ใกล้เข้ามาทุกทีกับช่วงเวลาของการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเรียกได้ว่าในปีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่ดีขึ้นกว่าปีก่อน ๆ แต่ก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งปีที่มีความหนักหน่วงละเรื่องราวต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นมากมายเช่ยนเดียวกันในปีนี้ แต่ทั้งนี้ เมื่อพูดถึงกับช่วงเวลาแห่งการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ นอกจากงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง การชมดนตรี คอนเสิร์ต หรือร่วมเคาท์ดาวน์นับถ้อยหลังข้ามปีกันนั้น ยังมีอีกกิจกรรมหนึ่งที่เหล่าชาวพุทธหรือผู้ที่สนใจที่จะเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่มักจะมีการจัดขึ้นหรือมักที่จะนิยมทำกันนั้นก็คือ สวดมนต์ข้ามปี ซึ่งในปีนี้จะมีสถานที่ใดที่น่าสนใจได้จัดงานกันขึ้นมาบ้างวันนี้ มาสิ ได้รวบมาให้ทุกคนไว้ที่นี่แล้ว ว่าแล้วก็อย่ารอช้า หากใครยังไม่มีแพลน หรือยังไม่รู้ว่าส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นี้ยังไม่รู้จะไปที่ไหน ลองเอาสถานที่เหล่านี้ไปพิจาณาดูก็ได้ไม่เสียหาเช่น พร้อมแล้วไปกันเลย
สวดมนต์ข้ามปี
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ริเริ่มจัดกิจกรรมเคาท์ดาวน์ “สวดมนต์ข้ามปี” ในวัดเป็นครั้งแรก ภายใต้โครงการส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่ วิถีพุทธ เพื่อกระตุ้นให้คนเข้าวัดกันให้มากขึ้น ซึ่งจัดทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งส่วนกลางจัดที่วัดชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ นับเป็นการเริ่มต้นของการนำมิติทางศาสนาเข้ามาสู่กิจกรรมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นับถอยหลังหรือเคาท์ดาวน์ด้วยเสียงเจริญพระพุทธมนต์และสวดมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล เริ่มต้นชีวิตใหม่ พร้อมกันกับการต้อนรับปีใหม่ ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนทำให้กิจกรรม “สวดมนต์ข้ามปี” กลายเป็นกิจกรรมยอดนิยมของพุทธศาสนิกชนที่แพร่หลายไปทั่วประเทศ
ที่เป็นไฮไลต์สำคัญคือ “ความหมาย” ที่ซุกซ่อนอยู่ในมนต์ที่ใช้สวดกัน ซึ่งพบว่าใช้สวดหลายบทหลายมนต์ด้วยกัน แต่บทหนึ่งที่นิยมสวดกันมาก คือ “อุปปาตะสันติ” หรือ “มหาสันติงหลวง” โดยเฉพาะในวัดทางภาคเหนือจะนิยมมนต์บทดังกล่าวกันมากเป็นพิเศษหรือแม้แต่วัดทางภาคกลางหรือในกรุงเทพฯเองก็นิยมเช่นกัน
ปักหมุดสถานที่ “ สวดมนต์ข้ามปี 2566 ” ทั่วไทย
1.วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2566 ภายใต้ชื่องาน “ส่งท้ายปีเก่า เสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับศักราชใหม่ 2566” ระหว่างวันที่ 31 ธ.ค. 2565 ถึงวันที่ 1 ม.ค. 2566 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งสืบทอดพระพุทธศาสนาและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชน ลด ละ เลิก อบายมุข ในช่วงเทศกาลส่งท่ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจ วัดอรุณราชวราราม
………………………………………..
2.วัดเทพลีลา พระอารามหลวง กรุงเทพฯ
วัดเทพลีลา จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีในวันที่ 31 ธ.ค. 2565 ตั้งแต่เวลา 09.00-23.00 น. และขอเชิญร่วมทำบุญตักบาตรต้อนรับปีใหม่ในวันที่ 1 ม.ค. 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00-09.00 น. ติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ วัดเทพลีลา พระอารามหลวง
………………………………………..
3.วัดป่าพรหมยาน จังหวัดฉะเชิงเทรา
ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ที่วัดป่าพรหมยาน ฉะเชิงเทรา ก็มีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2566 ด้วยเช่นกัน โดยงานเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 30 ธ.ค. เพื่อปฐมนิเทศและฟังธรรม ในวันเสาร์ที่ 31 ธ.ค. จะเป็นการถวายสังฆทานและสวดมนต์ข้ามปี 2566 และวันที่ 1 ม.ค. 2566 จะเป็นการร่วมฟังธรรม โดยติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจ วัดป่าพรหมยาน ฉะเชิงเทรา
………………………………………..
4.วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
สำหรับใครที่ไปเที่ยวเชียงใหม่ช่วงสิ้นปีพอดี หรือเป็นชาวเชียงใหม่ ที่วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ก็จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2566 ในวันเสาร์ที่ 31 ธ.ค. 2565 เวลา 22.00 น. และร่วมกันทำบุญในวันอาทิตย์ที่ 1 ม.ค. 2566 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
………………………………………..
5.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2566 ภายใต้ชื่องาน “ลำพูน ลานบุญ ล้านนา ครั้งที่ 11” ในระหว่างวันเสาร์ที่ 31 ธ.ค. 2565 เวลา 19.30 น. จนถึงวันอาทิตย์ที่ 1 ม.ค. 2566 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
………………………………………..
สำหรับใครที่ไม่สะดวกเดินทางไปสวดมนต์ข้ามปี 2566 ตามสถานที่ต่างๆ ทางกรมการศาสนาได้จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีออนไลน์ 2566 ระหว่างวันที่ 31 ธ.ค. 2565 ถึงวันที่ 1 ม.ค. 2566 ผ่านทางเว็บไซต์ www.prayer2566.com โดยมีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดสัญญาณภาพเชื่อมโยงการจัดกิจกรรมนี้
นอกจากนี้ สำหรับใครที่ไม่สะดวกทั้งไปร่วมงานและรับชมผ่านช่องทางต่าง ๆ มาสิ ได้รวบรวมคาถาและบทสวดมนต์ที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการสวดมนต์ด้วยตนเองมาให้ไว้แล้ว จะบทสวดบทไหนบ้างนั้น ตาม มาสิ ดูกันเลย
คาถาบทสวดมนต์ข้ามปี 2566
บทที่ 1 คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อภิปูชะยามิ
………………………………………..
บทที่ 2 บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
………………………………………..
บทที่ 3 นมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3จบ)
………………………………………..
บทที่ 4 บทสวดไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
………………………………………..
บทที่ 5 บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
(ให้อานิสงส์ในทุกๆ เรื่อง)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (พุทธคุณ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ (อ่านว่า วิญญูฮีติ) (ธรรมคุณ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (สังฆคุณ)
………………………………………..
บทที่ 6 บทพุทธชัยมงคลคาถา
(มีชนะอุปสรรคทั้งปวง พบความสำเร็จในปีใหม่)
พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
นาฬาคิริง คะชะวะรังอะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง (อ่านว่า พรัมมัง) วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โยวาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะ เนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
(* หากสวดให้ผู้อื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า เม เป็น เต)
………………………………………..
บทที่ 7 บทมงคลสูตร
(ป้องกันอันตราย เพิ่มสิริมงคลรับปีใหม่)
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา
อะภิกกันตายะ รัตติยา อภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตะวา
เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตะวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตะวา
เอกะมันตัง อัฏฐาสิ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
พะหู เทวา มะนุสสา จะ มัคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติฯ
………………………………………..
บทที่ 8 บทโพชฌังคปริตร
(หายจากโรคภัย สุขภาพดีรับปีใหม่)
โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเต เต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตกา พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต สัพพะทาฯ
เอกัสะมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสะวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิตะวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ
เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญนะ ภะนาเปตะวานะ สาทะรัง
สัมโมทิตะวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทาฯ
ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ
………………………………………..
บทที่ 9 คาถาโพธิบาท
(ปกป้องภัยในทิศทั้ง 10 )
บูระพารัส๎มิง พระพุทธะคุณัง
บูระพารัส๎มิง พระธัมเมตัง
บูระพารัส๎มิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
หมายเหตุ เที่ยวต่อไปเปลี่ยนที่ตัวหนาเป็น.. อาคะเนยรัส๎มิง – ทักษิณรัส๎มิง – หรดีรัส๎มิง – ปัจจิมรัส๎มิง – พายัพรัส๎มิง – อุดรรัส๎มิง – อิสานรัส๎มิง – อากาสรัส๎มิง – ปะฐะวีรัส๎มิง นอกนั้นเหมือนกันหมด
………………………………………..
บทที่ 10 คาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ
(ขอสิ่งมงคลในจักรวาลทั้ง 8 ทิศมาเป็นกำแพงแก้วป้องกันภัย)
อิมัส๎มิง มงคลจักรวาฬ ทั้งแปดทิศ
ประสิทธิ จงมาเป็น กำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกัน
ห้อมล้อมรอบครอบ ทั่วอนัตตา ราชะเสมานาเขตเต สะมันตา
สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ พุทธะ ชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
หมายเหตุ เที่ยวต่อไปเปลี่ยนที่ตัวหนาเป็น.. ธัมมะ – ปัจเจกะพุทธะ – สังฆะ นอกนั้นเหมือนกันหมด
………………………………………..
บทที่ 11 ภะวะตุสัพ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง, รักขันตุ สัพพะเทวะตา, สัพพะพุทธานุภาเวนะ, สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ,
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง, รักขันตุ สัพพะเทวะตา, สัพพะธัมมานุภาเวนะ, สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ,
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง, รักขันตุ สัพพะเทวะตา, สัพพะสังฆานุภาเวนะ, สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
* สวดให้ตนเองเปลี่ยน เต เป็น เม
………………………………………..
บทกรวดน้ำแบบย่อ
อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโยฯ
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุขเถิด ขอเดชะตั้งจิต อุทิศผล บุญกุศลนี้แผ่ไปให้ไพศาล ถึงบิดามารดา ครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอทุกท่านได้กุศลผลนี้เทอญ ฯ
………………………………………..
บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
………………………………………..
คำแผ่เมตตาให้ผู้อื่น
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งสิ้นเถิด
………………………………………..
บทแผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา ปุญญะภาคิโน โหนตุฯ ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีส่วน และอนุโมทนาบุญ ร่วมกับข้าพเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายที่ท่านถึงทุกข์ขอให้พ้นจากความทุกข์ ที่ถึงสุขอยู่แล้ว ขอให้มีความสุขยิ่งๆขึ้นไป
ด้วยกุศลจริยา สัมมาปฏิบัติ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้วนี้ จงมารวมกันเป็นตะบะ เป็นเดชะ เป็นพลวะปัจจัย เป็นอุปนิสัยตามส่ง ให้ข้าพเจ้าเกิดสติปัญญาญาณ ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพานเทอญฯ
………………………………………..
ขอขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ และ ไทยร้ฐออนไลน์
และนี่ก็ถือได้ว่าเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้ชีวิตเราได้เป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าเราจะทำบุญหรือบูชาเทพเพื่อเรื่องใด ๆ ก็ทำได้เเค่เพียงความสบายใจเท่านั้น ซึ่งก็อาจจะแก้ปัญหาไม่ได้เร็ววันทันด่วนโดยเฉพาะเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ จะดีกว่าหรือไม่หากมีตัวช่วยที่ได้เงินด่วนทันใจอย่าง สินเชื่อส่วนบุคคล UOB i-Cash สมัครง่าย อนุมัติไว ได้เงินเร็ว เงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทก็สมัครได้ ซึ่งรายละเอียดเเละเงื่อนไขการสมัครจะมีอย่างไรบ้างนั้น ตามไปดูกัน
สินเชื่อส่วนบุคคล UOB i-Cash
อีกหนึ่งสินเชื่อน่าสนใจจากธนาคาร UOB สำหรับสินเชื่อ UOB i-Cash เป็นสินเชื่อเงินด่วนสมัครง่าย เพียงมีรายได้ประจำต่อเดือนมากกว่า 15,000 บาท ขึ้นไป ก็สามารถสมัครเพื่อรับเงินด่วนโอนเข้าบัญชีในจำนวนมากกว่า 5 เท่าของรายได้ประจำ แต่ไม่เกิน 1,500,000 บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก เลือกระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ได้ตั้งแต่ 12 – 60 เดือน ใช้เวลาในการอนุมัติไม่เกิน 3 วันหรือหากจำนวนเงินไม่มากและคุณเตรียมเอกสารครบถ้วน ประวัติการเงินดี ก็อาจได้รับเงินรวดเร็วกว่านั้นได้เช่นกัน ที่สำคัญ สินเชื่อ UB i-Cash มีสิ่งที่พิเศษกว่าสินเชื่อเงินด่วนจากที่อื่น ๆ คือคุณสามารถคืนเงินได้ภายใน 7 วันหลังจากที่ได้รับเงินสินเชื่อมาแล้ว โดยไม่มีการคิดดอกเบี้ยใด ๆ เหมาะสำหรับคนที่ยังไม่แน่ใจว่าต้องใช้เงินหรือเปล่า แต่กู้ออกมาสำรองไว้ เมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้ก็แค่คืนธนาคารไป ปลอดหนี้ สบายใจหายห่วง
คุณสมบัติผู้สมัคร สินเชื่อส่วนบุคคล UOB i-Cash
- เป็นบุคคลสัญชาติไทย
- อายุผู้สมัคร:20 – 60 ปี (รวมระยะเวลาผ่อน)
- พนักงานประจำ มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาทขึ้นไป และมีอายุงาน 1ปีขึ้นไป (ต้องผ่านการทดลองงาน) กรณีเปลี่ยนที่ทำงาน นับอายุงานต่อเนื่องได้ ในสายธุรกิจเดียวกัน
- เจ้าของกิจการ อาชีพอิสระ มีรายได้ต่อเดือน 20,000 บาทขึ้นไป และต้องดำเนินธุรกิจมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
สมัครสินเชื่อ UOB i-Cash
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สินเชื่อส่วนบุคคล
-
เปลี่ยน Party แบบเดิม ๆ ให้หมดไปกับ 5 บอร์ดเกม แก้เหงา เอาไว้เพิ่มความเมามันส์ ในวง Party
-
masii ชวนมู! วิธีการขอพร พระปิยะมหาราช องค์รัชกาลที่ 5 หรือ พระบรมรูปทรงม้า ที่ได้ผล
-
มาสิชวนส่อง! เปิดโผธุรกิจดาวรุ่งสุดปัง รับปี 2023…ธุรกิจการแพทย์และความงามยืนหนึ่ง
-
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#สินเชื่อ #ประกัน
#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล
#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์
#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii
#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison