การมีบ้านสักหลัง ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในความฝันที่ใครหลายคนตั้งเป้าเอาไว้ ไม่ว่าจะหลังเล็กหลังใหญ่เพียงแค่ได้มาอยู่ในการครอบครองได้เป็นเจ้าของก็ทำให้มีความสุขได้มากแล้ว แต่ทั้งนี้ การเลือก ซื้อบ้าน ทั้งทีจะต้องมีเรื่องค่าใช้จ่ายใดในที่เราต้องเตรียมการกันบ้าง วันนี้เรามาอัพเดทกันดีกว่า ในปี 2566 นี้ ต้องเตรียมค่าใช้จ่าย อะไรบ้าง ภาครัฐฯมีมาตรการกระตุ้นด้านอสังหาฯอะไรหรือไม่อย่างไร พร้อมแล้วไปอัพเดทกัน
ก่อน ซื้อบ้าน ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
สำหรับผู้ที่กำลังจะซื้อบ้าน เริ่มแรก ไม่เพียงแค่รูปแบบบ้าน ทำเลที่ตั้ง ความชอบ และเรื่องของราคาเท่านั้นที่เราต้องคำนึงถึง เพราะการจะมีบ้านสักหลัง ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย ก่อนซื้อบ้าน และค่าผ่อนในระยะยาว หากสถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อแล้วด้วย
ทั้งนี้ สำหรับ มาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปี 2565 ผ่านพ้นไปแล้ว และเริ่มต้นใหม่สำหรับ มาตรการที่รัฐบาลมอบของขวัญปีใหม่ ปี 2566 คนซื้อบ้านต้องเตรียมค่าใช้จ่ายให้พร้อม ประกอบกับราคาบ้านอาจเพิ่มขึ้นจากทุนต้นโดยเฉพาะบ้านใหม่ แต่สำหรับ บ้านมือสองถือเป็นอีกทางเลือกที่ดี นอกจากราคาถูกกว่าบ้านใหม่แล้ว ยังสามารถมองเห็นทำเลที่ตั้งและองค์ประกอบของตัวบ้านได้ก่อน
รวมค่าใช้จ่ายสำหรับการ ซื้อบ้าน
• เงินวางดาวน์
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน ต้องเตรียมเงิน เผื่อวางเงินดาวน์ 10-20% สำหรับบ้านหลังที่สองหลังที่สามราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท และบ้านราคาเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป หลังมาตรการผ่อนผัน LTV ตามนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สิ้นสุด เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา /บ้านหลังแรกกู้ได้100%
• ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์
ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ตามปกติแล้วมักจะเป็นการตกลงที่จะร่วมกันแบ่งจ่ายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการซื้อขายแต่ละครั้ง โดยค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ ตามอัตราปกติ จะคิดอยู่ที่อัตรา 2% ของราคาประเมินที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้าง เช่น หากซื้อบ้านราคา 1,000,000 บาทต่อหน่วย ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ เท่ากับ 1,000,000 x 2% เป็นเงิน 20,000 บาท เป็นต้น
ทั้งนี้ สำหรับมาตรการใหม่ รัฐบาลลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน ฯ 1% ซึ่งเพิ่มขึ้น 100เท่าเมื่อเทียบกับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์รอบที่ผ่านมา ค่าโอนอยู่ที่ 0.01% เช่น บ้านราคาไม่เกิน 3,000,000 บาทเท่ากับ บ้านราคา1,000,000 บาท ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนฯ 10,000 บาท เป็นต้น
• ค่าจดจำนอง
ค่าจดจำนองเป็นอีก หนึ่งค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายสำหรับผู้ซื้อบ้าน ด้วยวิธีการกู้ขอสินเชื่อ ซึ่งเกือบ 100% มักใช้วิธีกู้สินเชื่อแทบทั้งสิ้น จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยค่าจดจำจองตามอัตราปกติ จะคิดอยู่ที่อัตรา 1% ของยอดเงินกู้ทั้งหมด แต่คิดสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น บ้านราคาหลังละ 1,000,000 บาท กู้ได้ยอดเต็มจำนวนจะต้องเสียค่าจดจำนอง เท่ากับ 1,000,000 x 1% เป็นเงิน 10,000 บาท สำหรับการซื้อบ้านใน ปี 2566 หากซื้อบ้าน ราคา1,000,000บาท ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ที่ 10,100 บาท แต่ทั้งนี้ ต้องรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่หากรัฐไม่ลดหย่อนให้ สองส่วนนี้จะมีค่าใช้จ่าย รวม30,000บาท
• ค่าประเมินราคาห้องชุด (คอนโดฯ)
หากเป็นการขอสินเชื่อกับทางธนาคารเพื่อซื้อคอนโด จะมีค่าประเมินราคาห้องชุดที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคาร ซึ่งราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 3,000 บาท ต่อการประเมิน ซึ่งหากเรายื่นกู้ธนาคารหลาย ๆ แห่งพร้อมกัน ก็จะต้องเสียค่าประเมินราคาคอนโดหลายครั้งนั่นเอง อย่างไรก็ตามแต่ละธนาคารจะคิดค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน โดยเฉพาะธนาคารของรัฐอาจจะคิดในราคาที่ถูกกว่าธนาคารพาณิชย์
• ค่าประกันสินเชื่อและประกันวินาศภัย
ปกติแล้วในการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับทางธนาคาร ลูกค้าจะต้องทำประกันสินเชื่อ หรือประกันชีวิตด้วย ซึ่งเผื่อหากผู้ขอกู้เสียชีวิตไป จะได้มีเงินจากบริษัทประกันมาผ่อนชำระต่อแทน นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีประกันวินาศภัย ที่ครอบคลุมภัยที่อาจเกิดขึ้นกับบ้านได้ เพื่อให้หากเกิดเหตุธนาคารจะได้รับการเยียวยาจากบริษัทประกัน
ค่าใช้จ่ายของประกันทั้ง 2 ชนิดเมื่อต้องซื้อบ้านแนวราบหรือคอนโดมิเนียมนี้ จะแตกต่างไปตามสิทธิประโยชน์ที่เลือก
• ค่าตกแต่งที่อยู่อาศัย
จริงอยู่ที่ปัจจุบันมีบ้านและคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ให้ซื้อได้เลย แต่คำว่าพร้อมอยู่ อาจต้องแลกมาด้วยราคาที่สู้ไม่ไหว หรือไม่ก็ไม่ได้มีการตกแต่ง รวมเฟอร์นิเจอร์ที่ครบครัน ส่วนใหญ่ของคนที่ซื้อบ้านซื้อคอนโดมิเนียม มักมีค่าใช้จ่ายสำหรับการตกแต่ง ต่อเติม หรือเพิ่มเฟอร์นิเจอร์เข้าไปด้วยเสมอเพื่อให้อยู่ได้อย่างสะดวกสบายในแบบที่ใจต้องการในทางกลับกัน หลายโครงการอาจมีโปรโมชั่นแจกแถมเฟอร์นิเจอร์ให้ อาจตัดภาระเงินก้อนนี้ไป
• ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
แม้ ปี2566 กระทรวงการคลังจะลดภาษีที่ดินลง 15% แต่เมื่อพิจารณาจากราคาประเมินที่ดินใหม่ที่เพิ่มขึ้น หรือไม่เปลี่ยนแปลง อาจจะ อยู่ในระดับราคาที่เพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิม แต่จะมีค่าใช้จ่ายตัวนี้เพิ่มเข้ามาหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ว่าเป็นบ้านหลังแรกหรือบ้านหลังที่สองมูลค่ามากน้อยแค่ไหนตามราคาประเมินที่ดิน ปี 2566-2569 ของกรมธนารักษ์
ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อความปลอดภัยไม่แบกภาระหนักเหนื่อยจนเกินไป ใครที่อยากซื้อบ้าน ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ให้เพียงพอ รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อผ่อนในระยะยาวด้วย
ขอขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ
และอย่างเคย ๆ กัน ไม่เพียงสาระดี ๆ ที่ มาสิ ได้หยิบยกมาฝากกันเท่านั้น ทั้งนี้ แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องเงินไม่พอใช้ รายได้ไม่พอกิน หนิ้สินต้องชำระ หรืออยากที่จะได้เงินไปต่อยอดในธุรกิจ บางทีธรรมชาติอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์เราเสมอไป วันนี้ มาสิ จึงมาแนะนำให้กับ สินเชื่อซื้อบ้านใหม่ จากธนาคารไทยพณิชย์ ที่สมัครง่าย อนุมัติไว ได้เงินเร็ว ซึ่งรายละเอียดเเละเงื่อนไขการสมัครจะมีอย่างไรบ้างนั้น ตามไปดูกัน
สินเชื่อซื้อบ้านใหม่ SCB
รายละเอียดสินเชื่อบ้าน
หากคุณฝันอยากมีบ้าน ความฝันของคุณเป็นจริงได้ไม่ยาก ธนาคารไทยพาณิชย์พร้อมให้คำปรึกษา และมอบสิทธิประโยชน์สูงสุดให้คุณ เพื่อให้คุณและครอบครัวมีความสุขในบ้านที่อบอุ่น ด้วยวงเงินกู้สูงสุด 100%* ของราคาประเมินหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยสุดพิเศษทั้งแบบคงที่ และแบบลอยตัว
* เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
- เลือกได้ตามใจคุณ
- ผ่อนสบาย
- อนุมัติรวดเร็ว
- บริการอย่างมืออาชีพ
- อัตราดอกเบี้ย
ค่าสำรวจและประเมินราคาหลักประกัน
- กรณีเป็นโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุน 500 บาท (ไม่รวม VAT)
- กรณีบ้านเดี่ยว 5,000 บาท ต่อหลัง (ไม่รวม VAT)
- กรณีทาวน์เฮ้าส์, บ้านแฝด และห้องชุด 3,450 บาท ต่อยูนิต (ไม่รวม VAT)
- สำหรับการปลูกสร้างบ้าน กรณีที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ ประมาณ 4,550 บาท (ไม่รวม VAT) และค่าตรวจงวดงานก่อสร้าง 1,100 บาทต่อครั้ง (ไม่รวม VAT)
- ค่าใช้จ่ายอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศของธนาคาร
คุณสมบัติและเอกสารการสมัคร
- สัญชาติไทย
- ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
- อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ ไม่เกิน 65 ปี
เอกสารประกอบการสมัคร
เอกสารยืนยันตัวตน
– สำเนาบัตรประชาชนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ หรือ สำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีเลขที่ประจำตัวประชาชน และ รูปถ่ายบนหน้าบัตร หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง (ใช้สำหรับคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ) พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
– สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
เอกสารหลักประกัน
– สำเนาสัญญาซื้อขาย
เอกสารยืนยันรายได้
- ผู้มีรายได้ประจำ
– หนังสือรับรองเงินเดือน และสลิปเงินเดือน
– เอกสารการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
- ผู้มีธุรกิจส่วนตัว
– เอกสารการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน (บัญชีส่วนตัว, บัญชีกิจการ)
– ภาพถ่ายกิจการ 4-5 ภาพ และแผนที่ตั้งกิจการโดยสังเขป
– สำเนาทะเบียนการค้า, หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
– หลักฐานการนำภาษีย้อนหลัง 1 ปี (ภงด.) บันทึกรายรับ-รายจ่าย, ใบเสร็จซื้อ-ใบเสร็จขายสินค้า
- ผู้มีอาชีพอิสระ
– เอกสารการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
– ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (แพทย์, วิศวกร, ทนายความ, สถาปนิก)
สนใจมัคร สินเชื่อซื้อบ้านใหม่ จาก SCB
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สินเชื่อบ้าน
-
ประกันสังคม I ผู้ประกันตนมาตรา 33 เฮ! ธอส. ปล่อย สินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ 1.99 %
-
Masii ชวนรู้ ก่อนสมัครสินเชื่อ ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก กับ ดอกเบี้ยคงที่ แตกต่างกันอย่างไร
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#สินเชื่อ #ประกัน
#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล
#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์
#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii
#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison