โครงการหลวง โครงการจากน้ำพระทัย สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

โครงการหลวง
โครงการหลวง
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

ตลอดรัชสมัยแห่งการปกครองและการพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่การพัฒนาทั้งทางด้านความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ และสังคมอย่างเต็มรูปแบบควบคู่ไปกับการนำแนวคิดพระราชดำริของพระองค์เกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ มาปรับใช้เพื่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่การพึ่งพาตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

และหนึ่งในโครงการที่มาจากพระราชดำริที่พวกเราชาวไทยล้วนรู้จักกันดีในฐานะ โครงการที่เปรียบเสมือนสายใยที่เชื่อมความรักระหว่างกษัตริย์นักพัฒนาและใส่ใจพสกนิกรอยู่เสมอมาถึงประชาชนทั่วประเทศในรูปแบบของ “โครงการหลวง” สายใยที่ช่วยชุบชีวิตของประชาชนชาวไทยตั้งแต่ยอดดอยลงมาถึงพื้นราบได้ให้อยู่ดีกินดี มีรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบตามวิถีทางของพระองค์ท่าน

โดยจุดเริ่มต้นของโครงการหลวงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้นเริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ.2512 โดยพระองค์ท่านได้ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินที่มีผู้ทูลเกล้าถวายมาใช้ในการดำเนินการจัดตั้ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่นบนดอยให้กลายเป็นพื่นที่ในการปลูกพืชเมืองหนาว และเปลี่ยนวิถีชาวเขาจากการค้าขายฝิ่นที่ผิดกฏหมายมาเป็นเกษตรกรชาวเขาที่มีหน้าที่ช่วยอนุรักษ์ผืนป่า ต้นน้ำลำธารตามธรรมชาติให้กลับมามีสภาพที่สมบูรณ์สวยงาม และต่อมาในปีพ.ศ.2535 พระองค์ได้โปรดเกล้าให้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิโครงการหลวง พร้อมกับการเพิ่มแนวทางในการพัฒนามากขึ้นด้วยการทำวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์พืช และการทดลองเพาะปลูกพืชพันธุ์เมืองหนาวทั้งไม้ดอกไม้ประดับมากมายก่อนที่จะทำการจัดตั้งนิติบุคคลในนามของบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัดเพื่อทำการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากโครงการหลวงในเชิงพาณิชย์

ทางด้านการดำเนินงาน โครงการหลวงได้มีการดำเนินงานในรูปแบบของสถานีวิจัย ที่ทำหน้าที่วิจัยการเพาะปลูกพืชเมืองหนาว และเป็นสถานที่อบรมถ่ายทอดความรู้ให้เจ้าหน้าที่และเกษตรกรทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่และสถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงในรูปแบบศูนย์พัฒนาโครงการหลวงที่มีทั้งหมด 38 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน

ปัจจุบัน โครงการหลวง ถือเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานทางด้านการพัฒนาการทางเกษตรอย่างยั่งยืนและครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และถือว่าเป็นโครงการที่มีระบบการดำเนินงานที่ครบวงจรตั้งแต่การเพาะปลูก การแปรรูป และการจัดจำหน่ายภายใต้ชื่อสินค้าของดอยคำ และร้านค้าสินค้าจากโครงการหลวงอย่างGolden place