ใช้งาน โดรน ต้องรู้! เงื่อนไขการอนุญาตใช้ความถี่ อัปเดตใหม่ล่าสุด มิถุนายน 2563 จากประกาศจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะมีเนื้อหาส่วนไหนที่มีการอัปเดตใหม่บ้าง ตาม masii ไปดูรายละเอียดกันเลยค่ะ
ใช้งาน โดรน ต้องรู้! เงื่อนไขการอนุญาตใช้ความถี่ อัปเดตใหม่ล่าสุด
สำหรับ หรือผู้ใช้งาน โดรน ทั้งนักเล่นโดรนมืออาชีพ นักเล่นโดรนมือใหม่ และนักเล่นโดรนมือสมัครเล่น คงพอทราบกันมาบ้างแล้วว่าการ ใช้งาน โดรน ให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นจะต้องทำการ ขึ้นทะเบียนโดรน กันก่อน โดยการขึ้นทะเบียนนั้นก็ต้องทำการขอขึ้นทะเบียนจากทั้ง 2 หน่วยงาน ซึ่งได้แก่ สำนักงานการบินพลเรือน The Civil Aviation Authority of Thailand (CAAT) ส่วนการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นการขึ้นทะเบียนขออนุญาตใช้ความคลื่นความถี่
โดรนแบบไหนบ้างที่ต้องขึ้นทะเบียน
สำหรับโดรนที่ต้องทำการขึ้นทะเบียนก่อนการบินนั้นมีดังต่อไปนี้
- โดรนที่มีการติดตั้งกล้องถ่ายภาพทุกกรณี
- น้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี (หากน้ำหนักโดรนและกล้องถ่ายภาพรวมกันไม่เกิน 2 กิโลกรัม ไม่ต้องขึ้นทะเบียน)
- โดรนที่มีน้ำหนักเกินกว่า 25 กิโลกรัมขึ้นไป (ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)
เงื่อนไขการอนุญาตใช้ความถี่ จาก กสทช. อัปเดตใหม่ล่าสุด
สำหรับผู้ใช้งาน โดรน ต้องรู้! เงื่อนไขการอนุญาตใช้ความถี่ จาก กสทช. อัปเดตใหม่ล่าสุด สำหรับการอนุญาตใช้ความถี่ที่ทาง กสทช. ปรับปรุงประกาศฉบับใหม่ โดยมีกำหนดให้ผู้ที่ครอบครองโดรนใหม่ หลังวันที่ 23 ก.ย. 2563 จะต้องมาขึ้นทะเบียน ภายใน 30 วันหลังจากครอบครอง หากไม่ทำการขึ้นทะเบียนจะมีค่าปรับตามกฎหมาย
ผู้ที่มีเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินไว้ในครอบครองเพื่อใช้งานมีหน้าที่ในการขึ้นทะเบียนเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ตามแบบที่สำหนักงาน กสทช กำหนด ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ครอบครองเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน
สำหรับผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนโดรนกับสำนักงาน กสทช. ไว้แล้วก่อนหน้านี้ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับใบอนุญาตให้มี ใช้ และนำออกซึ่งวิทยุคมนาคม และใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
ผู้ที่ต้องทำการขึ้นทะเบียนโดรน มีใครบ้าง
- เจ้าของโดรน และผู้ใช้งานโดรนทั่วไป
- นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่นำโดรนเข้ามาใช้ในประเทศไทย
- ผู้ที่นำโดรนเข้ามาใช้ในภารกิจชั่วคราว เช่น นำโดรนมาใช้ถ่ายภาพยนตร์ ใช้โดรนในงานโชว์
- หน่วยงานของรัฐทั้งหมด ยกเว้นหน่วยงานความมั่นคง
ค่าธรรมเนียมคำขอขึ้นทะเบียนโดรนกับสำนักงาน กสทช.
สำหรับค่าธรรมเนียมในการยื่นขอเพื่อขึ้นทะเบียนโดรนกับสำนักงาน กสทช. กำหนดค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 214 บาท (รวมภาษีอากร) บาทต่อเครื่อง โดยจะต้องทำการยื่นขอขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน หากฝ่าฝืนจะมีค่าปรับตามกฎหมาย แต่หากคุณนำโดรนไปขึ้นทะเบียนก่อนวันที่ 23 กันยายน 2563 จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนโดรนกับ กสทช.
บทความที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนโดรน
นอกจากการขึ้นทะเบียนโดรนให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การทำประกันภัยโดรนเพื่อความอุ่นใจ และมั่นใจ ในการบินโดรนนั้น masii ขอแนะนำให้คุณเลือกทำ ประกันภัยโดรน เอาไว้ก่อน เพราะการบินโดรนนั้น อาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นการทำประกันภัยโดรนก็จะทำให้อุ่นใจได้ด้วยวงเงินคุ้มครองในกรณีต่าง ๆ
คลิกด้านล่างเพื่ออ่านบทความเกี่ยวกับแพ็กเกจประกันภัยโดรน และประกันภัยโดรน
- เหตุผลที่คุณควร ทำประกันภัยโดรน
- แพ็กเกจประกันภัยโดรนสุดคุ้มจาก masii
- สมัครประกันภัยโดรน แบบคุ้มค่า สำหรับโดรนถ่ายภาพ
สนใจสมัครประกันภัยโดรน
หากใครที่เป็นเจ้าของโดรน ย้ำกันอีกทีว่าโดรนที่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพ และโดรนที่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
หากผู้ใช้โดรนคนไหนสนใจสมัครประกันภัยโดรนจากมาสิ เพียงคุณส่งเอกสารมาให้ทาง masii ครบถ้วน รวมทั้งชำระค่าเบี้ยประกันภัยโดรนครบถ้วน ภายใน 16:00 น. ก็สามารถรอรับ กรมธรรม์ประกันภัยโดรน ภายในวันนั้นได้เลย โดยทาง masii จะส่งให้ทาง E-mail และจะส่งกรมธรรม์ฉบับจริงให้คุณตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้ เพียงคลิกที่นี่ หรือใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำประกันภัยโดรน เพียงโทร. 02 710 3100 และ 0633231640 แอดไลน์ของมาสิ @masii เข้ามาสอบถามได้เลยค่ะ