองเพาะปลูกพืชพันธุ์เมืองหนาวทั้งไม้ดอกไม้ประดับมากมายก่อนที่จะทำการจัดตั้งนิติบุคคลในนามของบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัดเพื่อทำการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากโครงการหลวงในเชิงพาณิชย์
ทางด้านการดำเนินงาน โครงการหลวงได้มีการดำเนินงานในรูปแบบของสถานีวิจัย ที่ทำหน้าที่วิจัยการเพาะปลูกพืชเมืองหนาว และเป็นสถานที่อบรมถ่ายทอดความรู้ให้เจ้าหน้าที่และเกษตรกรทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่...