กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 11 จังหวัดภาคกลางและภาคใต้ ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เฝ้าระวัง น้ำท่วม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง และคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 6 – 11 ม.ค. 66 โดยประสานจังหวัดและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำ พยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด มาเกาะติดสถานการณ์
เตือนระวัง ‘ น้ำท่วม ฉับพลัน ’ 11 จังหวัดช่วง 6 – 11 ม.ค.นี้
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศแจ้งว่า หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวน อีกทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร นอกจากนี้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้มีประกาศฉบับที่ 1/2566 ลงวันที่ 4 มกราคม 2566 ให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ระหว่างวันที่ 6 –11 มกราคม 2566 ดังนี้
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี (อ.กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก พนม เวียงสระ เกาะสมุย เกาะพะงัน) นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ขนอม เชียรใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ ท่าศาลา นบพิตำ ปากพนัง พรหมคีรี พระพรหม ร่อนพิบูลย์ ลานสกา สิชล) พัทลุง (อ.เมืองฯ กงหรา เขาชัยสน ควนขนุน ตะโหมด บางแก้ว ปากพะยูน ป่าบอน ศรีนครินทร์) สงขลา (อ.เมืองฯ กระแสสินธุ์ ควนเนียง จะนะ เทพา บางกล่ำ ระโนด รัตภูมิ หาดใหญ่) ปัตตานี (อ.เมืองฯ กะพ้อ โคกโพธิ์ ทุ่งยางแดง ปะนาเระ มายอ ไม้แก่น ยะรัง ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก) ยะลา (อ.เมืองฯ รามัน ยะหา กาบัง) และนราธิวาส (อ.เมืองฯ จะแนะ เจาะไอร้อง ตากใบ บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ แว้ง สุคิริน สุไหงโก-ลก สุไหงปาดี)
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง คลองชะอวด แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส
พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ได้แก่ เพชรบุรี (อ.เมืองฯ บ้านแหลม ท่ายาง ชะอำ) ประจวบคีรีขันธ์ (ทุกอำเภอ) ชุมพร (อ.เมืองฯ ปะทิว สวี ทุ่งตะโก หลังสวน ละแม) สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ ดอนสัก กาญจนดิษฐ์ ท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง เกาะสมุย เกาะพะงัน) นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ขนอม สิชล ท่าศาลา ปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่) สงขลา (อ.เมืองฯ ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ สิงหนคร จะนะ เทพา) ปัตตานี (อ.เมืองฯ หนองจิก ยะหริ่ง ปะนาเระ สายบุ
กอปภ.ก. จึงได้ประสาน 11 จังหวัดภาคกลางและภาคใต้ ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา และเขต 18 ภูเก็ต เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยโดยติดตามสภาพอากาศและปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักหรือฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่เสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ตลอดจนติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซมแนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ
สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำ น้ำตก ถ้ำลอด หากมีฝนตกหนักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย ให้ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่
ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์คลื่นลมแรง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกประกาศหรือติดตั้งสัญญาณการแจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะห้ามลงเล่นน้ำและประกอบกิจกรรมทางทะเลด้วยความระมัดระวังในช่วงคลื่นลมแรง หากสถานการณ์ในพื้นที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นให้จังหวัดพิจารณาห้ามการเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด
ตลอดจนประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย อีกทั้งจัดชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) และนำเครื่องมือเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำจุดเสี่ยงอันตรายและพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนทันทีตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามสถานการณ์น้ำ พยากรณ์อากาศ และข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ขอให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นและปฏิบัติตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
ท้ายนี้ ประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป
ขอบคุณ : เตือนระวัง ‘น้ำท่วมฉับพลัน’ 11 จังหวัดช่วง 6-11 ม.ค.นี้ (thaiza.com)
แนวทางป้องกัน น้ำท่วมบ้าน จากฝนตกหนักต้องทำอย่างไร
ปัญหาบ้านน้ำท่วม ไม่ใช้เรื่องเล่นๆถือเป็นปัญหาใหญ่ที่มีส่วนทำให้โครงสร้างบ้านได้รับความเสียหาย รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ และของใช้ต่างๆ ในบ้าน ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ยิ่งพื้นที่ไหมที่น้ำท่วมง่าย เวลาเจอฝนตกหนักน้ำท่วมทุกที ดังนั้นวันนี้เรามาดู แนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมบ้าน จึงเป็นอีกวิธีที่ควรรู้ไว้ เพื่อป้องกันบ้านให้ปลอดภัยจากน้ำ ระหว่างช่วงฝนตก โดยเราจะเเบ่งเป็นการป้องกันแบบเร่งด่วนและแบบระยะยาว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วิธีป้องกัน น้ำท่วมบ้าน แบบเร่งด่วน
-
หาฟิวเจอร์บอร์ดกันน้ำไหลเข้าบ้าน
หากบ้านท่านมีบริเวณกำแพงโปร่งที่มีช่องแสงเล็ก ๆ ให้นำฟิวเจอร์บอร์ดมาปิดช่องว่างบนผนังจากนอกบ้าน แล้วตอกตะปู ยิงซิลิโคน หรือปิดด้วยเทปกาวให้แน่น นำแผ่นพลาสติกหรือถุงดำมาคลุมแล้วปิดชายด้านบนด้วยเทปกาวให้แน่น โดยติดเหนือขอบแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดเล็กน้อย แล้วปล่อยชายแผ่นพลาสติกลาดไปกับพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร ก่อนนำอิฐหรือกระถางต้นไม้มาวางทับ เมื่อน้ำไหลมาก็จะเกิดแรงกดให้ถุงดำแนบไปกับพื้นและผนัง ช่วยป้องกันน้ำเข้าบ้านได้อีกทาง
-
ใช้กระสอบทรายกันน้ำ กันน้ำเข้าบ้าน
สิ่งของที่ต้องรีบหาเพื่อป้องกันน้ำเข้าบ้านที่สามารถทำเองได้ จากนั้นวางกระสอบทรายในแนวนอนหรือขนานไปกับทางน้ำไหล โดยหันปากถุงเข้าหาพื้นที่แห้ง แล้วจัดเรียงชั้นกระสอบทรายเป็นทรงสามเหลี่ยมพีระมิด โดยทำฐานให้กว้างกว่าความสูง 3 เท่า และวางแนวกระสอบทรายห่างจากผนังบ้านหรืออาคารอย่างน้อย 2-5 เมตร เพื่อป้องกันโครงสร้างบ้านเสียหายและสังเกตรอยรั่วได้ง่าย ส่วนการป้องกันน้ำเข้าบ้านทางท่อระบายน้ำ ทำได้โดยหย่อนถุงทรายลงไปในท่อประมาณ 2 ถุง ทั้งนี้ควรเหลือหางเชือกไว้ยาว ๆ สำหรับดึงกระสอบขึ้น เสร็จแล้วขยำหนังสือพิมพ์เป็นก้อนกลมใส่ตามลงไปเพื่อให้ยุ่ยปิดการรั่วซึม แล้ววางทับด้วยกระสอบทรายอีกชั้น ก็ช่วยป้องกันน้ำเข้าบ้านเบื้องต้นได้แล้ว
วิธีทำกระสอบทราย
- ตัดผ้ากระสอบหรือแผ่นพลาสติกให้มีขนาด 32×12 นิ้ว จากนั้นพับให้เหลือ 18×12 นิ้ว เพื่อให้ถุงมีความหนาพอรับน้ำหนักทราย
- เย็บผ้าที่ตัดไว้ทั้ง 3 ด้านให้แน่นหนา โดยเหลือช่องด้านบนสำหรับตักทรายใส่
- ตักทรายใส่ถุงที่เย็บไว้ ชั่งน้ำหนักให้ได้ประมาณ 15-18 กิโลกรัม เพื่อให้ขนได้ง่ายไม่หนักเกินไป โดยขั้นตอนนี้คุณสามารถผสมดินและปูนซีเมนต์ลงไปกับทรายได้ในอัตราส่วน 10:1 ส่วน เพื่อความแน่นหนาอีกชั้น แต่ถ้ามีแค่ทรายล้วน ๆ ก็ไม่เป็นปัญหา และใส่วัสดุเพียงครึ่งถุงหรือ 2 ใน 3 ของถุงกระสอบ
- ปิดปากถุงกระสอบโดยใช้เทปกาวติดให้แน่น
- เย็บกระสอบทรายด้วยเข็มและด้ายหลาย ๆ ชั้น จนมั่นใจว่าหนาแน่นพอ
- นำกระสอบทรายไปวางทับกันหลาย ๆ ชั้น เป็นปราการป้องกันน้ำเข้าบ้านได้เลย แต่ในกรณีที่ผสมปูนลงไปกับทรายด้วย ควรพรมน้ำใส่กระสอบทรายเล็กน้อย เพื่อให้ปูนเซตตัว
ติดตั้งบานเหล็กกันน้ำท่วม
สำหรับประตูรั้วบ้าน สามารถป้องกันน้ำได้ด้วยบานเหล็ก โดยนำเสากลางติดตั้งกับรางประตู แล้วเชื่อมเข้ากับบานเหล็ก จากนั้นใช้ดินน้ำมันหรือยิงซิลิโคนอุดรอยรั่วป้องกันน้ำซึม แล้วค่อยติดตั้งเสาค้ำยันเสริมความแข็งแรง ส่วนการติดตั้งวัสดุผนังสำเร็จรูป เช่น แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด ก็ทำได้เช่นกันโดยขึ้นโครงเหล็กพับแล้วติดตั้งวัสดุที่จะใช้ลงไป อุดรอยต่อด้วยวัสดุยาแนว พร้อมกับใช้ผ้าใบหรือแผ่นพลาสติกคลุมอีกชั้นป้องกันน้ำซึม
วิธีป้องกัน น้ำท่วมบ้าน แบบระยะยาว
-
ทำการยกระดับพื้นบ้านให้สูงขึ้น
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบ้าน สิ่งแรกที่ต้องปรับเปลี่ยนคือการยกระดับพื้นให้สูงขึ้น โดยสามารถทำได้ด้วยการถมดินให้สูง หรือยกพื้นให้สูง สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำไหลแนะนำให้ใช้กระสอบทรายกั้น ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมบ้านได้เช่นกัน อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรละเลยคือ การปรับพื้นให้มีความลาดเอียงไปยังท่อระบายน้ำ เพราะหากพื้นที่บ้านต่ำกว่าท่อระบายน้ำ จะส่งผลให้น้ำไม่สามารถระบายลงท่อ และทำให้เกิดน้ำท่วมขังภายในบ้าน
สำหรับการแก้ปัญหายกระดับพื้นบ้านชั้นล่าง ให้มีความสูงเท่ากับระดับถนน เหมาะกับบ้านที่มีความสูงไม่ต่างกันประมาณครึ่งหนึ่ง-หนึ่งฟุตครึ่ง ส่วนในกรณีที่เป็นบ้านเดี่ยวแนะนำให้แก้ไขด้วยการดีดยกบ้านทั้งหลัง แต่หากพื้นถนนสูงกว่าพื้นบ้านชั้นล่างครึ่งหนึ่ง ให้พิจารณาจากความสูงของบ้าน ถ้าต้องการยกพื้นให้สูงขึ้นเท่ากับถนน ต้องทำการทุบพื้นเก่าทิ้งเสียก่อน จากนั้นทำกานหล่อคานปูนเสริมจากคานให้สูงขึ้น และทำคานเหล็กยึดกับเสาบ้าน
-
ปรับปรุงพื้นที่รอบตัวบ้าน
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำไหลเข้าบ้าน คือการทำขอบคันกั้นน้ำ และขุดบ่อดักไว้ จากนั้นใช้ปั๊มสูบน้ำให้ออกไปข้างนอก ส่วนกรณีที่น้ำไหลย้อนมาทางท่อระบายน้ำ แนะนำให้อุดปิดบริเวณปากท่อ รวมถึงต่อขอบบ่อพักให้สูงขึ้น อีกทั้งการติดตั้งปั๊มจุ่มก็มีส่วยช่วยสูบน้ำออกป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังภายในบ้านได้ดีเช่นกัน
-
หมั่นตรวจสอบท่อระบายน้ำบริเวณใกล้บ้านท่าน
สิ่งที่ไม่ควรละเลยเป็นอันขาดคือ การตรวจเช็คท่อระบายน้ำว่ามีสิ่งอุดตันหรือไม่ เพราะหากมีเศษใบไม้ หรือเศษขยะอุดตัน ก็เป็นต้นเหตุทำให้เกิดน้ำขังภายในบ้านเช่นกัน นอกจากนี้ควรตรวจสอบว่าภายในบ้านมีมีจุดไหนที่เกิดรอยรั่วซึมหรือไม่ เพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขอย่างทันท่วงที ไม่เกิดปัญหาใหญ่ทีต้องเสียเงินบานปลายตามมาภายหลัง
สำหรับปัญหาน้ำท่วมบ้านนั้นไม่ใช้เรื่องเล็กน้อยดังนั้นอย่าได้นิ่งนอนใจเป็นขาด! ไม่ว่าจะท่วมเยอะ หรือท่วมน้อย ก็ส่งผลเสียต่อโครงสร้างบ้าน รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้านเช่นกัน เพื่อความไม่ประมาทต่อธรรมชาติ และการดำเนินชีวิต วันนี้ มาสิ มี ประกันภัยบ้าน หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อสั้นๆ ว่า ประกันบ้าน ซึ่งเป็น ประกันอสังหาริมทรัพย์ ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ ไปดูกันครับ …
รวม ประกันภัยบ้าน คุ้มครองภัยน้ำท่วม มีที่ไหนบ้าง มาดูกัน
น้ำท่วม 2565 นี้ถือเป็นอีกหนึ่งภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายไม่น้อย ดังนั้นเมื่อฝนตกหนักติดกันหลายวันทีไร หลายคนกอดกังวลไม่ได้ว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่อีกหรือเปล่า โดยเฉพาะช่วงที่หลายจังหวัดเกิดน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ สำหรับคนที่กังวลอยากซื้อประกันเผื่อไว้ชดเชยในกรณีที่ บ้าน หรือ ทรัพย์สิน เกิดความเสียหาย วันนี้ มาสิ ได้รวมประกันบ้านที่มีคุ้มครองภัยน้ำท่วมมาให้แล้ว ส่วนจะมีที่ไหนบ้าง และชดเชยความเสียหายในกรณีที่เกิดเหตุน้ำท่วมอย่างไร ตามไปดูกันเลย
ประกันภัยบ้าน ที่ให้ความคุ้มครองภัยน้ำท่วมด้วยมี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบที่รวมอยู่ในประกันหลัก ให้ความคุ้มครองทั้งอัคคีภัย ภัยน้ำ ( ที่ไม่ได้เกิดจากน้ำท่วม ) และภัยธรรมชาติ ได้แก่ ลมพายุ แผ่นดินไหว ลูกเห็บ และน้ำท่วม ซึ่งส่วนใหญ่จะให้ชดเชยค่าเสียหายจากภัยธรรมชาติรวมกันทุกภัยไม่เกินวงเงินที่กำหนด เช่น 20,000 บาทต่อปี หรือ 10% ของวงเงินเอาประกัน ทั้งนี้ อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับแผนประกันที่ซื้อ ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ เป็นการขยายภัยเพิ่มเติมจากประกันหลัก วงเงินเอาประกันสำหรับภัยน้ำท่วมก็จะสูงกว่าแบบแรก แต่ก็อาจจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
1. ทิพยประกันภัย
– แผนที่ 1 ราคา 1,800 บาทต่อปี วงเงินประกัน 1,000,000 บาท คุ้มครองภัยน้ำท่วมเพิ่มเติม 100,000 บาท
– แผนที่ 2 ราคา 2,800 บาทต่อปี วงเงินประกัน 1,500,000 บาท คุ้มครองภัยน้ำท่วมเพิ่มเติม 150,000 บาท
– แผนที่ 3 ราคา 3,800 บาทต่อปี วงเงินประกัน 2,000,000 บาท คุ้มครองภัยน้ำท่วมเพิ่มเติม 200,000 บาท
อ่านเงื่อนไข ศึกษารายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
- เว็บไซต์ : www.tqm.co.th
- โทร. : 1737 และ 02-119-8888
2. ไทยประกันภัย
– แผนที่ 1 ราคา 1,169.51 บาทต่อปี คุ้มครองภัยน้ำท่วมเพิ่มเติม 100,000 บาท
– แผนที่ 2 ราคา 2,702.82 บาทต่อปี คุ้มครองภัยน้ำท่วมเพิ่มเติม 300,000 บาท
– แผนที่ 3 ราคา 4,235.06 บาทต่อปี คุ้มครองภัยน้ำท่วมเพิ่มเติม 500,000 บาท
– แผนที่ 4 ราคา 8,049.61 บาทต่อปี คุ้มครองภัยน้ำท่วมเพิ่มเติม 1,000,000 บาท
อ่านเงื่อนไข ศึกษารายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
- เว็บไซต์ : www.thaiins.com
- โทร. : 02-613-0123
3. GSB-Home Care
อ่านเงื่อนไข ศึกษารายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
- เว็บไซต์ : www.gsb.or.th
- โทร. : 1115
4. ชับบ์สามัคคีประกันภัย
อ่านเงื่อนไข ศึกษารายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
- เว็บไซต์ : www.silkspan.com
- โทร. : 02-392-5500 (Call Center)
5. ทีเอ็มบี
อ่านเงื่อนไข ศึกษารายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
- เว็บไซต์ : www.ttbbank.com
- โทร. : 02-613-0123
6. นวกิจประกันภัย
อ่านเงื่อนไข ศึกษารายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
- เว็บไซต์ : www.navakij.co.th
- โทร. : 1748
7. ทิสโก้
อ่านเงื่อนไข ศึกษารายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
- เว็บไซต์ : www.tisco.co.th
- โทร. : 02-633-6070
8. อลิอันซ์ อยุธยา
กรุงศรี โฮม พร้อม โดยบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินภายในบ้านจากเหตุไม่คาดฝันต่างๆ ได้แก่ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ภัยเนื่องจากน้ำ ภัยแผ่นดินไหว ภัยลมพายุ ภัยจากลูกเห็บ ภัยจากควัน ภัยอากาศยาน ภัยยวดยานพาหนะ ภัยจากการจลาจลและนัดหยุดงาน ในวงเงินประกัน 300,000 บาท ความสูญเสียหรือความเสียหายจากน้ำท่วม 30,000 บาท ตลอดเวลาระยะเอาประกันภัย 1 ปี ราคา 1,499 บาท
อ่านเงื่อนไข ศึกษารายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
- เว็บไซต์ : www.krungsri.com
- โทร. : 1572
แต่อย่างไรก็ดีก่อนจะซื้อประกันกันบ้าน ที่มีแผนคุ้มครองภัยน้ำท่วมควรศึกษาข้อมูลหรือถามข้อมูลจากตัวแทนขายให้ละเอียดและเข้าใจตรงกันก่อนว่า มีความคุ้มครองแค่ไหน จ่ายชดเชยในส่วนไหนและกรณีใด มีข้อยกเว้นอย่างไร เพราะเงื่อนไขแต่ละบริษัทแตกต่างกัน และจะได้ไม่มีปัญหาเมื่อต้องส่งเคลมประกันตามมาครับ
สนใจ สมัคร ประกันภัยบ้าน ประกันภัยอสังหาริมทรัพย์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันภัยบ้าน
- ประกันภัยบ้าน คุ้มครองครบทั้งไฟไหม้ น้ำท่วม ที่ th ….พร้อม เปิดทำเลแบบนี้ สร้างบ้านแบบไหนดี อยู่แล้วสบาย
- 7 ฮวงจุ้ยบ้านผิดๆ ที่ควรรีบแก้ เพื่อชีวิตที่ดี พร้อมเพิ่มความอุ่นใจ ด้วยประกันภัยบ้าน
- ว่าที่ เจ้าของร้านกาแฟ ห้ามพลาด! กับ 5 สูตรกาแฟโบราณ ฉบับเปิดร้านได้!! พร้อมดู สุดยอด ประกันภัยร้านกาแฟ ที่คุ้มครองครอบคลุม
- ทำนายฝัน ฝันว่าพายุพัดบ้านพัง หลังคาบ้านพัง หมายความอย่างไร ? … แล้วหากเกิดขึ้นจริง ประกันภัยบ้าน คุ้มครองความเสียหายอย่างไร ? ที่นี่มีคำตอบ
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison