ปัญหาสภาวะโรคร้อน เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือแม้แต่ภาคธุรกิจ ที่เริ่มหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญในการจัดการกับปัญหาด้านสภาพแวดล้อมนี้ขึ้น ซึ่งมีทั้งการี่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินกิจการ การส่งเสริมกิจกรรมสิ่งแวด หรือแม้แต่การออกมาตรการ สัญญาความร่วมมือระหว่างกันในประเทศคู่สัญญา อย่างที่อีกหนึ่งมาตรการในวันนี้ที่ มาสิ ได้หยิบยกเอามาฝากให้ทุกคนได้ศึกษษไปพร้อมกันกับ ภาษี พลาสติก หรือภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งจะเรียกเก็บเงินหรือค่าธรรมเนียมจากผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือประเทศสมาชิกที่มีการผลิต นำเข้า หรือใช้ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและย่อยสลายยาก ทั้งนี้ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร และเราจะต้องปรับตัวหรือรับมืออย่างไรบ้างนั้น ตาม มาสิ ไปศึกษาพร้อมกันพร้อมเสริมความมั่นคงให้ธุรกิจด้วย สินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อผู้ประกอบการ
ภาษี พลาสติก (Plastic Tax) หรือ ภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก (Plastic Packaging Tax: PPT)
“ภาษีพลาสติก” (Plastic Tax) หรือ “ภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก” (Plastic Packaging Tax: PPT) เป็นมาตรการ ภาษี ที่เรียกเก็บเงินหรือค่าธรรมเนียมจากผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือประเทศสมาชิกที่ผลิต นำเข้า หรือใช้ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและย่อยสลายยาก ทั้งนี้ ไม่รวมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มาจากการรีไซเคิล
การจัดเก็บภาษีพลาสติกจะทำให้ต้นทุนของบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หรือเลือกใช้สินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้หรือบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ซ้ำแทน ท้ายที่สุดแล้วจะทำให้ปริมาณขยะพลาสติกลดลง ในขณะที่ภาครัฐก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น
ประเทศไทนบ้างที่เริ่มมีการจัดเก็บภาษีพลาสติกแล้ว หรือกำลังเตรียมที่จะจัดเก็บภาษีในอนาคตอันใกล้
สำหรับประเทศที่จัดเก็บภาษีพลาสติกไปแล้ว ได้แก่ สหภาพยุโรป เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องจ่ายภาษีให้กับสหภาพยุโรป โดยคำนวณจากปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว ในอัตรา 0.8 ยูโรต่อกิโลกรัม และทั้งนี้ทั้งนั้น ประเทศสมาชิกอียูแต่ละประเทศ ยังสามารถที่จะออกมาตรการภาษีพลาสติกของตนเองที่แตกต่างกันออกไปได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอิตาลีและสเปน เก็บภาษีพลาสติกจากผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้ซื้อ ซัพพลายเออร์ และผู้นำเข้า ในอัตรา 0.45 ยูโรต่อกิโลกรัม ประเทศสหราชอาณาจักร จัดเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติกจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมจากพลาสติกรีไซเคิลน้อยกว่าร้อยละ 30 ในอัตรา 200 ปอนด์ต่อตัน เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.65 ที่ผ่านมา และโปรตุเกส เตรียมจัดเก็บภาษีพลาสติกในอัตรา 0.30 ยูโรต่อกิโลกรัม ภายในปี 2566
ส่วนประเทศที่เตรียมจะจัดเก็บภาษี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกอันดับ 1 ของไทย ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างจัดทำร่างกฎหมาย Reduce Act of 2021 ที่จะจัดเก็บภาษีพลาสติกที่ไม่มีส่วนผสมจากพลาสติกรีไซเคิลและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ในอัตรา 0.2 – 0.5 ดอลลาร์ต่อปอนด์ ขณะที่ฟิลิปปินส์ เป็นอีกประเทศที่เตรียมจะจัดเก็บภาษีจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวเช่นกัน ในอัตรา 100 เปโซฟิลิปปินส์ต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 1.75 ดอลลาร์ฯ ภายในปี 2569
แล้วประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง?
ซึ่งจากข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้บอกไว้ว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปตลาดโลก รวมมูลค่าทั้งสิ้น 140,772.17 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 2.07 % ของมูลการส่งออกรวม และมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับใน 11 เดือนแรกของปี 2565 คิดเป็นมูลค่า 146,580.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 14.09 % โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่
- สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วน26%
- ญี่ปุ่น มีสัดส่วน 74%
- เวียดนาม มีสัดส่วน69%
- ฟิลิปปินส์ มีสัดส่วน94%
- จีน มีสัดส่วน75%
อีกทั้ง นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า แม้ว่าตลาดสำคัญของไทยจะยังไม่มีการจัดเก็บภาษีพลาสติก แต่ในอนาคตมีแนวโน้มที่ตลาดเหล่านี้จะจัดเก็บภาษีพลาสติก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกอันดับ 1 ของไทย อยู่ระหว่างจัดทำร่างกฎหมาย Reduce Act of 2021 ซึ่งย่อมส่งผลให้ผู้ส่งออกมีต้นสูงขึ้น ดังนั้นด้วย ประเทศไทยต้องเตรียมการรองรับ ปรับตัว และแสวงหาโอกาสทางการตลาดในการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค อาทิ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับและมาตรฐานบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของพลาสติกรีไซเคิล การส่งเสริมการส่งออกพลาสติกชีวภาพ และการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable business) เป็นต้น
แล้วผู้ประกอบการไทย ควรปรับตัวอย่างไร?
นอกจากภาษีพลาสติกที่หลายประเทศเริ่มจัดเก็บแล้ว แนวโน้มในเรื่องของการแบนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งของทั่วโลกดูเหมือนว่าจะตื่นตัวมากขึ้น จึงเป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบกอบไทยต้องเตรียมการรองรับ และปรับตัวเพื่อให้สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้ โดยอาจจะใช้แนวทาง ดังต่อไปนี้
- มุ่งเน้นการส่งออกพลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีวัตถุดิบในการผลิตพื้นฐานส่วนใหญ่เป็นพืช โดยอาจจะมีคุณสมบัติในการย่อยสลายทางชีวภาพหรือไม่ก็ได้
- วิจัยและพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ
- พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับและมาตรฐานบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของพลาสติกรีไซเคิล
- ใช้ประโยชน์จาก Green Tax Expense มาตการลดหย่อนภาษี “พลาสติกที่ย่อยสลายได้ “โดยให้ผู้ประกอบการนำรายจ่ายที่ใช้ในการซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 1.25 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไป ระหว่างปี 2565-2567 ซึ่งเป็นอีกทางที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนได้
ขอขอบคุณ : K SME และ Business Today
และนี่ก็เเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่น่าสนใจที่ มาสิ ได้นำมาฝากให้ทุกคนได้อ่านกัน แม้ว่าในปัจจุบันประเทศคู่ค้าของไทยเรายังไม่ได้มีมาตรการนี้ขึ้นมา ตัวผู้ประกอบการเองก็ควรเตรียมพร้อมรับมือกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเมื่อต้องมีการปรับเปรียนขึ้นมาเมื่อใดจะได้ปรับตัว และรับมือได้ทัน ทั้งนี้ อย่างที่คุ้นเคยกันไม่เพียงแค่สาระดี ๆ ที่ มาสิ ได้นำมาฝากกัน ก็อย่างว่า เรื่องของเงินทองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับใครก็ตามที่กำลังมองหา เงินด่วน เงินก้อนทันใจ ต้องสมัครสินเชื่อเงินด่วน กสิกร Xpress Loan จากธนาคารกสิกรไทย ที่สมัครง่าย อนุมัติไว ไม่ต้องค้ำประกัน พร้อมรับดอกเบี้ยสุดพิเศษ ซึ่งรายละเอียดและเงื่อนไขการให้บริการจะมีอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกัน
สินเชื่อ กสิกร Xpress Loan
สำหรับท่านที่ต้องการ เงินกู้ แบบเร่งด่วนที่กู้ง่ายๆ ลองดู สินเชื่อ Xpress Loan สินเชื่อเงินด่วน กู้ง่าย กสิกร อนุมัติไว แค่ 15 นาทีเท่านั้น มาพร้อมจุดเด่นที่ ไม่ต้องค้ำประกัน พร้อมรับดอกเบี้ยสุดพิเศษ โดยสินเชื่อนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ต้องการ เงินสด สำหรับเพิ่มสภาพคล่องในเวลานี้
จุดเด่น
- กู้ง่ายเเค่มีบัตรประชาชนใบเดียว (กรณีที่ท่านมีบัญชีเงินเดือนกับธนาคารกสิกรไทย)
- เงินเดือนเริ่มต้นที่ 7,500 บาทก็สามารถกู้ได้แล้ว
- อนุมัติไว เเค่ 15 นาทีพร้อมรับเงินทันที
- ดอกเบี้ยต่ำสุดตลอดอายุสัญญา
- ไม่ต้องค้ำประกันใดๆ
สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล Xpress Loan
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สินเชื่อส่วนบุคคล
-
ก่อนติดตั้ง ” โซลาร์เซลล์ ” เจ้าของบ้านต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง เช็คเลย
-
เงินเดือน เท่านี้ ผ่อนคอนโด เท่าไร? เรื่องต้องรู้ก่อนกู้ซื้อคอนโด
-
เทียบความต่าง ” จ่ายเงินสด ” กับ ” ผ่อนจ่าย ” แบบไหนดีกว่ากัน
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#สินเชื่อ #ประกัน
#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล
#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์
#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii
#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison