ทำงานหนัก ใครว่าไม่ตาย หากไม่ดูแลร่างกาย อันตรายเสี่ยงเสียชีวิต ก่อนงานเสร็จได้

ทำงานหนัก
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก เมื่อข่าวการเสียชีวิตคาโต๊ะทำงานของพนักงานออฟฟิศหนุ่มของสำนักข่าวชื่อดังที่ได้เปิดเผยออกมา ซึ่งถือได้ว่าสร้างแรงกระเพื่อมและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความสมดุลระหว่างเรื่องของสุขภาพ กับการทำงานเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เมื่อข่าวได้เปิดเผยออกมาก้ได้สร้างทั้งความสงสัย และคำวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมากว่า เพราะเหตุใดคนเราจึงสามารถที่จะทำงานหนักจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ว่าแล้วก็มาดูกันดีกว่า สาเหตุจริง ๆ แล้วของเหตุการณืนี้คืออะไร แล้วเราจะต้องทำอย่างไรหากเราไม่อยากที่จะ ทำงานหนัก จนเสี่ยงตายอย่างนี้ได้บ้าง

ทำงานหนัก

คนเบื้องหลังช่องทีวี ทำงานหนัก จนฟุบเสียชีวิต

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจ จอดับ โพสต์เรื่องราวการเสียชีวิตของผู้ที่ทำงานเบื้องหลังในสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง โดยระบุว่า “ใครว่าทำงานจนตายไม่มีจริง มันเพิ่งเกิดขึ้นกับหนุ่มใหญ่ในวงการทีวี อยู่มาตั้งแต่สมัยยังเป็นเคเบิ้ลทีวี ในฐานะฝ่ายจัดทำผังรายการ พอมาถึงยุคดิจิทัล โดนสั่งให้ทำผังรายการคนเดียวควบถึง 2 ช่อง ไม่เคยมีการหาคนมาช่วยกันแบ่งเบา

ทำงานหนัก

ในแต่ละวัน เขาต้องทำงานเกินเวลา และแต่ละสัปดาห์ก็ทำงานเกิน 5 วัน บางสัปดาห์ซัดไป 7 วันรวด พอนานไปร่างกายก็เริ่มแย่ มีอาการป่วย พอลาหยุด ลาป่วย ไปได้แค่วันสองวัน ก็โดนโทรจิกตามให้รีบกลับมาทำผังรายการ นี่มันสถานีโทรทัศน์หรือโรงงานนรกกันแน่ เป็นใครเจอแบบนี้ ก็เสื่อมโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ”

ทำงานหนัก

โพสต์ดังกล่าว ยังระบุเพิ่มเติมว่า “สุดท้าย เขาก็ตายในหน้าที่บนโต๊ะทำงาน ร่างกายและจิตใจของเขาแบกรับภาระต่อไปไม่ไหวแล้ว เขาฟุบลงกับโต๊ะอย่างเงียบๆ คว่ำหน้าลงกับงานที่เขาแบกรับจนเกินกำลัง มันอ่อนล้าเกินกว่าที่ร่างกายมนุษย์คนนึงจะทนต่อไปได้ คนผ่านมาเห็นก็นึกว่าเขาแค่ฟุบหลับ จึงไม่ได้ปลุก ปล่อยอยู่เช่นนั้น จนข้ามคืน แม่บ้านมาเจอเขาในตอนเช้า จึงได้รู้ว่าร่างนั้นไม่มีลมหายใจแล้ว”

เมื่องานหนักทำให้ ปีนึงเสียชีวิตกว่า 7 แสนศพ

หลังจากที่มีการแชร์เรื่องราวดังกล่าว ก็มีผู้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันประสบการณ์เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งตั้งคำถามถึงระบบการทำงานของต้นสังกัดที่ให้ทำงานอย่างหนักจนเกิดเหตุการณ์สลดดังกล่าวขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ก็เกี่ยวข้องกับเพจ “Drama-addict” ได้โพสต์ข้อความ อ้างอิงข้อมูลจาก WHO ระบุว่า “ในกลุ่มที่ทำงานแบบ Overwork หมายถึง คนที่ทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (อายุในช่วง 45-74 ปี)

ทำงานหนัก

โดยข้อมูลปีละ 745,000 ศพนี้ เป็นสถิติช่วงปี 2016 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2000 ประมาณ 29% และกำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ และผู้เสียชีวิต 72% เป็นเพศชาย ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด คือ โรคหัวใจ 42% และเส้นเลือดในสมอง 19% และประเทศที่มีผู้เสียชีวิตในรูปแบบนี้มากสุด อยู่ที่เอเชียอาคเนย์

อีกทั้ง WHO คาดการณ์อีกว่า สถานการณ์น่าจะแย่ลงในอนาคต เพราะผลกระทบจากโควิด ที่ทำให้คนทำงานแบบ WFH กันมากขึ้น เพราะคนจะแยกเวลาทำงาน เวลาพักไม่ออก กลายเป็นอยู่บ้านแล้ว ทำงานกันทั้งวัน เข้าวิดีโอคอล Zoom กันทั้งวันทั้งคืน ดังนั้น วาทกรรมที่แพร่หลายมานานว่า งานหนักไม่ทำให้ใครตาย จึงไม่เป็นความจริง และการทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพักผ่อนออกกำลังกาย ทำให้คนตายปีละเจ็ดแสนกว่าศพ และอาจถึงปีละล้านในอนาคตอันใกล้นี้ได้

ชวนรู้จัก โรคคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) หรือโรคทำงานหนักจนตาย

โรคคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) หรือโรคทำงานหนักจนตาย เป็นอาการเหนื่อยหรืออ่อนเพลียจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน พักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย เครียดสะสม จนทำให้เสียสุขภาพ และอาจเกิดอาการร้ายแรงที่นำไปสู่ชีวิต เช่น หัวใจวาย เป็นต้น โดยคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่พนักงานของสถานีโทรทัศน์ชื่อดังเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวจากการทำงานล่วงเวลาอย่างหนัก ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดในบ้านเรามาก

อาการโรคคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome)

หากมีอาการดังต่อไปนี้อาจแปลว่าเรากำลังป่วยเป็นโรคคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) อยู่

  • คิดหมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา เหมือนสมองไม่ได้พักผ่อน บางครั้งอาจเก็บไปฝัน
  • ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
  • ใช้เวลาในการทำงานเยอะมาก เริ่มงานเร็ว และเลิกงานช้า ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ไม่สามารถลางานได้ ไม่มีโอกาสลางาน หรือแทบไม่ได้ใช้วันลา ทั้งลาป่วย ลาพักผ่อน และลากิจ
  • เคร่งเครียดจากการทำงาน ทำงานภายใต้ภาวะกดดัน
  • แทบไม่เคยใช้วันลาหยุด ไม่ว่าจะลาป่วย หรือลาพักร้อน
  • นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท รู้สึกอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • แทบไม่มีเวลาพักผ่อน จำไม่ได้ว่าได้พักผ่อนจริงๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
  • ไม่มีเวลาให้ตัวเองและคนที่เรารัก

วิธีป้องกัน คาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome)

หากรู้ตัวว่าเริ่มมีพฤติกรรมการทำงานที่หนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็น จำนวนชั่วโมงทำงานที่มากเกินไป การทำงานล่วงเวลาที่ยาวนาน การโหมงานอย่างหนักเพื่อให้ไปสู่ความสำเร็จที่ตั้งไว้ จนทำให้เกิดความเครียดแบบไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) ในอนาคตได้ หนทางป้องกันที่สามารถทำได้มี ดังต่อไปนี้

  • แบ่งเวลาเพื่อการพักผ่อนบ้าง
  • ทำกิจกรรมชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลง ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ ออกไปพบปะเพื่อนฝูงหรือคนที่เรารัก
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีปัญหากับการนอน ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • รู้จักการปล่อยวางความคิด
  • ไม่นำงานกลับมาทำที่บ้าน หรือคิดเรื่องงานที่บ้านมากจนเกินไป

ขอขอบคุณ : ไทยรัฐออนไลน์ , ประชาชาติ และ Drama Addict

นอกจากนี้ หากรู้สึกว่าตนเองทำงานมากจนเกินความพอดี ควรรีบปรึกษาหัวหน้าเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่ารอให้เสียสุขภาพแล้วจึงค่อยคิดหาทางแก้ได้ทันท่วงที และนี่ก็เป็นเพียงสาระดี ๆ ที่ มาสิ ได้หยิบเอามาฝากกัน ทีนี้เมื่อได้อ่านคงตระหนักได้แล้วว่าไม่มีอะไรจะสำคัญได้เท่ากับสุขภาพของเรา ดังนั้นแล้ว มาเสริมความคุ้มครองในชีวิตกับ ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล V Prestige Care จาก วิริยะประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองครบทั้งการเจ็บป่วย และบาดเจ็บ จะมีความน่าสนใจอย่างรบ้างนั้น ตามมาสิไปดูกัน

ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล V Prestige Care

จาก วิริยะประกันภัย

ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล V Prestige Care จาก วิริยะประกันภัย
ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล V Prestige Care จาก วิริยะประกันภัย

จุดเด่นที่น่าสนใจ

  1. คุ้มครองค่ารักษาผู้ป่วยใน เหมาจ่ายต่อครั้งสูงสุด 5 ล้าน
  2. คุ้มครองค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการ ผู้ป่วยในสูงสุด 12,000/วัน
  3. สามารถต่ออายุได้ถึง 100 ปี
  4. ไม่มีเคลม มีเงินคืน
  5. ไม่ปฏิเสธการต่ออายุแม้มีเคลม
  6. สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท
  7. ไม่ต้องสำรองจ่าย กรณีเข้ารักษาที่โรงพยาบาลในเครือ ที่มีคู่สัญญากว่า 500 แห่งในประเทศไทย

เงื่อนไขการรับประกันภัย

  1. สมัครได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน – 65 ปี
  2. ผู้เอาประกันภัยอายุ ไม่เกิน 60 ปี สามารถต่ออายุได้ถึง 100 ปี
  3. ผู้เอาประกันภัยอายุ 61 – 65 ปี สามารถต่ออายุได้ถึง 70 ปี
  4. ผู้เอาประกันที่อายุระหว่าง 15 วัน ถึง 15 ปี ต้องสมัครพร้อมบิดาหรือมารดาอย่างน้อย 1 คน และแผนประกันจะต้องให้ความคุ้มครองที่ต่ำกว่าหรือเทียบเท่ากับบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรม
  5. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์การพิจารณาใบคำขอฯ ตามหลักเกณฑ์การรับประกันภัยของบริษัท และผ่านเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัยของบริษัท
  6. ความคุ้มครองการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจะคุ้มครองทันที ในวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับครั้งแรก

เงื่อนไขและข้อยกเว้นที่สำคัญ

  1. การเจ็บป่วยใด ๆ ที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 30 วัน (Waiting Period) หลังจากที่กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับครั้งแรก
  2. การเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 120 วัน (Waiting Period) หลังจากที่กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับครั้งแรก เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด, ริดสีดวงทวาร, ไส้เลื่อนทุกชนิด, ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก, การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์, นิ่วทุกชนิด, เส้นเลือดขอดที่ขา, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  3. โรคที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคเรื้อรัง การบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยที่ยังมิได้รักษาให้หาย ก่อนวันทำสัญญาประกันภัย
หมายเหตุ
  1. เบี้ยประกันภัยสำหรับปีต่ออายุจะปรับเปลี่ยนตามอายุที่เปลี่ยนแปลง และประวัติการเคลม
  2. เงื่อนไขและข้อยกเว้นข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น โปรดศึกษารายละเอียด และข้อยกเว้นความคุ้มครองเพิ่มเติมในกรมธรรม์ประกันภัย
  3. ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันทุกครั้ง
สนใจสมัครประกันสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล V Prestige Care 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison