เชื่อว่า วันนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก “ โดรน ” ( Drone ) หรือ “ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ ” ที่กำลังเข้ามามีอิทธิพลกับอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด เพราะสามารถเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ในการทำงานบางประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานที่มีความเสี่ยงสูง หรืออยู่ในเขตพื้นที่อันตรายและยากต่อการเข้าถึง คุณสมบัติของโดรนมีความคล่องตัว อีกทั้งยังมีต้นทุนในการจัดการต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการหันมาให้ความสนใจลงทุนในเทคโนโลยีประเภทนี้อย่างต่อเนื่อง ในคราวที่แล้ว ผู้เขียนได้พูดถึงความสามารถของเทคโนโลยี “ โดรน ” และการประยุกต์ใช้กับธุรกิจโดยรวม มาคราวนี้ masii จึงอยากขอเจาะไปที่การนำโดรนมาใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำอย่าง ธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ( Power and Utilities ) กันบ้าง ซึ่งกระแสของการใช้โดรนในอุตสาหกรรมนี้กำลังเริ่มเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ไปดูกันครับ …
บทบาทใหม่ของ “ โดรน ” ตัวช่วยอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค
จากรายงานล่าสุด “ Clarity from above: Leveraging drone technologies to secure utilities systems ” ของ PwC คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดโดรนในอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภคทั่วโลกจะสูงถึง 9.46 พันล้านดอลลาร์ หรือ ราว 3.14 ล้านล้านบาท
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภคทั่วโลกนั้นกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นจากเขตชุมชนเมืองและอัตราการขยายตัวของประชากร โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น จีน และ อินเดีย การเปลี่ยนถ่ายจากการใช้พลังงานดั้งเดิมมาสู่พลังงานสะอาดมากขึ้น ความเข้มงวดของหน่วยงานกำกับดูแลที่อาจส่งผลให้ราคาพลังงานลดลง รวมทั้ง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของอุตสาหกรรม ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องการที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจเสียใหม่ เพื่อรักษาอัตราการเติบโตและกำไรขององค์กร
ด้วยแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจบวกกับความความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าอันมหาศาลนี่เอง ทำให้เทคโนโลยีโดรนถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution) หรือ การกำกับดูแลสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (Transmission) ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมนี้ สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความคล่องตัวในกระบวนการบริหารจัดการและการบำรุงรักษาพลังงานทุกประเภท ผ่านการประยุกต์ใช้โดรนในกระบวนการทำงาน ดังต่อไปนี้
- การสำรวจก่อนการลงทุนและก่อสร้าง (Pre-construction and investment monitoring) โดยโดรนจะเข้ามาช่วยจัดการการลงทุนโครงการพลังงานและไฟฟ้าใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการสำรวจและเก็บรายละเอียดของข้อมูลในพื้นที่ก่อสร้าง ทำให้สามารถระบุพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการทำงาน และวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงนั้นๆ ก่อนส่งคนงานเข้าไปปฏิบัติการได้ ซึ่งจะช่วยลดอุบัติเหตุในการทำงานที่อาจส่งผลต่อต้นทุนและค่าแรงได้
- การจัดการทรัพย์สินทางไฟฟ้าและการบำรุงรักษา (Asset inventory & maintenance management) การดำเนินงานและการบำรุงรักษาพลังงานและไฟฟ้า ถือเป็นขั้นตอนที่ใช้งบประมาณมากที่สุด โดยในทุกๆ ปี กลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคทั่วโลกได้รับความเสียหายจากภาวะระบบล่มสูงถึง 169 พันล้านดอลลาร์ ด้วยพื้นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ มักอยู่ในพื้นที่ขนาดใหญ่และยากที่จะเข้าถึง ดังนั้น การนำโดรนเข้ามาใช้ตรวจสอบทรัพย์สินทางไฟฟ้าและวางแผนซ่อมบำรุง จะช่วยลดปัญหาการจัดการทรัพย์สินทางไฟฟ้า โดยช่วยลดโอกาสของปัญหาระบบล่ม รวมถึงจำนวนอุบัติเหตุจากการส่งคนเข้าไปซ่อมบำรุง ยกตัวอย่างเช่น ในจีนมีการนำโดรนมาใช้กำจัดขยะที่ติดอยู่ตามสายไฟ หรืออยู่ในบริเวณที่มีสายไฟแทนการใช้แรงงานคน
- กำจัดวัชพืช (Vegetation management) โดรนสามารถเล็มพวกวัชพืชที่มาปกคลุมสายไฟได้ นอกจากนี้ ยังสามารถประเมินความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ เช่น โอกาสของการเกิดอุบัติเหตุต้นไม้ล้ม โดยสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ต้นไม้ต้นไหนที่ควรตัดออกเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
- ตรวจสอบคุณภาพน้ำ (Enhancing water quality monitoring) การเฝ้าระวังน้ำ ถือเป็นงานที่ท้าทายอย่างหนึ่งของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เพราะนอกจากจะต้องใช้เวลาและแรงงานมากแล้ว ขั้นตอนนี้ยังมีความซับซ้อนอีกด้วย โดยโดรนสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการสำรวจ ตรวจสอบ และจับภาพพื้นที่น้ำขนาดเล็กและยากต่อการค้นพบได้เป็นอย่างดี นอกเหนือไปจากช่วยในการวิเคราะห์คุณภาพของน้ำ
อย่างไรก็ดี แม้การใช้งาน โดรน ในอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภคจะมีข้อดีอยู่มาก แต่ก็ยังมีความท้าทายที่ธุรกิจพลังงานไฟฟ้าต้องเตรียมรับมือ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานโดรนเอง เช่น การตกกระแทกของโดรนลงบนพื้นที่โรงไฟฟ้าซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลต่อสายไฟ หรือท่อส่งพลังงานต่างๆ นอกจากนี้ การขโมยฐานข้อมูลจากโดรน เพราะส่วนใหญ่ข้อมูลที่เก็บผ่านโดรนนั้นจะส่งข้อมูลผ่านไวไฟ หรือบลูทูธ (Bluetooth) ทำให้ผู้ประกอบการต้องศึกษาความเสี่ยงและมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยจากการใช้งานโดรนด้วย
สำหรับประเทศไทย แม้การนำ โดรน มาใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภคจะยังไม่เป็นที่นิยมนัก แต่เชื่อว่า ในไม่ช้าโดรนจะถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายจากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น เพราะการประยุกต์ใช้โดรนสามารถช่วยปิดช่องโหว่ของการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมได้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านต้นทุนในการบริหารจัดการ ความรวดเร็ว แม่นยำ และลดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยรักษาอัตราการเติบโตขององค์กรให้เป็นไปอย่างที่คาดหวังอีกด้วย
10 คำถามยอดฮิต ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การทำประกันภัยโดรน
1.โดรนแบบไหน ควรทำประกันโดรน
ไม่ว่าคุณจะใช้ โดรนมินิ โดรนขนาดเล็ก โดรนถ่ายภาพ หรือโดรนขนาดใหญ่ เช่น โดรนการเกษตร โดรนพ่นยา Masii แนะนำว่าควรทำประกันโดรน เพื่อเพิ่มความอุ่นใจ ที่สำคัญช่วยคุณประหยัดเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในยามที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดระหว่างบินโดรน จนทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย
2.ไม่ทำประกันโดรน ผิดกฎหมาย ไหม
จริงแล้ว ๆ กฎหมายไม่ระบุชัดเจนว่า หากไม่ทำประกันโดรน จะมีความผิด แต่จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ ซื้อโดรนใหม่ก่อนจะทำการบินโดรนได้ เจ้าของโดรนจะต้องดำเนินการยื่นขึ้นทะเบียนโดรนให้เรียบร้อย โดยต้องใช้กรมธรรม์ประกันโดรน ที่ให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกวงเงินไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท เป็นเอกสารประกอบการยื่นขึ้นทะเบียนโดรน
ซึ่งหากเจ้าของโดรนฝ่าฝืนไม่ขึ้นทะเบียนโดรน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีโดรนไว้ในครอบครอง จะมีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ส่วนโดรนที่มีอายุการใช้งาน ก็ยังคงจำเป็นต้องทำประกันภัยโดรนไว้ เพื่อคุ้มครองกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด รวมถึงใช้ต่ออายุการขึ้นทะเบียนโดรนกับกรมการบินพลเรือน ทุก ๆ 2 ปี
3.ประกันโดรน ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง
ประกันโดรนส่วนใหญ่จะให้ความคุ้มครอง การเสียชีวิต การบาดเจ็บ การเจ็บป่วยทางร่างกายรวมถึงอนามัยโดยอุบัติเหตุของบุคคลภายนอกวงเงินไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ค่าประกันตัวจากคดีอาญา และคุ้มครองความเสียหายของตัวโดรน ซึ่งวงเงินและความคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือกสมัคร นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มความอุ่นใจระหว่างบินโดรนให้แก่ผู้บังคับโดรน หรือ ทีมงาน สามารถซื้อความคุ้มครอง ประกันอุบัติเหตุ เพิ่มเติมจากกรมธรรม์หลักได้
4.ทำประกันโดรน ที่ไหนดี
เดี๋ยวนี้มีประกันโดรนให้สมัครกันมากมายจากหลากหลายบริษัทประกัน ซึ่งสามารถเลือกได้ตามงบประมาณและความคุ้มครองที่ต้องการ แต่หากใครไม่อยากเสียเวลา เปรียบเทียบประกันโดรน ด้วยตัวเอง ก็สามารถเลือกสมัครประกันโดรนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Masii ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ที่รวบรวมแพ็กเกจ ประกันภัยโดรนที่น่าสนใจ ราคาถูก มาเลือก
5.ซื้อประกันโดรน กับ มาสิ ราคาเท่าไร
จ่ายค่าเบี้ยประกันราคาแพง ๆ ไปทำไม เมื่อคุณสามารถเลือกทำประกันโดรน ราคาถูก กับ Masii ได้ง่าย ๆ โดยมีแผนประกันโดรนให้เลือกสมัครมากถึง 8 แพ็กเกจ ดังนี้
1. Mini ราคา 599 บาท สำหรับ DJI รุ่น Mini เท่านั้น ***ถูกที่สุด ถูกกว่าใคร***
2. Mini+ ราคา 699 บาท สำหรับ DJI รุ่น Mini เท่านั้น
3. Save ราคา 799 บาท สำหรับโดรนถ่ายรูป
4. Fin ราคา 888 บาท สำหรับโดรนถ่ายรูป
5. SME ราคา 1,080 บาท สำหรับโดรนการเกษตร
6. SME+ ราคา 1,180 บาท สำหรับโดรนการเกษตร
7. Mini Plus ราคา 2,420 บาท สำหรับ DJI รุ่น Mini เท่านั้น
8. Plus ราคา 3,500 บาท สำหรับโดรนถ่ายรูปที่ซื้อใหม่เท่านั้น
6.สมัครประกันโดรน กับ มาสิ ดียังไง
สมัครประกันโดรน กับ มาสิ นอกจากมีแพ็กเกจที่ครอบคลุมการใช้งานโดรนแล้ว เรายังมีบริการขึ้นทะเบียนโดรนกับกรมการบินพลเรือน โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ส่วนการขึ้นทะเบียนโดรนกับ กสทช. จะมีค่าธรรมเนียมราคา 214 บาท พร้อมกับแจ้งผลการพิจารณาขึ้นทะเบียนโดรนให้ทราบภายใน 15 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วน (เฉพาะโดรนใหม่เท่านั้น)
7.ทำประกันโดรน กับ Masii กี่วันจะได้รับกรมธรรม์
สะดวก รวดเร็ว เมื่อทำประกันโดรน กับ มาสิ เพราะได้รับกรมธรรม์ ประกันโดรน ผ่านทางอีเมล์ได้ภายใน 1 วัน เมื่อส่งเอกสารและชำระค่าเบี้ยประกันครบถ้วนเรียบร้อย ก่อนเวลา 16.00 น. ส่วนกรมธรรม์ฉบับจริงจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้ กรณีลูกค้าที่เป็นนิติบุคคล หรือ ต่ออายุประกันโดรน จะใช้เวลาประมาณ 7 วันทำการ
8.ทำประกันภัยโดรน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
- ใบคำขอเอา ประกันโดรน พร้อมเซ็นรับรอง
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นรั
บรอง (กรณีมีผู้บังคับหลายคนให้ส่งมา 1คน ต่อ 1 ชุด) - รูปถ่ายโดรนแบบเต็มตัว 1 รูป
- รูปถ่าย Serial Number โดรนอย่างชัดเจน 1 รูป
9.ซื้อประกันโดรน ออนไลน์ กับ Masii ต้องทำอย่างไร
เจ้าของโดรนที่ต้องการซื้อประกันโดรนออนไลน์ กับ มาสิ สามารถคลิก ที่นี่ ได้เลย โดยกรอกข้อมูล ชื่อ-นามสกุล เบอร์ติดต่อ และ อีเมล หลังจากนั้นทีมงานมาสิจะติดต่อกลับ เพื่อแนะนำประกันโดรนที่เหมาะกับโดรนของคุณ
10. โดรนมือสอง ประกันโดรน ให้ความคุ้มครองไหม
อุ่นใจไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของโดรนซื้อใหม่ แกะกล่อง หรือ โดรนมือสอง ที่ซื้อมาอีกที ก็สามารถเลือกทำประกันโดรน พร้อมรับความคุ้มครอง ได้เช่นกัน
สนใจสมัครประกันโดรน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สมัคร ประกันโดรน ต่อประกันโดรน รวมถึง ซื้อประกันอุบัติเหตุ สำหรับผู้บังคับโดรน ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอย่างที่คิด สามารถซื้อออนไลน์ได้ง่ายที่ มาสิ คลิกเลย ที่นี่ หรือหากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันโดรน การขึ้นทะเบียนโดรน สามารถสอบถามได้ที่ 02 710 3100 หรือ 06 3323 1640 รวมถึง Line @masii
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีโดรน
- เอาโดรนขึ้นบิน แต่ไม่ได้ ขึ้นทะเบียนโดรน ความผิดพลาดที่ไม่ควรเกิด
- นักบินโดรนมือใหม่ และนักบินโดรนมืออาชีพ สิ่งที่เหมือนกันนั่นคือ อะไร
- ไม่ขึ้นทะเบียนโดรน ไม่ทำประกันโดรน อาจมีโทษปรับ-จำคุก
- ประกันโดรนคุ้มครองอุบัติเหตุผู้ใช้งานโดรน ด้วยหรือเปล่า
_________________________
Please become Masii Fan
Facebook: www.facebook.com/MasiiThailand
Website: www.masii.co.th
Blog: https://blog.masii.co.th/
Line : @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCV-5rpO5ZqAGfgLdKqzKGFw
Instagram: www.instagram.com/masii_thailand
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์ #ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน
#ประกันภัยโดรน #ประกันโดรน #ลงทะเบียนโดรน #ขึ้นทะเบียนโดรน #Dronethailand
#ประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์ชั้น1 #สมัครประกันรถยนต์ #ประกันรถที่คุ้มที่สุด
#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison