รู้จัก Fetal Distress คืออะไร อันตรายแค่ไหน คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ไว้ก้จะสาย…แนะนำ เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ด้วย ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่ป้องกันอันตรายระหว่างตั้งครรภ์

ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์
รู้จัก Fetal Distress อันตรายแค่ไหน คุณแม่ควรรู้...แนะนำ ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ การมีลูกน้อย ก็คือ ของขวัญอันล้ำค่าสูงสุด เป็นเหมือนโซ่ทองคล่องใจ และเป็นการเติมเต็มความสมบูรณ์แบบของชีวิตและครอบครัว หลาย ๆ คู่ที่ต้องการจะมีลูก ก็มักที่จะมีการวางแผน เตรียมความพร้อม ศึกษารายละเอียดกันอย่างมากมายและเต็มที่ เพื่อให้พร้อมที่สุดสำรับหารต้อนรับหนึ่งชิวติเล็กที่กำลังจะลืมตาขึ้นมา แต่สำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ด้วยข้อมูลที่มีมากมายหลากหลาย ทั้งความเชื่อ ตามมายาคติ ความรู้ตามหลักทางการแพทย์ และประสบการณ์จากคนรอบข้างที่ได้มีลูกกันมาก่อน ก็อาจจะทำให้ว่าที่คุณพ่อ คุณแม่ เกิดความสับสนได้ ดังนั้น วันนี้ มาสิ จึงได้เอากับอีกหนึ่งสาระดี ๆ มาฝากให้ทุกคนได้นำไปศึกษากันกับอีกหนึ่งภาวะความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะตั้งครรภ์ คือ ภาวะทารกเครียดในครรภ์ (Fetal Distress) ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งภาวะที่ไม่สามารถคาดการได้ และมีความอันตรายอย่างยิ่ง รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ว่าแล้วก็ตาม มาสิ ไปดูกัน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการวางแผนในการเตรียมความให้การตั้งครรภ์ครั้งนี้ ปลอดภัยกันได้อย่างเต็มที่มาเสริมสร้างการดูแลสุขภาพของคุณแม่ให้รอบด้านด้วย ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่จะให้ความคุ้มครองการเจ็บป่วย และ อุบัติเหตุรายละเอียดจะเป็นอย่างไรต้องไปติดตามกัน

รู้จัก Fetal Distress คืออะไร อันตรายแค่ไหน คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ไว้ก้จะสาย…แนะนำ เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ด้วย ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่ป้องกันอันตรายระหว่างตั้งครรภ์

Fetal Distress คืออะไร?

Fetal distress หรือภาวะทารกเครียด คือ การที่ทารกอยู่ในภาวะเครียดขณะอยู่ในครรภ์และแสดงอาการต่างๆ ออกมา ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้ทารกเกิดภาวะนี้ อาทิ ระยะเวลาก่อนถึงกำหนดคลอด ปฏิกิริยาต่อยา หรือปัญหาเกี่ยวกับสายสะดือหรือรก ซึ่งเป็นภาวะที่แพทย์ไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัยของทารกเป็นอย่างมาก หากไม่ทำการคลอดโดยเร็วทารกอาจจะเกิดอันตราย และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อคุณแม่และทารกได้  ซึ่งผลกระทบระยะยาวของภาวะนี้ อาจทำให้เกิดการขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน และทำให้สมองของทารกได้รับการกระทบกระเทือน สมองพิการ และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตขณะคลอดได้

สาเหตุของ Fetal Distress คืออะไร?

ภาวะทารกเครียดในครรภ์ เกิดจากการที่ทารกได้รับออกซิเจนจากเลือดของมารดาไม่เพียงพอ ซึ่งออกซิเจนที่จะส่งไปยังทารกในครรภ์จะถูกส่งผ่านไปยังรก,และไปยังเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของทารก  ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์ไม่เพียงพอที่พบบ่อย เช่น

  • รกลอกตัวก่อนกำหนด
  • ภาวะสายสะดือย้อย/ ภาวะสายสะดือโผล่แลบ: จึงทำให้ส่วนนำของทารก เช่น ศีรษะทารกในครรภ์ที่อยู่ใน’ท่าปกติ,’หรือ ก้นทารกในทารกท่าก้น, ไปกดสายสะดือ, ทารกจึงได้รับเลือด/ออกซิเจนน้อยลง
  • ภาวะน้ำคร่ำน้อย หรือ ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด:  จึงทำให้สายสะดือ ถูกกดทับได้ง่ายเวลามีการหดรัดตัวของมดลูก
  • มีความผิดปกติของเส้นเลือดของมารดาและ/หรือของรก: เช่น กรณีที่มารดามีความดันโลหิตสูง เบาหวาน  โรคไต  การตั้งครรภ์เกินกำหนดที่ทำให้รกเสื่อม  หรือมีรกเสื่อมจากเหตุอื่น

ใครบ้างที่มีปัจจัยเสี่ยงเกิดภาวะเครียดของทารกในครรภ์?

สำหรับ คุณแม่ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการการเกิดภาวะเครียดของทางรถในครรภ์นั้น คือ

  • ผู้มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับเส้นเลือด: ซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์ไม่เพียงพอ เช่น มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน   โรคไต
  • ผู้มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด: อ่านเพิ่มเติมเรื่อง รกลอกตัวก่อนกำหนด ได้ในเว็บ com
  • ผู้มีภาวะสายสะดือโผล่แลบ: อ่านเพิ่มเติมเรื่อง สายสะดือโผล่แลบ ได้ในเว็บ com
  • ผู้มีถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด หรือ มีน้ำคร่ำน้อย: ซึ่งทำให้สายสะดือถูกกดทับกับส่วนต่างๆของทารก ส่งผลให้เส้นเลือดถูกอุดกั้น   เลือดจึงไปเลี้ยงทารกได้น้อยลง(อ่านเพิ่มเติมทั้ง 2 เรื่องได้ในเว็บ com)
  • ผู้มีการตั้งครรภ์เกินกำหนด: จะส่งผลให้รกมักเสื่อม ประสิทธิภาพในการส่งเลือดไปเลี้ยงทารกฯจึงไม่ดี (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง การตั้งครรภ์เกินกำหนด ได้ในเว็บ com)
  • ผู้มีภาวะรกเสื่อม: (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ภาวะรกเสื่อม ได้ในเว็บ com)
  • ผู้มีภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์: ซึ่งมักเกิดจากรกทำงานไม่ดี/รกเสื่อม และ/หรือมีภาวะน้ำคร่ำน้อย (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์  ได้ในเว็บ com)
  • ผู้ได้รับยากระตุ้นการบีบตัวของมดลูกมากเกินไป: เช่น ยา Oxytocin จึงทำให้เส้นเลือดมดลูกหดตัว ส่งผลให้ขาดเลือดไปเลี้ยงรกและทารกในครรภ์เป็นเวลานาน

แล้วคุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกในครรภ์มีภาวะเครียด?

คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้ได้ว่ามีภาวะเครียดของทารกในครรภ์ โดยส่วนมากคุณแม่ตั้งครรภ์จะ’ไม่ทราบ’ว่า ทารกในครรภ์มีภาวะเครียด กล่าวคือ ไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติของทารกมาก่อน  จนกระทั่งทารกมีภาวะเครียดมากจนทารกเสียเสียชีวิต/ไม่ดิ้นแล้ว รู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นลดลง หรือไม่ดิ้น  หรือกรณีที่ทารกในครรภ์มีภาวะเครียดเรื้อรัง จะเกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์  ซึ่งอาจสังเกตได้ว่า ขนาดของครรภ์ไม่โตขึ้นตามอายุครรภ์

รักษาภาวะเครียดของทารกในครรภ์อย่างไร?

แนวทางการรักษาภาวะเครียดของทารกในครรภ์ สามารถทำได้ ดังนี้

1.หากผลการตรวจ Electronic fetal heart rate monitoring พบว่าทารกอยู่ใน Category I: แสดงว่าทารกในครรภ์ยังมีสุขภาพดี   คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถกลับไปพักที่บ้านได้   โดยแพทย์จะอธิบายให้คุณแม่สังเกตอาการที่ต้องรีบมาโรงพยาบาลโดยด่วน/ฉุกเฉิน คือ ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง ซึ่งโดยทั่วไปผลการตรวจ Category  I ผลปกติ จะสะท้อนว่า น่าจะไม่มีปัญหากับทารกในครรภ์ภายใน 1  สัปดาห์นับจากการตรวจ  ยกเว้นมีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง  เช่น  ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด,  ซึ่งแพทย์จะนัดมาติดตามอาการทุก  1  สัปดาห์

2.หากผลตรวจ Electronic fetal heart rate monitoring อยู่ใน Category II: สุขภาพทารกในครรภ์ต้องมีการเฝ้าระวังจากแพทย์อย่างใกล้ชิดมากขึ้น  แพทย์จะมีการตรวจวิธีอื่นเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความมีสุขภาพดีของทารก ได้แก่ การตรวจทารกในครรภ์ด้วยเทคนิคเฉพาะจากอัลตราซาวด์ ที่เรียกว่า  Biophysical profile,  และมักมีการนัดคุณแม่มาตรวจหรือทำการตรวจ Electronic fetal heart rate monitoring สัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือถี่กว่านั้น  หากจำเป็นแพทย์อาจให้นอนสังเกตอาการที่โรงพยาบาล

3.หากอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ ช้าหรือเร็ว กว่าอัตราปกติ/ ผลตรวจ Electronic fetal heart rate monitoring อยู่ใน Category III: แพทย์จะรีบทำการช่วยชีวิตทารกในครรภ์(Intrauterine resuscitation) เช่น

  • จัดให้คุณแม่ตั้งครรภ์เปลี่ยนท่าจากนอนหงายเป็นนอนตะแคง เพื่อช่วยลดการที่มดลูกอาจไปกดเส้นเลือดใหญ่ของมารดาแล้วทำให้เลือดไหลเวียนกลับหัวใจน้อยลง ทำให้ส่งเลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้ลดลง
  • ให้คุณแม่สูดดมออกซิเจน
  • หากแพทย์กำลังให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกแก่คุณแม่ แพทย์จะหยุดให้ยาดังกล่าว
  • ให้น้ำเกลือ/สารน้ำเข้าเส้นเลือดดำคุณแม่ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเลือดเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังทารกในครรภ์
  • เฝ้าติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ และทำการบันทึกกราฟ: หากเกิน 30 นาทีหลังจากที่ให้การช่วยเหลือทารกในครรภ์ด้วยวิธีการดังกล่าวแล้ว อัตราการเต้นของหัวใจทารกยังผิดปกติเหมือนเดิม  แพทย์จะรีบนำไปผ่าท้องคลอดฯ

เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ Fetal Distress ได้ไหม

ตามปกติแล้วไม่มีวิธีการป้องกันภาวะความเครียดของทารกในครรภ์ได้ เรียกว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจคาดคิดเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม การพบแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงดูแลสุขภาพครรภ์ให้แข็งแรง สามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะที่นำไปสู่ภาวะ Fetal Distress ได้ นอกจากนี้คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองและความผิดปกติในครรภ์ตลอดเวลา และปรึกษาแพทย์ทุกเรื่อง เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ขอขอบคุณ : Kapook , หาหมอ.com

และนี่ก็เป็นเพียงเกร็ดความรู้ดี ๆ ที่ มาสิ ได้หยิบเอามาฝากให้สำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ให้ได้นำไปใช้ประกอบการวานแผนสร้างครอบครัวกัน แต่ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านั้น สำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่ จะหยิบจับสิ่งใดก็ต้องมีความระมัดระวังกันขั้นสุด ดังนั้นแล้ว เรามาเสริมความคุ้มครองให้กับเหล่าว่าที่คุณแม่กันให้เต็มที่ขึ้นไปอีกด้วยประกันสุขภาพสำหรับคุณแม่ จาก Aetna ส่วนจะมีรายละเอียดความคุ้มครองหรือเงื่อนไขการให้บริการอย่างไรบ้างนั้นตามไปดูกัน

ประกันภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือ ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์

 แผน บียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ จาก Aetna

เตรียมตัวเป็น คุณแม๊ ! มือใหม่ อุ่นใจได้ไม่ต้องกลัวใครแย่ง กับ ประกันตั้งครรภ์ ประกันภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่ครอบคลุมไปถึง หลังคลอด

และสำหรับว่าที่คุณแม่คนไหนที่เพิ่งตั้งครรภ์ สามารถทำประกันสุขภาพ หรือ ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์ แผน บียอนด์เพอร์ซันนัลแคร์ ของ เอ็ทน่า เป็น ประกันสุขภาพ ที่มีวงเงินค่ารักษาพยาบาลสูง ทั้งยังครอบคลุมการเจ็บป่วย และ อุบัติเหตุ โดยประกันตั้งครรภ์สำหรับว่าที่คุณแม่ จะให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมในส่วนของค่าใช้จ่ายบางส่วนตามกรมธรรม์กำหนด ทั้งในกรณีการคลอดปกติ การผ่าคลอด การคลอดโดยใช้เครื่องมือ การตั้งครรภ์นอกมดลูก การผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อคลอดลูก การแท้งบุตร ทั้งยังครอบคลุม ค่าคลอดบุตร และ ภาวะคลอดฉุกเฉิน ทำให้อุ่นใจมากขึ้น

สนใจสมัค ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์ แผน บียอนด์เพอร์ซันนัลแคร์ จาก Aetna

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#ประกันบ้าน #ประกันภัยบ้าน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison