เรื่องของอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับเรากันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นจะเป๋นอุบัติเหตุจากการใช้ชีวิตประจำวันหรืออุบัติเหตุจากการทำงานการประกอบ อาชีพ ก็ตาม แต่เรื่องของอุบัติเหตุก็เป็นสิ่งที่เราคาดการณ์ไม่ได้เช่นกัน ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยข้อมูล โดยทาง “กองทุนเงินทดแทน” ได้เปิดสถิติประเภทกิจการที่ เสี่ยงอันตราย เนื่องจากการทำงานมากที่สุด 4 อันดับ พร้อมเปิดเผยจำนวนการประสบ อันตราย หรือ เจ็บป่วย จากประเภทกิจการที่เสี่ยงอันตรายเนื่องจากการทำงานมากที่สุด 4 อันดับสูงสุดในปี 2565 ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง อาชีพ ไหนเข้าข่ายบ้าง ตาม มาสิ ไปดูกัน
กองทุนเงินทดแทน
กองทุนเงินทดแทน เป็นกองทุนที่นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเป็นรายปีให้กับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งนายจ้างแต่ละบริษัทจะจ่ายเงินสมทบไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่งกองทุนเงินทดแทนจะใช้ในกรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต จากการทำงานให้นายจ้างเท่านั้น
เข้าใจง่าย ๆ คือ กองทุนเงินทดแทนเป็นส่วนที่นายจ้างจ่ายเงินสมทบและให้ความคุ้มครองลูกจ้างเฉพาะจากการทำงานเท่านั้น
กองทุนเงินทดแทนคุ้มครองอะไรบ้าง
ค่ารักษาพยาบาล
- ค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง
- หากรุนแรงหรือเรื้อรัง สามารถจ่ายเพิ่มได้อีกตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล หากเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ
ค่าทดแทนรายเดือน
- เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จนเป็นเหตุให้มีการหยุดงาน สูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย จะได้ค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน และไม่น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในท้องที่ที่ลูกจ้างประจำทำงานอยู่โดยได้รับเงินทดแทนสูงสุดไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน
ค่าทำศพ
- จ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพในอัตรา 50,000 บาท
ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน
- กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตรายสำหรับลูกจ้างที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข
ระยะเวลาและสถานที่ในการยื่นเรื่อง
- นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจ แจ้งแบบการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย (กท.16) ณ สำนักงานประกันสังคมที่ลูกจ้างทำงานอยู่ หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนา ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง
- ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิสามารถยื่นคำร้องขอเงินทดแทน ณ สำนักงานประกันสังคม ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบเหตุ
- หรือหากการเจ็บป่วยเกิดขึ้นหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้ยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย
อย่างไรก็ตาม กองทุนเงินทดแทนเป็นส่วนที่นายจ้างจ่ายเงินสมทบและให้ความคุ้มครองเฉพาะจากการทำงานเท่านั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่านายจ้างทุกกิจการจะต้องจ่ายเงินสมทบให้กองทุนเงินทดแทน เพราะบางกิจการก็ได้รับการยกเว้น เช่น
- ราชการส่วนกลาง, ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่นเฉพาะข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ
- รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
- รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ สำหรับลูกจ้างซึ่งมิใช่เป็นการจ้างงานในประเทศ
- ลูกจ้างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กองทุนเงินทดแทน เปิดสถิติ ประเภทกิจการที่เสี่ยงอันตรายเนื่องจากการทำงานมากที่สุด
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยข้อมูล โดยทาง “กองทุนเงินทดแทน” ได้เปิดสถิติประเภทกิจการที่ เสี่ยงอันตราย เนื่องจากการทำงานมากที่สุด 4 อันดับ พร้อมเปิดเผยจำนวนการประสบ อันตราย หรือ เจ็บป่วย จากประเภทกิจการที่เสี่ยงอันตรายเนื่องจากการทำงานมากที่สุด 4 อันดับสูงสุดในปี 2564 ซึ่งพบว่า อาชีพ ก่อสร้างอาคาร เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงเป็นอันดับ 1 โดยมีอาชีพอื่นๆ ดังนี้
1️. ก่อสร้างอาคาร (4,516 ราย) ร้อยละ 5.77
2️. ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานยนต์ (2,014 ราย) ร้อยละ 2.57
3️. การกลึงกัดไสโลหะ (1,623 ราย) ร้อยละ 2.07
4️. ก่อสร้างถนน สะพาน และอุโมงค์ (1,481 ราย) ร้อยละ 1.89
จังหวัดที่มีจำนวนการประสบ อันตราย หรือ เจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานสูงสุด
1️. กรุงเทพมหานคร จำนวน 18,445 ราย (ร้อยละ 23.57)
2️. สมุทรปราการ จำนวน 9,191 ราย (ร้อยละ 11.75)
3️. ชลบุรี จำนวน 5,977 ราย (ร้อยละ 7.64)
4️. สมุทรสาคร จำนวน 5,916 ราย (ร้อยละ 7.56)
5️. ปทุมธานี จำนวน 3,869 ราย (ร้อยละ 4.94)
สรุป จังหวัด ที่มีจำนวนการประสบ อันตราย สูงสุด ในประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงสูง
1️. ประเภทกิจการ ก่อสร้างอาคาร กรุงเทพมหานคร 1,835 ราย (40.63%)
2️. ประเภทกิจการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานยนต์ สมุทรปราการ 516 ราย (25.62%)
3️. ประเภทกิจการการกลึงกัดไสโลหะ สมุทรปราการ 487 ราย (30.01%)
4️. ประเภทกิจการก่อสร้างถนน สะพานและอุโมงค์ กรุงเทพมหานคร 572 ราย (38.62%)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสังคม ได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอขอบคุณ :ไทยรัฐออนไลน์ และ คมชัดลึก
เรื่องของอุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่ใครก็ต่างไม่อย่างที่จะให้เกิดขึ้นกับเรากันทั้งนั้น แต่แม้อุบัติเหตุจะเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่จะดีกว่าหรือไม่หากเรามีการเตรียมความรับมือกับทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยกับ ประกันอุบัติเหตุ เริ่มต้นเพียงวันละ 3 บาท คุ้มครองครบทั้ง กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การฟัง การพูดออกเสีย หรือทุพพลภาพ สูงสุด 800,000 บาท พร้อมรับชดเชยรายได้ ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล สูงสุด1,000 บาทต่อวัน
ประกันอุบัติเหตุ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ทิพยประกันภัย
แบบพิเศษ แผน PA PLUS
ประกันอุบัติเหตุ เบี้ยประกัน เริ่มต้นเพียงวันละ 3 บาท คุ้มครองครบทั้ง กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การฟัง การพูดออกเสีย หรือทุพพลภาพ สูงสุด 800,000 บาท พร้อมรับชดเชยรายได้ ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล สูงสุด1,000 บาทต่อวัน รายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้
ข้อตกลงความคุ้มครอง | แผนประกันภัยผู้เอาประกันภัย | |||
แผน 1 | แผน 2 | แผน 3 | แผน 4 | |
1. การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟัง การพูดออกเสียง หรือทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ (อบ.2) – ขยายความคุ้มครองการฆาตกรรมลอบทำร้าย และอุบัติเหตุขณะขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ | 200,000 | 400,000 | 600,000 | 800,000 |
2. การรักษาพยาบาล (ค่าอุบัติเหตุแต่ละครั้ง) ขยายความคุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ | 10,000 | 20,000 | 30,000 | 40,000 |
3.ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล – ขยายความคุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสาร รถจักรยานยนต์ (สูงสุด 365 วัน ต่ออุบัติเหตุ) | 500 ต่อวัน | 500 ต่อวัน | 1,000 ต่อวัน | 1,000 ต่อวัน |
4.ค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพ กรณีเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วย (ระยะเวลารอคอย 180 วัน สำหรับกรณีเสียชีวิตเนื่องมาจากการเจ็บป่วย) | 10,000 | 10,000 | 20,000 | 20,000 |
เบี้ยประกันภัยรายปี (บาท) | 870 | 1,310 | 2,030 | 2,460 |
ความคุ้มครอง
- การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟัง การพูดออกเสียง หรือทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ (อบ.2) (ขยายความคุ้มครอง ฆาตรกรรมลอบทำร้ายและอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
- การรักษาพยาบาล (ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง) ขยายความคุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
- ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ขยายความคุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ (สูงสุด 365 วันต่ออุบัติเหตุ)
- ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพกรณีเสียชีวิตจากการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย (ยกเว้นกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยระยะเวลา 180 วันแรก)
เงื่อนไขการรับประกัน
- สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 15 – 60 ปีบริบูรณ์ ขณะขอเอาประกันภัย
- ผู้ขอเอาประกันภัยทุกรายต้องกรอกใบคำขอและผ่านการพิจารณาตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
- อาชีพที่ไม่รับประกันภัย : จักรยานยนต์รับจ้าง, คนงานก่อสร้าง, ช่างยนต์, กรรมกร, พนักงานเหมือง, ชาวประมง, พนักงานทำความสะอาดกระจกรวมถึงอาคารสูง, ช่างไฟฟ้า, ยาม, พนักงานดับเพลิง, พนักงานสตั๊นท์แมน, พนักงานขับรถโดยสาร, คนขับรถแท็กซี่ หรือรถขนส่งประจำทาง, นักแข่งรถ, นักมวย, นักประดาน้ำ, นักปีนเขา, พนักงานขุดเจาะ, คนขับเรือ, อาสาสมัครกู้ภัย, พนักงานติดตั้งเสาอากาศหรือป้ายโฆษณา, นักศึกษาแผนกช่าง, พนักงานส่งเอกสาร, คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือผลิตแก๊ส หรืออาชีพอื่นที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน
สนใจสมัครประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันอุบัติเหตุ
- เช็กสิทธิ “ประกันสังคม” กองทุนเงินทดแทนช่วยเหลือลูกจ้าง เมื่อเกิดเหตุร้ายจากการทำงาน หากมี ประกันอุบัติเหตุ ก็คุ้มครอง
- เช็กให้ชัวร์! อาชีพ ที่ประกันอุบัติเหตุ อาจไม่รับทำ มีอะไรบ้าง
- ฝันว่าจมน้ำ ฝันว่าตกน้ำ ฝันเห็นคนจมน้ำ ทำนายฝันว่าอะไร ตีเลขหวย เลขเด็ด อะไรบ้าง
- ประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองความเสี่ยง มีไว้อุ่นใจกว่า
- เปิดเหตุผลดีๆ เหตุใด เราต้องควรมีประกันอุบัติเหตุ
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#สินเชื่อ #สินเชื่อส่วนบุคคล
#ประกัน #สินเชื่อประกันการเดินทาง
#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล
#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์
#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii
#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison