ภาวะเงินฝืด เป็นภาวะที่เรียกได้ว่าตรงข้ามกับเงินเฟ้ออย่างสิ้นเชิง ซึ่งหมายถึงปริมาณเงินในระบบมีน้อยกว่าความต้องการ หรือ สินค้าโดยทั่วไปมีระดับราคาลดลงเรื่อยๆ เป็นเวลานาน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะลดลงทุกชนิด อาจมีสินค้าบางชนิดราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้วเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม ส่วนจะมีสาเหตุใดบ้างนั้น ตาม masii ไปหาคำตอบกันเลย
สาเหตุและผลกระทบจากเงินฝืด
สาเหตุสำคัญของภาวะเงินฝืด
1. ความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังของรัฐบาล
ความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังของรัฐบาล ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินสูงเกินจนสถาบันการเงินประสบปัญหา เรื่องให้สินเชื่อเงินกู้แก่ลูกค้า หรือมีการจัดเก็บภาษีทางตรงสูงมากจนประชาชนเหลือเงินใช้จ่ายน้อยเกินไป ทำให้อุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลกัน นอกจากนี้อาจเกิดจากรัฐบาลจัดพิมพ์ธนบัตรออกหมุนเวียนใช้ไม่เพียงพอกับความจำเป็นของภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นก็ได้
2.เกิดจากการลดลงของอัตราแลกเปลี่ยน
เกิดจากการลดลงของอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษีของรัฐบาลจนปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ หรือประชาชนไม่ออมเงินในระบบการเงิน แต่หันไปออมแบบอื่น เช่น เก็บตุนไว้ในตู้เซฟ จนทำให้เงินออมในระบบลดลง
3. มีการส่งเงินทุนออกนอกประเทศมากเกินไป
มีการส่งเงินทุนออกนอกประเทศมากเกินไป ทั้งถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมายในระยะเวลานานติดต่อกัน จึงเป็นเหตุให้เงินทุนลดน้อย ภาวะดอกเบี้ยจึงสูงขึ้น
ผลกระทบของภาวะเงินฝืด
- ภาวะเงินฝืดทำให้เงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์อย่างมากก็คือ ผู้มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้ ส่วนผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือ ผู้มีรายได้จากการหาเช้ากินค่ำ จากการหากำไรและลูกหนี้
- การลงทุน การผลิตลดลงเกิดปัญหาการว่างงานทำให้ประชาชนขาดรายได้ อำนาจซื้อต่ำลง สินค้าตกค้างอยู่ในคลังจำนวนมาก กำไรธุรกิจลดน้อยหรือเกิดภาวการณ์ขาดทุนอย่างรุนแรง สภาพเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตกทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสียและ ความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อย ทุกภาคการเงินระมัดระวังตัวเองในการปล่อยสินเชื่อ ภาคธุรกิจไม่สามารถหาเงินมาหมุน เวียนจนต้องปิดตัวลง ประชาชนจึงว่างงานส่งผลกระทบกันเป็นลูกโซ่ทั้งระบบ
วิธีการแก้ไขภาวะเงินฝืด
- ลดอัตราดอกเบี้ย
- ลดอัตราการซื้อ (โดยเฉพาะในกลุ่มคนมีเงิน)
- ลดอัตราเงินสดสำรองกฎหมาย
- ขายพันธบันตรรัฐบาลแต่น้อยและซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนมาให้มาก
- เก็บภาษีน้อยๆ(อาจต้องพิจารณาอีกที เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อรายได้ของรัฐไปอีก)
- ใช้งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล
จะเห็นว่าภาวะเงินฝืดส่งผลกระทบมาก ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดปัญหานี้!! หรือเตรียมมาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นให้หมดไปอย่างรวดเร็วและไม่ส่งผลกระทบมากเกินไปนั่นเอง
และเพื่อให้เรามีเงินไหลเวียน นั่นือเราควรต้องหาเงินมาหมุนเวียน และหากเราอยากขอสินเชื่อส่วนบุคคล ก็สามารถมาเปรียบเทียบสินเชื่อ ที่เหมาะกับฐานเงินเดือนของเราได้ด้วยตัวเองครับ แค่คลิกที่นี่ แล้วลองเปรียบเทียบสินเชื่อที่ถูกใจด้วยตัวเอง หรืออยากสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยครับ ทางไลน์ Line@ : @masii เราก็จะได้สินเชื่อ ที่เหมาะกับเราครับ