นับเป็นข่าวใหญ่สำหรับคนถือบัตรเครดิตและจ่ายยอดขั้นต่ำ หลังธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมปรับ เพิ่มจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต 8% จากเดิม 5% จนเกิดคำถามขึ้นว่า “ ทำไมถึงต้องปรับเพิ่ม ? ” แล้วผลกระทบที่จะเกิดกับผู้บริโภคซึ่งเป็น หนี้บัตรเครดิต เป็นอย่างไร ส่วนสถาบันการเงินก็กังวลกับมาตรการนี้เช่นกัน ทั้ง ๆ ที่ดูเหมือนจะได้เงินคืนมากขึ้น masii จะขอพาไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับการเป็นหนี้บัตรเครดิต วิเคราะห์ผลกระทบจากการปรับเพิ่มครั้งนี้ และจะเกิดผลดีหรือผลเสียกันแน่ แก้ปัญหาได้หรือไม่? ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย!!!
เพิ่มจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต 8% แก้หนี้หรือซ้ำเติม ?
รายได้บริษัทบัตรเครดิตมาจากไหน
ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรเครดิต มีรายได้หลักอยู่ 3 อย่าง คือ
1. ค่าธรรมเนียม
ส่วนใหญ่บัตรเครดิตจะมีค่าธรรมเนียมรายปีซึ่งจะมีแจ้งอยู่ในใบสมัครบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็น 500 บาท 2,000 บาท หรือ 5,000 บาท รวมถึงได้ค่าธรรมเนียมจากการใช้จ่ายแต่ละครั้งโดยหักจากร้านค้าที่ผู้ถือบัตรไปซื้อสินค้า
2. ดอกเบี้ย
ธนาคารหรือสถาบันการเงินอนุมัติวงเงินให้ผู้ถือบัตรเครดิต เมื่อใช้ตามยอดวงเงินแล้วไม่สามารถชำระคืนได้ทั้งหมด ผู้ใช้ก็จะถูกคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนด
3. รายได้อื่น ๆ
ค่าปรับการจ่ายค่าธรรมเนียมล่าช้า การทวงถามหนี้ ส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อใช้จ่ายในต่างประเทศ ค่าโฆษณา
จ่ายยอดขั้นต่ำคืออะไร ต้องระวังอะไรบ้าง
การจ่ายยอดขั้นต่ำ คือ การจ่ายคืนเงินที่ใช้จ่ายไปเพียงแค่สัดส่วนที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินกำหนดไว้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 5% การจ่ายยอดขั้นต่ำทำให้ต้องชำระดอกเบี้ยด้วยอัตราที่สูงถึง 16% ต่อปี
ปกติธนาคารหรือสถาบันการเงินจะมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย (Grace period) โดยหากยังไม่พ้นระยะเวลาตรงนี้ ก็ยังไม่นับว่าเป็นหนี้บัตรเครดิตและยังไม่คิดดอกเบี้ย
ถ้าเลือกจ่ายยอดขั้นต่ำในวันที่ครบกำหนดชำระ ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะยกเลิกระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย และเริ่มคิดดอกเบี้ยแบบรายวันกันตั้งแต่วันแรกที่จ่ายเงินซื้อสินค้า โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 คิดดอกเบี้ยจากยอดทั้งหมดที่จ่ายไป นับจากวันที่จ่ายถึงวันก่อนครบกำหนดชำระ
ส่วนที่ 2 คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ยังไม่ได้จ่ายคืน โดยคิดดอกเบี้ยนับจากวันที่จ่ายยอดขั้นต่ำถึงวันสรุปค่าใช้จ่ายเดือนถัดไป
ถ้าเลือกจ่ายยอดขั้นต่ำต่อไป ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ทั้งยอดหนี้และดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้น ระยะเวลาผ่อนชำระก็ยิ่งมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็ผ่อนไม่หมด
ธปท. เตรียม เพิ่มจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต 8% จากเดิม 5%
ปี 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมปรับเพิ่มอัตราจ่ายยอดบัตรเครดิตขั้นต่ำเป็น 8% หลังลดเหลือ 5% เพื่อช่วยเหลือช่วง COVID-19 และปี 2568 จะปรับเพิ่มอีกกลับไปใช้อัตรา 10% เพื่อควบคุมระดับหนี้ครัวเรือนที่สูง ด้านผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตแสดงความกังวลว่าการเพิ่มอัตราจ่ายยอดบัตรเครดิตจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ถือบัตร
สถานการณ์ตลาดบัตรเครดิต และหนี้ครัวเรือนไทย
ข้อมูล ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2566 ปริมาณการใช้จ่ายทั้งในและต่างประเทศรวมกันอยู่ที่ 219,909 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. 2565 ซึ่งอยู่ที่ 187,771 ล้านบาท ส่วนยอดค้างชำระเกิน 3 เดือน เดือน มิ.ย. 2566 อยู่ที่ 10,061 ล้านบาท ขณะที่เดือน มิ.ย. 2565 อยู่ที่ 9,527 ล้านบาท จะเห็นว่าตลาดบัตรเครดิตไทยเติบโตจากปีที่แล้วชัดเจน แต่ขณะเดียวกันการก่อหนี้ส่วนนี้ก็ส่งให้ระดับหนี้ครัวเรือนสูงเช่นกัน
ไตรมาส 1 ปี 2566 หนี้ครัวเรือนไทยคิดเป็น 90.6% ของ GDP นับเป็นระดับอันตราย ยอดหนี้รวม 766,000 ล้านบาท แม้หนี้ซื้ออสังหาฯ จะเป็นสัดส่วนอันดับแรกของหนี้ครัวเรือนที่ 34% แต่หนี้ที่ตามมาเป็นอันดับสองก็คือ หนี้อุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งหนึ่งในนั้นมีหนี้บัตรเครดิตอยู่ด้วย
เพิ่มจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต 8% กระทบสถาบันการเงินและผู้บริโภคอย่างไร
การปรับเพิ่มอัตราจ่ายยอดบัตรเครดิตขั้นต่ำสร้างความกังวลให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพราะจะก่อให้เกิดหนี้เสีย (NPL) มากขึ้น เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตเมื่อมีการปรับเพิ่มอัตราจ่ายยอดบัตรเครดิตขั้นต่ำจาก 5% เป็น 10%
รายได้หลักของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรเครดิตมาจากดอกเบี้ยที่เก็บจากผู้ที่ชำระยอดขั้นต่ำ โดยกลุ่มที่จ่ายยอดขั้นต่ำนี้มีสัดส่วนประมาณ 20-25% ของทั้งระบบบัตรเครดิตไทย ดังนั้นการปรับเพิ่มยอดชำระขั้นต่ำครั้งนี้ มีโอกาสทำให้เกิดหนี้เสียมากขึ้น เพราะผู้บริโภคมีภาระหนี้มากขึ้น ก็กระทบต่อรายได้ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่จะลดลง
แต่มองอีกมุมจากรายได้ของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรเครดิตพบว่า รายได้จากค่าธรรมเนียมที่ใช้จ่ายแต่ละครั้งไม่ถึง 2-3% รายได้หลักของธนาคารหรือสถาบันการเงินจึงมาจากการคิดดอกเบี้ย โดยกลุ่มที่จ่ายยอดขั้นต่ำมีสัดส่วนประมาณ 20-25% ของทั้งระบบ ส่วนที่เหลือจ่ายเต็มจำนวน ดังนั้นหากการปรับเพิ่มครั้งนี้จะทำให้เกิดหนี้เสียมากขึ้น ก็ส่งผลกระทบต่อรายได้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเช่นกัน
จุดนี้คงมีแต่ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรให้กับกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ส่วนสถาบันการเงินที่ออกบัตรให้กลุ่มที่มีกำลังจ่ายต่ำก็ได้รับผลกระทบมาก
ส่วนผู้บริโภคที่เป็นหนี้บัตรเครดิตก็เตรียมตัวรับผลกระทบอย่างเต็มที่ เพราะส่วนใหญ่จะมีหนี้บัตรเครดิตไม่ต่ำกว่า 1 ใบ ทำให้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงที่จะกลายเป็นหนี้เสียอย่างที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินกังวล (เสียรายได้)
นอกจากนี้ผู้บริโภคที่เป็นหนี้บัตรเครดิตต้องกังวลอีกจากการที่ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตเตรียมหารือกับ ธปท. เพื่อขอขยายเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ปัจจุบันอยู่ที่ 16% ซึ่งปรับลดจาก 18% เมื่อปี 2563 เนื่องจากต้นทุนการเงินการประกอบธุรกิจสูงขึ้นจากการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เมื่อดูภาพรวมแล้วนับว่ามีแต่ผลกระทบเชิงลบต่อทั้งระบบ และคงไม่แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างที่ ธปท. ต้องการ หากจะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูง คงต้องหันกลับไปแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งครัวเรือนมีรายได้ไม่พอรายจ่าย มากกว่านั้นต้องมีการเรียนการสอน การให้ความรู้การเงินส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการก่อหนี้เกินตัว
สนใจสมัครบัตรเครดิตไว้ใช้ เปรียบเทียบความคุ้มค่าของบัตรเครดิตได้ ที่นี่
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับเรื่องราวที่ มาสิ ได้หยิบยกมานำเสนอในวันนี้ ถือได้ว่าเป็นประโยชน์และเอาใจสายช้อปเป็นอย่างยิ่ง เพราะ มาสิ เชื่อเป็นอย่างยิ่งครับ ว่า ทุกๆ การจับจ่ายใช้สอย ทุกๆ ความต้องการ ในบางครั้งก็รอไม่ได้ แต่จะดีกว่าแน่นอน หากทุกๆ การช้อปปิ้งออนไลน์ ผ่าน บัตรเครดิต ของคุณ ได้ทั้งสินค้าดี มีคุณภาพ ถูกใจ จ่ายสบายๆ แถมยังได้รับสิทธิประโยชน์ที่มีมากกว่าการซื้อของแล้วได้แค่ของครับ
สนใจ สมัครบัตรเครดิต
เปรียบเทียบบัตรเครดิต
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
เปรียบเทียบบัตรเครดิต แต่ละธนาคาร ตามประเภทและสิทธิประโยชน์ที่ต้องการ ก็ง่ายสะดวกในที่เดียว มาสิรวบรวมเรื่องราวที่น่าสนใจมาไว้ให้กับคุณแล้วที่นี่ ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาเยอะ และหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรมาสอบถามผู้เชี่ยวชาญทางการเงินของเราได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารบทความ และเคล็ดลับดีๆ จากเราไม่ว่าจะเป็นการ เปรียบเทียบบัตรเครดิต ทุกประเภท ก่อนที่จะตัดสินใจ ทำบัตรเครดิต เคล็ดลับในการใช้ บัตรเครดิต และข้อควรระวังใน การใช้บัตรเครดิต และ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน จากสถาบันการเงินชั้นนำ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม
- ใช้ไลฟ์สไตล์คนเมือง ให้เต็มที่ ไปกับบัตรเครดิตที่เข้าใจคนเมืองกรุง อย่าง บัตรเครดิต UOB Yolo Platinum
- masii ชวนรู้ก่อนใช้! บัตรกดเงินสด กับ บัตรเครดิต ต่างกันอย่างไร เปรียบเทียบบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ได้ที่นี่!
- masii ชวนสมัคร! 5 บัตรเครดิต ประเภทคืนเงิน ( Cash Back ) เยอะที่สุด ใช้ได้ทุกร้านค้า ทุกยอดใช้จ่าย
- masii ส่งข่าว… สมัครบัตรเครดิต ออนไลน์ สำหรับ สายกิน! ธนาคารไหนดี สมัครแล้วอิ่มคุ้ม โปรเยอะ!!
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison