ภาษี ถือเป็นเงินได้ที่ผู้มีรายได้เข้าเกณฑ์ทุกคนจะต้องจ่ายให้กับภาครัฐ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศทางด้านต่าง ๆ เช่นการนำไปพัฒนาสาธารณูปโภค เทคโนโลยี สาธารณสุข ความเป็นอยู่ของประชาชน ไปจนถึงการใช้ในการเลี้ยงรับแขกที่มาพบปะสังสรรค์เพื่อความสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ส่วนการลดหย่อนภาษี 2560 นั้น ภาครัฐได้มีการปรับโครงสร้างเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีให้มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ ต่อไปนี้
กรณีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรม รวมถึงผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- จะต้องเป็น ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท
- ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ ไม่เกิน 120,000 บาท
- บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม คนละ 30,000 บาท (รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน)
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้) โดยบิดามารดาต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ สามารถหักค่าลดหย่อน คนละ 60,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันชีวิต (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป) ของผู้มีเงินได้หักค่าลดหย่อนและได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงในปีภาษี แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 490,000 บาท ซึ่งไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างให้หักจากเงินได
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีนั้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักค่าลดหย่อนในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่นำมาเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปีไม่เกิน 500,000 บาท
- ดอกเบี้ยกู้ยืมที่จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย
- เงินสมทบประกันสังคม หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง
กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หักค่าลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท
– เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาและการกีฬา ที่สามารถหักได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
– เงินบริจาค หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
กรณีกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง หักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท