สำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ สิ่งหนึ่งที่สำคัญและปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นส่วนหลัก ๆ ที่ต้องคำนึงถึงทุกครั้งขณะใช้งานนั้นก็เรื่องของความปลอดภัยในขณะขับขี่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยเนื่องมาจากความพร้อมในการเตรียมตัวก่อนขับรถ ความปลอดภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ขณะขับรถ หรือแม้แต่ความปลอดภัยหลังจากการใช้งานรถยนต์ของเราแล้วก็ตาม แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวรถขึ้นมา ไม่ว่าจะปัญหาเล็กอย่าง ยางรั่ว หรือแบตหมด ไปจนถึงปัญหาใหญ่จากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ เรื่องของสถานที่ในการซ่อมบำรุงจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้ขับขี่ทุกคนควรศึกษา ทั้งนี้ อย่างที่ผ็ใช้งานหลายคนทราบรูปแบบในการซ่อมบำรุงรักษา เจ้าของรถสามารถเลือกที่จะเข้ารับบริการการซ่อมแซ่มได้ 2 รูปแบบ คือ การซ่อมที่ศูนย์บริการรถยนต์ หรือซ่อมห้าง กับการซ่อมตามอู่ซ่อมรถทั่วไป ซึ่งก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป วันนี้ มาสิ จึงได้รวบรวมข้อมูลมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพกันแล้วกับความแต่กต่างระหว่างซ่อมอู่กับซ่อมห้าง เมื่อเกิดเหตุความเสียหายขึ้นมาเราควรเลือกอย่างไรดีกว่ากัน พร้อมกันนี้ก่อนจากกัน ในส่วนท้ายนี้ มาสิ ก็ได้มาพร้อมกับการแนะนำ ประกันรถยนต์ ชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองครบทั้งค่ารักษาพยาบาล ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และค่าซ่อมรถ ทุนประกันสูงสุดถึง 400,00 บาท แต่เบี้ยประกันแสนถูกเริ่มต้นเพียง 8,500 บาท เท่านั้น ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นไปติดตามกัน
มาสิ แนะนำให้ ซ่อมอู่ กับ ซ่อมห้าง ต่างกันอย่างไร ควรเลือกแบบไหนดี…พร้อมแนะนำ ประกันรถยนต์ ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้นเพียง 8,500 บาท คุ้มครองความเสียหายสูงสุด 400,000 บาท
คำว่า “ซ่อม” ในแง่ของประกัน
สำหรับการซ่อมของการประกันภัย บริษัทประกันจะรับผิดชอบการซ่อม อันเนื่องมาจากมีเหตุเสียหายซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุก่อนเท่านั้น ส่วนในการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทั่วไปศูนย์ให้บริการทั่วไปจะให้บริการในส่วนนี้อยู่ โดยปกติแล้ว ทางศูนย์บริการทั่วไปจะให้บริการด้วยกันหลายอย่าง เช่น การตรวจเช็คระยะไมล์ตามที่กำหนด การเปลี่ยนอะไหล่บางอย่างเช่น การเปลี่ยนผ้าเบรก โช็คอัพ ฯลฯ ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการใช้งานหรือความเสื่อมสภาพของอายุรถ โดยหากยังอยู่ในช่วงของการรับประกันก็จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ หรือหากไม่อยู่ในช่วงระยะยเวล่รับประกันเจ้าของรถก็จะต้องจ่ายเงินด้วยตนเอง
แต่หากลูกค้าได้รับใบเคลมจากบริษัทประกันก็สามารถเข้ารับการซ่อมได้ แต่รถจะต้องประกันซึ่งเป็นแบบเบี้ยซ่อมห้าง จึงจะสามารถเข้าซ่อมศูนย์บริการรถยนต์ได้ และการซ่อมใหญ่ก็จะต้องเป็นการซ่อมในส่วนของตัวถัง ซ่อมสีหรือการซ่อมเครื่องยนต์กรณีที่มีการชนมาอย่างหนัก อีกทั้งยังไม่ใช่กับทุกโชว์รูมที่จะสามารถซ่อมความเสียหายเหล่านี้ได้ เพราะส่วนใหญ่จะต้องเป็นศูนย์ใหญ่ๆ เท่านั้น
ซ่อมอู่ กับซ่อมห้าง ต่างกันอย่างไร?
ซ่อมห้าง
ซ่อมห้าง หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “ซ่อมศูนย์” คือการนำรถเข้าซ่อมกับศูนย์บริการรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ สาเหตุที่เรียกว่า “ซ่อมห้าง” เพราะคำดังกล่าวย่อมาจากคำว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” โดยศูนย์บริการรถยนต์ทั่วไปมักจดทะเบียนในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงเรียกกันโดยย่อสั้นๆ ว่า “ซ่อมห้าง” ในขณะที่อู่รถยนต์จะจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล
ข้อดีจากการซ่อมห้าง
- หากเป็นรถรุ่นใหม่ การซ่อมห้างจะมีอะไหล่ใหม่ๆ รองรับมากกว่า ขณะที่การนำรถเข้าซ่อมอู่อาจหาอะไหล่ไม่ได้หรือหาได้ยาก นอกจากต้องสั่งซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการซ่อมยาวนานขึ้น
- อะไหล่มักเป็นของแท้ เจ้าของรถจึงค่อนข้างอุ่นใจ และมั่นใจในสินค้าคุณภาพที่ได้รับ เพราะอะไหล่จะต้องสั่งตรงจากโรงงานรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ โดยตรง
- หากรถมีปัญหาเฉพาะภายในเครื่องยนต์ การซ่อมห้างจะค่อนข้างเชื่อใจได้ค่อนข้างมาก เพราะจะมีช่างผู้เชี่ยวชาญประจำการอยู่ งานที่ออกมามักได้มาตรฐาน
ข้อเสียจากการซ่อมห้าง
- ราคาแพงกว่าการซ่อมอู่ และหากต้องการเลือกซ่อมอู่ เมื่อเอาเข้าจริงแล้ว หากต้องการซ่อมห้างจะต้องจ่ายค่าเสียส่วนต่างเพิ่มขึ้น
- ใช้ระยะเวลาในการรอคิวค่อนข้างนาน และการซ่อมก็ยังใช้เวลานาน
- บางจังหวัดหรือบางสถานที่จะไม่มีศูนย์บริหาร ซึ่งอาจมีปัญหาที่ลูกค้าจะเข้าถึงได้ยาก
ซ่อมอู่
การซ่อมอู่จะแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ อู่นอกเครือบริษัทประกันรถ โดยอาจเป็นอู่ใกล้บ้านที่รู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว และอู่ในเครือของบริษัทประกันรถ ซึ่งเป็นอู่ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากบริษัทประกันแล้วเป็นอย่างดี สำหรับความแตกต่างระหว่างอู่ซ่อมในเครือฯ กับอู่ซ่อมนอกเครือคือ การสำรองเงินจ่ายเมื่อนำรถเข้าไปซ่อม หากนำรถเข้าซ่อมที่อู่นอกเครือฯ ลูกค้าจะต้องสำรองจ่ายไปเองก่อน จากนั้นจึงสามารถนำใบเสร็จไปเคลมกับทางบริษัทประกันภายหลัง ขณะที่การนำรถเข้าซ่อมกับอู่ในเครือฯ ลูกค้าไม่จำเป็นต้องสำรองเงินจ่ายในส่วนดังกล่าว การซ่อมอู่ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- อู่ซ่อมในเครือบริษัทประกัน คืออู่ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากบริษัทประกันที่ลูกค้าทำไว้ เมื่อนำรถไปซ่อมหรือไปเคลมก็สามารถนำรถเข้าซ่อมได้เลย และเมื่อซ่อมเสร็จแล้วก็สามารถนำรถออกมาได้เลยทันที โดยที่ไม่จำเป็นต้องสำรองเงินจ่ายเองก่อนหรือเสียเงินใดๆ เพิ่มเติม (กรณีที่ไม่ได้ซ่อมในส่วนนอกเหนือจากที่ได้ตกลงกับบริษัทประกันไว้)
- อู่นอกเครือบริษัทประกัน คืออู่ที่ไม่ได้อยู่ในส่วนของการรับรองจากบริษัทประกันที่ลูกค้าทำไว้ โดยอาจจะเป็นอู่ซ่อมรถใกล้บ้านหรืออู่ที่ลูกค้ารู้จักคุ้นเคยกัน หรือเป็นอู่ที่ได้รับคำแนะนำว่าซ่อมดี รวดเร็ว ฯลฯ ซึ่งอู่ลักษณะนี้ ลูกค้าจะต้องสำรองเงินจ่ายไปเองก่อน จากนั้นจึงนำเอาใบเสร็จไปเบิกกับทางบริษัทประกันรถในภายหลังต่อไป
ข้อดีจากการซ่อมอู่
- โดยส่วนใหญ่แล้ว หลายคนมักเลือกใช้บริการซ่อมอู่ใกล้บ้าน เพราะรู้จักกันหรือจากการแนะนำของคนรู้จัก จึงค่อนข้างคุยง่าย หาง่ายและให้บริการดี
- เบี้ยประกันรถยนต์จะราคาถูกกว่าการซ่อมศูนย์อย่างมาก
- มีตัวเลือกให้ลูกค้าได้เลือกเยอะ
- ไม่ต้องเสียเวลารอนานเหมือนการนำรถซ่อมห้าง เพราะการซ่อมอู่บางครั้งรอเพียง 1-2 วันก็ได้ใช้รถแล้ว
ข้อเสียจากการซ่อมอู่
- กรณีซ่อมรถเสร็จแล้วเกิดปัญหา ซ่อมอู่อาจจะไม่รับผิดชอบเพื่อแก้ไขให้
- มีความเสี่ยงถูกโกงในเรื่องอะไหล่ การนำของปลอมมาใช้ ใช้ของถูก คุณภาพต่ำ
- หากเลือกร้านซ่อมดีซึ่งมีคนแนะนำมาก็อาจได้งานเนี้ยบ แต่หากเลือกร้านไม่ดี งานซ่อมออกมาก็อาจจะไม่ดีเช่นกัน
ซ่อมอู่หรือซ่อมห้าง ควรเลือกแบบไหนดี?
สำหรับการพิจารณาเลือกระหว่างซ่อมอู่หรือซ่อมห้างนั้น ควรพิจารณาเลือกไปตามคุณสมบัติ ความน่าเชื่อถือและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงไลฟ์สไตล์ของการใช้รถของเรา ตลอดจนความสะดวกในการเดินทางไปยังศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมนั้นๆ เพราะอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าซ่อมห้างหรือซ่อมอู่ต่างล้วนก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป และแม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่จะให้ความนิยมในการซ่อมห้าง เพราะเชื่อว่าเป็นทางเลือกในการนำรถเข้าซ่อมที่ดีกว่าก็ตาม
ขอขอบคุณ : ไทยเจริญเทค
และนี่ก็เป็นเพียงอีกหนึ่งสาระดีๆ มาสิ ได้เอามาอัพเดทให้ทุกคนไปเตรียมพร้อมกัน นอกจากนี้ ความอันตรายบนท้องถนนที่มีมากจนติดอันดับโลกแล้วนั้น ด้วยยุคนี้สมัยนี้สภาพอากาศฤดูกาลแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรื่องของการดูแลรักษาเตรียมความพร้อมรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นให้กับรถเราเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นแล้ว เราควรเสริมความคุ้มครองด้วย ประกันรถยนต์ เพราะจะได้ความคุ้มครองครบ แถมอุ่นใจได้ทุกครั้งเมื่อเกิดปัญหา วันนี้ มาสิ จะเอาประกันรถยนต์ไหนมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกันบ้างนั้นไปดูกัน
ประกันรถยนต์ ชั้น 1 Super Save Mini
เก๋ง กระบะ ราคาเดียว 8,500 บาท/ปี
ประกันรถยนต์ ชั้น 1 จากเทเวศ ประกันภัย ทุนประกันสูงสุด 400,000 บาท รับอายุรถสูงสุด 20 ปี เก๋ง/กระบะ ราคาเดียวกัน เบี้ยเริ่มต้นเพียง 8,500 บาท ฟรี! บริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉิน Roadside Service* ซึ่งรายละเอียดความคุ้มครอง มีดังนี้
ความคุ้มครอง | ประเภท 1 |
1.ความรับผิดชอบต่อบคคลภายนอก | |
1.1.ความรับผิดชอบต่อความบาดเจ็บ/เสียชีวิตของบุคคลภายนอก | 500,000 |
ของบุคคลภายนอก | 10,000,000 |
1.2.ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก – รถกระบะ 4 ประตู รหัส 110 | 2,500,000 |
1.2. ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก – รถกระบะ รหัส 320 | 1,000,000 |
2. ความรับผิดชอบต่อรถประกัน | |
2.1 ความเสียหายต่อตัวรถยนต์ที่เอาประกัน | ตามทุนประกัน |
2.2 กรณีรถยนต์สูญหาย/ไฟไหม้ | ตามทุนประกัน |
ความดัมดรองตามเอกสารแนบท้าย | |
1.ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล | 100,000 |
2.ค่ารักษาพยาบาล | 100,000 |
3.การประกันตัวผู้ขับ | 300,000 |
จำนวนที่นั่งที่คุ้มดรอง (ผู้ชับขี่รวมผุโดยสาร) รถกระบะ 4 ประตุ รหัส 110 | 7 ที่นั่ง |
จำนวนที่นั่งที่คุ้มดรอง (ผู้ชับขี่รามผู้โดยสาร) รถกระบะ รหัส 320 | 3 ที่นั่ง |
ตารางแสดงเบี้ยประกันเริ่มต้น
ประเภทรถ | อายุรถ 2-7 ปี | อายุรถ 8-15 ปี | อายุรถ 16-20 ปี | |||
ทุนประกัน | เบี้ยประกัน | ทุนประกัน | เบี้ยประกัน | ทุนประกัน | เบี้ยประกัน | |
100,000 | 8,5000 | 100,000 | 8,500 | 100,000 | 9,000 | |
– กระบะตอนเดียว/ตอนครึ่ง | 200,000 | 9,000 | 150,000 | 9,000 | 150,000 | 9,500 |
– กระบะจดเก๋ง ( 4 ประตู ) | 250,000 | 10,000 | 200,000 | 10,000 | 200,000 | 10,5000 |
– รถเก่งกลุ่ม 3-5 | 300,000 | 11,000 | 250,000 | 11,000 | 250,000 | 11,500 |
400,000 | 12,000 | 400,000 | 12,000 | 400,000 | 12,500 |
เงื่อนไขพิเศษ
- เรียกเก็บด่าเสียหายส่วนแรก 3,000 บาท เมื่อ
– กรณีกิดอุบัติหตุแล้วไม่สมารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีกฝ่ายหนึ่งได้
– กรณีเกิดจากการชนหรือการคว่ำ จากอุบัติเหตุที่ไม่เกิดจากการชนกับยานพาหนะทางบก
- จะไม่เรียกเก็บค่าเสียหายส่วนแรก 3,000 บาทนี้ หากอุบัติเหตุนั้นเกิดจากการชนกับย านพาหนะทางบก ทั้งที่เป็นฝ่ายถูกหรือผิด
เงื่อนไขการรับประกันภัยเพิ่มเติม
- ทุนประกันสูงสุดต้องไม่เกิน 80% ของราคารถ ณ วันที่ทำประกัน
- อัตราเบี้ยนี้สำหรับรถกระบะจดเก๋ง และกระบะบรทุก(ไม่เกิน 4 ตัน) ทุกยี่ห้อ แต่ไม่รวม แบบต่อเติมกระบะท้ายและท้ายกระบะต่อเติมโครงเหล็ก คอก หลังคา คู่แห้ง เป็นต้น
**สงวนสิทธิ์ไม่รับรถยนด์รับจ้าง รถให้เ เข่า รถแต่ง รกลัดแปลง รถขนส่ง หรือรับขนส่งสินค้าที่มีความเสี่ยงภัย สูงเข่น เชื้อเพลิง กรด แก๊ส เป็นต้น
- การคุ้มครองอุปกรณ์ตกแต่งเพิ่มเติม (ไม่คุ้มครองสติ๊กเกอร์ และ อุปกรณ์ตกแต่งพิเศษ เช่น เคฟลาร์(cafla), ตู้ติดเครื่อง
ทำความเย็น เป็นดัน)
- เบี้ยประกันที่กำหนด รวมถึงอุปกรณ์ตกแต่ง และติดตั้งแก๊สไม่เกิน 1 ถัง ในวงเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000.- บาท
ณ วันที่แจ้งทำประกันภัย
- ฝ่ายรับประกันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาปรับเปลี่ยนเบี้ยประกันและกำหนตระยะเวลาการใช้ Campaign ตามความเหมาะสม
- เบี้ยประกันภัยนี้ ได้มีการคำนวณส่วนลดกล้อง CCTV ไว้เรียบร้อยแล้ว
สนใจสมัครประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันภัยรถยนต์
- ว่าด้วยเรื่อง จอดรถในที่ห้ามจอด แล้วถูกชน ใครเป็นฝ่ายถูก-ฝ่ายผิด ใครต้องรับผิดชอบ
- masii facts I 10 เรื่องจริงเกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ที่คุณควรรู้!
- ขับขี่ปลอดภัย หน้าร้อน นี้ต้องขับรถยนต์อย่างไรปลอดภัยหายห่วง
- ประกันภัยรถยนต์ชั้นไหน ที่คนขับรถทุกวันควรทำ
- ประกันภัยรถยนต์ตัวไหน ที่เหมาะสำหรับ เดือนเมษายน
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#สินเชื่อ #ประกัน#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล
#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์
#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii
#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison