ทำความรู้จักกฎหมาย “ครอบครองปรปักษ์” ต้องเป็นแบบไหน…ถึงครอบครองพื้นที่ได้

ครอบครองปรปักษ์
ทำความรู้จักกฎหมาย “ครอบครองปรปักษ์” ต้องเป็นแบบไหน...ถึงครอบครองพื้นที่ได้
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

จากกรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากับ กรณีที่มีคดีเพื่อนบ้านบุกยึดบ้านร้างที่เจ้าของซื้อทิ้งไว้ โดยอ้างว่าใช้สิทธิ์ ครอบครองปรปักษ์ นับได้ว่าเป็นเรื่องที่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้ และทำให้เราได้ตระหนักถึงและหันมาสนใจในส่วนของเรื่องทางกฎหมายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีที่ดินหลายพื้นที่หรือมีที่ดินที่ปล่อยว่างปล่อยร้างไว้ ว่าแต่เรื่องของการครอบครองปรปักษ์นั้นเป็นอย่างไร มีกฎหมายส่วนไหนที่เกี่ยวข้อง และหากเราต้องเป็นผู้ที่ต้องการหรือโดนครอบครองปรปักษ์ต้องทำอย่างไร วันนี้ มาสิ ได้รวบเอารายละเอียดส่วนนี้มาให้แล้ว ซึ่งตามหลักของกฎหมายนั้นจะเป็นอย่างไร ตาม มาสิ ไปดูกัน

ขอขอบคุณ : PPTVHD 36 และ สำนักงานศาลยุติธรรม 

สนใจสมัคร สินเชื่อบ้านแลกเงิน

ทำความรู้จักกฎหมาย “ ครอบครองปรปักษ์ ” ต้องเป็นแบบไหน…ถึงครอบครองพื้นที่ได้

ว่าด้วยเครื่องกฎหมาย “การ ครอบครองปรปักษ์”

การครอบครองปรปักษ์ ถูกระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ระบุว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”

หลักเกณฑ์ การ ครอบครองปรปักษ์ ตามกฎหมาย

  1. ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีการเข้าไปยึดถือใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของผู้อื่น จะเป็นใครก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ที่ดินของผู้ครอบครองปรปักษ์เอง
  2. ทรัพย์สินที่ครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ เช่น ถ้าเป็นที่ดินก็ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดเท่านั้น และหากที่ดินดังกล่าวทางราชการเพิ่งจะออกโฉนดที่ดิน ระยะเวลาที่ครอบครองก่อนที่ดินจะออกโฉนดจะไม่นำมานับรวมเพื่อได้สิทธิ์ ที่ดินมีการออกโฉนดเมื่อใดก็เริ่มนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไปจนครบ 10 ปีจึงจะได้กรรมสิทธิ์ ส่วนที่ดินมือเปล่า ได้แก่ ที่ดินตาม ส.ค.1 หรือ น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก. หรือไม่มีหลักฐานใดเลย จะมีได้เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น
  3. ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ คือครอบครองอยู่ได้โดยไม่ได้ถูกกำจัดให้ออกไป หรือถูกฟ้องร้องมีคดีความกัน หรือโต้เถียงกรรมสิทธิ์กัน
  4. ต้องเป็นการครอบครองโดยเปิดเผย คือ ไม่ได้มีการปิดบังอำพราง หรือซ่อนเร้นเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น สร้างฐานรากของโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น โดยมีเจตนาเพื่อซ่อนเร้นปกปิดการกระทำที่ไม่ชอบของตน
  5. ต้องเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ คือ การยึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นนั้น มิใช่เพียงแต่ยึดถือครอบครองเพื่อตนเองอย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น แต่จะต้องมีการยึดถือครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย เช่น ต้องมีการทำประโยชน์ใช้สอยทรัพย์สินนั้น  มีการขัดขวางห้ามบุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น
  6. ระยะเวลาในการได้กรรมสิทธิ์ ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ และโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์
  7. การใช้สิทธิแห่งตนบุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต การใช้สิทธิทางศาลจึงต้องมาด้วยมือที่สะอาด การแย่งการครอบครองที่มีเจตนาไม่สุจริต หรือโดยผิดศีลธรรมหรือผิดกฎหมาย ก็จะไม่ได้กรรมสิทธิ์ และไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

การดำเนินการการ ครอบครองปรปักษ์ ตามกฎหมาย

หลังจากที่เข้าองค์ประกอบตามมาตรา 1382 กำหนดแล้ว บุคคลที่อ้างการครอบครองปรปักษ์นั้น ต้องดำเนินการ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ พร้อมแสดงหลักฐาน

ทั้งนี้ ก่อนศาลจะพิจารณา ศาลจะมีหมายส่งไปยังเจ้าของที่ดิน ที่มีชื่อในกรรมสิทธิ์ก่อน เพื่อให้มาคัดค้าน และศาลจะมีคำสั่งให้ผู้กล่าวอ้างการครอบครองปรปักษ์ดำเนินการเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินพิพาท เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

กรณีไม่มีผู้คัดค้าน ศาลอาจจะมีคำสั่งให้บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้นั้นต้องนำคำสั่งศาลไปติดต่อกรมที่ดินเพื่อขอเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นได้

“เจ้าของที่ดิน” ดูแลอย่างไร ไม่ให้ที่ดินที่มีถูกครอบครองโดยปรปักษ์

  1. หมั่นไปดูที่ดินเป็ฯประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. ถามไถ่ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงว่ามีใครมาใช้ที่ดินของเราหรือไม่
  3. ตรวจหลักหมุดให้อยู่ที่เดิม/มีการเคลื่อนย้าย/ชำรุดหรือไม่
  4. ถ้าหลักหมุดหาย/ถูกย้าย ให้แจ้งความดำเนินคดี
  5. ควรรังวัดที่ดินอย่างน้อยทุก 5 ปี เพื่อตรวจสอบที่ดินว่าเพิ่มหรือลดลงหรือไม่
  6. ถ้าพบผู้อื่นเข้ามาครอบครอง/อยู๋อาศัย ควรให้ทำสัญญาเช่า/จะซื้อจะขาย/ขับไล่/โต้แย้งทันที
  7. ควรติดป้าย/ล้อมรั้วที่ดินไว้ เพื่อแสดงว่าที่ดินมีเจ้าของ และกำหนดเขตแดนที่แน่นอน
  8. สังเกตว่ามีรอยทางเดินผ่าน/ทางรถวิ่งผ่านประจำหรือไม่
  9. เสียภาษีตามกฎหมายกับกรมที่ดินหรือหน่วยงานราชการ

………………………………….

และนี่เพียงส่วนหนึ่งของความรู้ดี ๆ ที่ มาสิ ได้นำมาฝากกัน สำหรับใครที่มีพื้นที่หลายพื้นที่ หรือมีที่ปล่อยรกร้างไว้ก็อย่าลืมที่จะกลับไปดูแลให้ดีกัน ไม่เพียงแต่ความรู้ดี ๆ ที่ มาสิ ได้นำมาฝากกัน วันนี้ มาสิ ก็ได้หยิบ สินเชื่อบ้านแลกเงิน ตัวหนึ่งที่หน้าสนใจ มาแนะนำให้ผู้ที่สนใจได้นำไปเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการพิจารณา นั่นก็คือ สินเชื่อบ้านคือเงิน SCB My Home My Cash

สินเชื่อบ้าน คือ เงิน SCB My Home My Cash

สินเชื่อบ้าน คือ เงิน SCB My Home My Cash
สินเชื่อบ้าน คือ เงิน SCB My Home My Cash

สินเชื่อบ้าน คือ เงิน SCB My Home My Cash เหมาะกับผู้ที่มีบ้านเป็นของตนเอง จะต้องเป็นบ้านที่ปลอดภาระ ไม่ว่าจะเป็นบ้านพร้อมที่ดิน ที่ดินเปล่า หรือแม้แต่ Home-office อาคารพาณิชย์  ก็สามารสมัครได้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคอนโดที่หมดภาระแล้วด้วย สำหรับเงื่อนไขการผ่อน สินเชื่อบ้าน คือ เงิน SCB My Home My Cash สามารถผ่อนยาวได้นาน 30 ปี วงเงินที่สูงสุดมากถึง 20 ล้านบาท และฟรีค่าประเมินหลักประกัน (สำหรับที่ดินนั้น มีข้อจำกัดว่า ห้ามเป็นที่ดินที่ตาบอด หรือที่ดินที่ไม่มีทางเข้าออก)

เอกสารการสมัคร

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์
  • หนังสือแจ้งข้อมูลหลักประกัน
  • ภาพถ่ายหลักประกัน
  • เอกสารยืนยันรายได้ อาทิ สลิปเงินเดือนย้อนหลัง, หนังสือรับรองเงินเดือน และสลิปเงินเดือน

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • สัญชาติไทย
  • ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันทางการเงิน
  • อายุ 20-65 ปี
  • พนักงานประจำเงินเดือน ขั้นต่ำ 15,000 บาทขึ้นไป
  • สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน/ statement 6 เดือน

เงื่อนไขสำหรับ สินเชื่อบ้านคือเงิน SCB My Home My Cash

  • ผู้ที่มีบ้านเป็นของตนเอง
  • บ้านต้องปลอดภาระการผ่อนบ้าน
  • เป็นที่ดินเปล่า ,บ้านพร้อมที่ดิน ,Home office ,อาคารพาณิชย์
  • สำหรับที่ดินนั้น มีข้อจำกัดว่า ห้ามเป็นที่ดินที่ตาบอด ไม่มีทางเข้าออก

สนใจสมัคร สินเชื่อบ้านแลกเงิน

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สินเชื่อบ้านแลกเงิน

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison