อยากลดหย่อนภาษี ซื้ออะไรดี ลดหย่อนได้ ?

สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

อีกหนึ่งหน้าที่สำคัญของคนประชาชนคนไทยที่ประกอบอาชีพและมีรายได้ นั่นก็คือ การเสีย ภาษี เงินได้ ตามที่กฏหมายกำหนด โดยภาษีที่ภาครัฐก็จะนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป แต่ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีเงินได้ และต้องมีการเสียภาษีก็สามารถทำการบริหารจัดการกับภาษีของตนเองได้ อย่างที่เราเข้าใจว่าในการเริ่มต้นบริหาร ภาษี ก้าวแรกที่ง่ายที่สุด คือ การใช้สิทธิ “ลดหย่อนภาษี” เพิ่มเติม แล้วถ้าอยากลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม เราจะทำอย่างไรได้บ้าง ควรซื้อลดหย่อนอะไรเพิ่มดี วันนี้ มาสิ ก็ไม่พลาดที่จะเอาสาระดี  ๆ มาอัพเดทให้ทุกคนได้อ่านกัน

ภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใด ๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

  • บุคคลธรรมดา
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง? 

1.ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง 16 แห่ง หรือ สำนักสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)ทุกแห่งสำหรับในต่างจังหวัดยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่(จังหวัด)และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)ทุกแห่งแล้วแต่กรณี

2.ยื่นแบบแสดงรายการปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใดก็ยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป เว้นแต่เงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายในเดือนกันยายนของปีนั้นก่อนการยื่นภาษีประจำปีตามปกติ

ประกันสุขภาพ ทิพยจัดเต็ม 15,000 อุ่นใจ ใช้ลดหย่อนภาษี

การลดหย่อน ภาษี

ค่าลดหย่อน หรือค่าลดหย่อน ภาษี คือ รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือสิ่งช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลง ซึ่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีวิธีการคำนวณ ดังนี้

รายได้ (ต่อปี) – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

อยากลดหย่อนภาษี ซื้ออะไรดี?

การลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีนั้น ทางที่ดีควรจะกระจายไปในสินทรัพย์ที่มีความหลากหลาย เพราะแต่ละสินทรัพย์จะตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินและประโยชน์ที่แตกต่างกัน หากเราลงทุนผิดพลาดหรือเกิดวิกฤตในช่วงที่ต้องใช้เงิน (ซึ่งผลตอบแทนจากกองทุนอาจไม่ดีนัก และไม่ควรถอนเงินออกมาในช่วงนั้น) เราก็ยังมีเงินจากประกันสะสมทรัพย์ที่ได้เงินออกมาแน่นอนเป็นแผนสำรองได้ ก็จะทำให้ความเสี่ยงไม่กระจุกตัวและแผนการเงินของเราเดินไปได้อย่างมั่นคง

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) สามารถนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% และไม่เกิน 200,000 บาท ของเงินได้ และเมื่อนับรวม กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนห้ามเกิน 500,000 บาท

ในด้านของเครื่องมือในการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีนั้น “กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)” จะเป็นทางเลือกเริ่มต้นสำหรับคนที่เริ่มอยากลงทุน เพราะเงื่อนไขที่เข้าใจไม่ยากจนเกินไปและระยะเวลาการลงทุนที่ 10 ปี ในระยะที่ยาวมากขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนได้ ซึ่ง SSF ไม่มีข้อจำกัดในการลงทุนแต่อย่างใด สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายไม่ว่า ตราสารหนี้ ตราสารทุน กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

ทิพยจัดเต็ม 15,000 ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษี

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถนำเงินลงทุนไปลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% และเมื่อนับรวม กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนห้ามเกิน 500,000 บาท

สำหรับในส่วนของ RMF ถือว่าเป็นกองทุนรวมที่เหมาะกับการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุเป็นอย่างมาก เนื่องจากเงื่อนไขที่ต้องซื้อทุกปี ที่ถือว่าเป็นการทยอยลงทุนอย่างต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี รวมถึงเงื่อนไขการถือที่จะต้องถืออย่างน้อย 5 ปี และขายออกได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น

ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพ สามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อนับรวมกับเบี้ยประกันชีวิตห้ามเกิน 100,000 บาท

ซึ่ง ประกันสุขภาพ นั้น จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนควรมี ยิ่งใครก็ตามที่ไม่มีสวัสดิการประกันกลุ่มต่าง ๆ จากที่อื่น ๆ เลย เนื่องจากประกันสุขภาพเป็นเหมือนเกราะป้องกันเงินออมของเราจากเหตุการณ์เจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆ จนดึงเงินเก็บของเราไปจนหมด โดยประกันสุขภาพก็จะมีให้เลือกหลากหลายประเภทตามความต้องการผู้ซื้อ ซึ่งก็จะมีวัตถุประสงค์และความคุ้มครองที่แตกต่างกัน เช่น

ประกันชีวิตแบบเน้นความคุ้มครองและแบบสะสมทรัพย์

“ประกันชีวิตแบบเน้นความคุ้มครองและแบบสะสมทรัพย์” สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ประกันชีวิตแบบเน้นความคุ้มครอง

สำหรับ “ประกันชีวิตแบบเน้นความคุ้มรอง” นั้น จะเหมาะกับคนที่เป็นเสาหลักของครอบครัว เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาจริง ๆ อย่างน้อยที่สุดครอบครัวจะมีเงินก้อนในการปรับตัวและยังสามารถดำเนินชีวิตต่อได้อย่างไม่สะดุด มีจุดเด่นคือค่าเบี้ยประกันชีวิตต่ำ แต่ความคุ้มครองสูง

ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง ตัวไหนใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

ถ้าเป็นประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากสร้างผลตอบแทนแต่ไม่อยากเสี่ยงมาก ซึ่งประกันสะสมทรัพย์เองอาจจะไม่ได้สร้างผลตอบแทนที่มากนัก แต่ถ้าหากรวมผลประโยชน์จากภาษีเข้าคำนวณด้วยก็ถือว่าให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งข้อดีของประกันสะสมทรัพย์ คือ การที่มีเงินคืนที่ชัดเจนและมีความคุ้มครองเพิ่มเติมขึ้นมา

ประกันชีวิตแบบบำนาญ

ประกันแบบบำนาญเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คล้าย ๆ ประกันสะสมทรัพย์ แต่จะจ่ายเงินให้เราหลังเกษียณทุกปีเหมือนเงินบำนาญ เหมาะสำหรับการใช้ควบคู่กับการวางแผนเกษียณอายุและคนที่ใช้ตัวลดหย่อนอื่นเริ่มเต็มแล้ว ประกันแบบบำนาญก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยได้เช่นกัน

โดย ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อคำนวณรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนห้ามเกิน 500,000 บาท

ขอขอบคุณ : LH Bank

ก่อนจากกันในวันนี้ก็เหมือนอย่างเคย ไม่เพียงแค่สาระดี ๆ ที่ มาสิ ได้หยิบเอามาฝากให้ทุกคนได้อ่าน และได้นำไปใช้ในการดูแลสุขภาพกัน แต่ มาสิ ยังได้หยิบเอากับอีกหนึ่งตัวช่วยในเสริมสาร้างในการดูแลสุขภาพกับ ประกันสุขภาพ จากเอ็ทน่าประกันภัยที่จะช่วยเสริมสร้างความคุ้มครองที่ดีให้กับความเจ็บป่วยทางกาย จะมีความน่าสนใจ หรือรายละเอียดความคุ้มครองอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกัน

ประกันสุขภาพ แผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )

ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )

เอ็ทน่า ประกันภัย
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )

สำหรับ ประกันสุขภาพ เอ็ทน่า เอ็กซ์ตร้าแคร์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีประกันสุขภาพ ประกันสังคม หรือสวัสดิการจากบริษัทอยู่แล้ว แต่อาจมีวงเงินความคุ้มครองไม่เพียงพอ แผนประกันนี้จึงช่วยเติมเต็มวงเงินความคุ้มครองจากสวัสดิการที่มีอยู่ ช่วยชดเชยค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินอีก 80% โดยไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดในแต่ละแผนที่กำหนดไว้ต่อการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บในแต่ละครั้ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน( ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง ) 20,000 บาท
  • ความคุ้มครองเพิ่มเติมอีก 80% ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในส่วนที่เกินจากความรับผิดส่วนแรก ครอบคลุมในส่วนค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดและวิสัญญีแพทย์ ค่าห้องผ่าตัด ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ ค่าธรรมเนียมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสูงสุด 600,000 บาท
  • ค่าห้องผู้ป่วยปกติ สูงสุดต่อวัน 4,000 บาท
  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล( อบ.2* ) กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รายละ 1,000 บาท
  • เบี้ยประกันเริ่มต้น 3,172 บาท
    * อบ.2 คือ ประเภทความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยที่มีรายละเอียดความคุ้มครองคือ (1) การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง, (2) การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง, (3) การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน, (4) การรักษาพยาบาล และ (5) การสูญเสียนิ้ว การสูญเสียการรับฟังเสียง/การพูดออกเสียงและการทุพพลภาพถาวรบางส่วน
สนใจสมัคร ประกันสุขภาพแผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison