สำหรับการตั้งกฎในการจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกนี้ ทางด้านสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ต้องการที่จะให้ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ไม่เกิดความประมาท และเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ให้ความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ในส่วนนี้จะส่งผลทำให้เสียเงินมากหรือน้อยนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาร่วมกัน ดังนี้
หลักเกณฑ์ในการเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนแรก ตามเงื่อนไขภายในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
สำหรับผู้เอาประกันภัย จะต้องรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุในแต่ละครั้ง โดยเฉพาะกรณีที่เป็นฝ่ายผิด ดังต่อไปนี้
- จำนวนเงิน 1000 บาทแรก ของความเสียหายที่เกิดขึ้น จากกรณีที่มีเหตุการณ์ชนกัน หรือรถยนต์พลิกคว่ำ แบบที่ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้
- จะต้องจ่ายตามจำนวนเงินในส่วนแรก ของความเสียหาย ตามที่ได้มีการระบุเอาไว้ภายในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
- จำนวนเงิน 6000 บาทแรก ของความเสียหายของรถยนต์คันที่เอาประกันภัย ซึ่งเกิดจากการชนหรือพลิกคว่ำ
- จำนวนเงิน 2000 บาทแรก ของความเสียหายของทรัพย์สินคู่กรณี สำหรับในกรณีที่ทำประกันภัยรถยนต์ แบบที่ได้มีการระบุชื่อผู้ขับขี่ และในขณะที่เกิดเหตุ ไม่ได้มีผู้ขับขี่ตามที่ระบุเอาไว้ภายในกรมธรรม์
- จำนวนเงิน 2000 บาทแรก ของความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยเฉพาะในกรณีที่มีการใช้รถยนต์ โดยเฉพาะในช่วงเวลาของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งนอกเหนือจากที่ได้มีการระบุเอาไว้ภายในกรมธรรม์
และนอกจากนี้ อาจจะมีการเก็บเงินเพิ่มเติมตามแต่กรณี ซึ่งเราทุกคนอาจจะต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า เราจะต้องเสียเงินส่วนแรกในรูปแบบไหนบ้าง ซึ่งการจ่ายเงินค่าเสียหายในส่วนแรก ถึงแม้ว่าเราจะได้ทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้อย่างถูกต้อง แต่รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับส่วนนี้ จะยังคงมีกำหนดเอาไว้ภายในกรมธรรม์ประกันภัย ทางที่ดีผู้ทำประกันภัยทุกคน ควรอ่านรายละเอียดต่าง ๆ ภายในกรมธรรม์ประกันภัยให้ถี่ถ้วนทุกครั้ง หากติดขัดหรือสงสัยในส่วนไหนเป็นพิเศษ สามารถสอบถามพนักงานหรือบริษัทประกันภัยได้ทันที เพื่อที่คุณจะไม่กังวลใจในภายหลัง และสามารถดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมั่นใจ โดยเฉพาะในส่วนที่ผู้ทำประกันภัย จะต้องเสียเงินไปในที่สุด