โรคขี้เรื้อนแห้ง VS โรคขี้เรื้อนเปียก  ใน สุนัข โรคผิวหนังร้าย ทาสทั้งหลายควรระวัง

สุนัข
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสของความต้องการที่จะมีลูกในครอบครัวของคนยุคใหม่เริ่มที่จะมีอัตราการเกิดที่ลดลงประกอบกับด้วยปัญหาต่าง ๆ มากมายที่ต้องประสบพบเจอในแต่ละวันทำให้พฤติกรรมและวิถีชีวิตของคนเราในยุคสมัยใหม่นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ด้วยความที่ต้องประสบพบเจอกับปัญหาต่าง ๆ รายวัน ย่อมที่จะส่งผลกระทบและผลเสียต่อสภาพจิตใจเรากันเป็นอย่างมาก ผู้คนต่าง ๆ จึงมักที่จะหันไปหาทางเลือกในการช่วยให้ผ่อนคลายด้วยวิธีการต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเดินทางท่องเที่ยว การได้กินของอร่อย หรือแม้แต่การมีเพื่อนที่คอยอยู่เคียงไม่ว่าจะสุขหรือเศร้า อย่างสัตว์เลี้ยง ที่ผู้คนเริ่มที่จะใส่ใจ และให้ความมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา ดังนั้นแล้ว เมื่อการที่เราได้รับเขาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เราก็อยากที่จะทุ่มเทและดูแลเขาให้เต็มที่ วันนี้ มาสิ จึงได้หยิบกับอีกหนึ่งสาระดี ๆ กับโรคผิวหนังใน สุนัข ที่เรารู้จักกันดีอย่าง “โรคขี้เรื้อน” ที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่อากาศอับชื้นแบบนี้ ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น เหล่าทาสน้องหมาทั้งหลายจงระวังให้ดีแล้วไปติดตามอ่านกัน

โรคเรื้อน สุนัข  หรือ โรคไรขี้เรื้อน

ปัญหาโรคผิวหนังใน สุนัข นั้นเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหากวนใจอันดับต้น ๆ ของเหล่าทาสทั้งหลายเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะทำให้ขนสวย ๆ ของน้องหมาแสนรักหลุดร่วง ดูไม่น่ารักแล้ว ยังสร้างความรำคาญและความไม่สบายตัวให้กับ สุนัข ของเราอีกด้วย โดยสำหรับโรคผิวหนังในสุนัขที่พบมากที่สุดเลยก็คงหนีไม่พ้น “โรคเรื้อนสุนัข” หรือ “โรคไรขี้เรื้อน” วันนี้ มาสิ เลยจะพาทุกคนมารู้จักกับโรค นี้กันพร้อมกันกับวิธีการรับมือเพื่อปกป้องน้องหมาของเรากัน

โรคเรื้อนสุนัข คือ โรคผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากปรสิตภายนอกอย่าง ตัวไร (Mite) โดยสามารถแบ่งได้เป็นสองชนิดด้วยกันคือ ไรขี้เรื้อนซาร์คอพเตส (Sarcoptes scabiei) ที่ก่อให้เกิดโรคไรขี้เรื้อนแห้ง และอีกหนึ่งชนิดก็คือ  ไรขี้เรื้อนดีโมเด็กซ์ (Demodex canis) ก่อให้เกิดโรคไรขี้เรื้อนเปียก โรคเรื้อนในสุนัข มีด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่ โรคขี้เรื้อน แห้ง และขี้เรื้อนเปียก โดยเกิดจากปรสิตต่างชนิดกัน ดังนี้

โรคขี้เรื้อนแห้ง (Canine scabies)

โรคขี้เรื้อนแห้งเกิดจาก Sarcoptes scabiei เป็นตัวไรขี้เรื้อนที่ทำเกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรง เจ้าตัวไรขี้เรื้อนชนิดนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า โดยเจ้าไรที่ว่านี้สามารถสืบพันธุ์ออกไข่ ออกลูกหลานได้อีกมากมายเรียกว่าอาศัยอยู่บนผิวหนัง สุนัข เป็นชุมชนกันเลยทีเดียว โดยบริเวณที่พบได้บ่อย คือ ขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอก และข้อเท้าของขาหลังด้านนอก ซึ่ง สุนัข จะคันมาก และเกาจนผิวหนังอักเสบ คันจนไม่สามารถใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างปกติ ทำให้เกิดความเครียด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางตัวขนร่วง มีตุ่มแดง สะเก็ดรังแค (scale) เกิดคราบสะเก็ดแห้งกรัง (crust) หรือเกิดลักษณะผิวแห้งหนา (lichenification) ร่วมด้วย

ในกรณีที่เลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ต้องพาสัตว์เลี้ยงที่มีอาการ โรคขี้เรื้อน ทุกตัวมารักษาด้วย เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ติดต่อกันได้ไวมาก มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงสุนัขได้เรื่อย ๆ ที่สำคัญควรเจ้าของควรหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับน้องหมาชั่วคราว เพราะโรคขี้เรื้อนแห้งสามารถติดคนได้

การรักษา

การรักษามีหลายวิธีขึ้นอยู่กับตัวสัตว์ และงบประมาณของเจ้าของ โดยเลือกใช้วิธีการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1.ฉีดยา ivermectin ทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 2-3 ครั้ง แต่วิธีนี้ห้ามใช้ในสุนัขบางพันธุ์ เช่น Collie, Old English sheepdog,

Shetland sheepdog, Australian Shepherds ฯลฯ และพันธุ์ลูกผสมของพันธุ์ดังกล่าว เพราะเป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อยาสูง อาจเสี่ยงแพ้ยาได้ง่าย วิธีนี้ราคารักษาค่อนข้างถูกกว่าวิธีอื่น ๆ แต่จัดเป็นยานอกทะเบียนในสุนัข (extra-label use) ต้องใช้ตามคำแนะนำของคุณหมอเท่านั้น

2.ใช้วิธีหยดหลังด้วยยา selamectin ทุก 2 สัปดาห์ ติดต่อกัน 3 ครั้ง สามารถใช้ได้ในสุนัขพันธุ์เสี่ยงดังกล่าวได้

3.ใช้ยา moxidectin+imidaclopid หยดหลังติดต่อกัน 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์ สามารถใช้ได้ในสุนัขพันธุ์เสี่ยงดังกล่าวได้เช่นกัน

4.ใช้วิธีการป้อนยา afoxolaner หรือ afoxolaner plus milbemycin oxime chewable tablets เดือนละ 1 ครั้งต่อเนื่องกัน 2 เดือน วิธีนี้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงกว่าวิธีอื่น ๆ เล็กน้อย แต่สามารถใช้ในสุนัขพันธุ์เสี่ยงได้

นอกจากนี้ ให้อาบน้ำ หรือฟอกบริเวณที่เป็นด้วยแชมพูที่มีส่วนผสมของ benzoyl peroxide หรือ chlorhexidine โดยผสมแชมพูรวมกับน้ำ แล้วฟอกที่บริเวณรอยโรคทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างออก ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เจ้าของอาจต้องโกนขนหรือตัดขนบริเวณรอยโรคให้สั้น เพื่อให้ตัวยาในแชมพูสัมผัสกับรอยโรคได้ดี

ในรายที่มีอาการคัน แนะนำให้ยาลดอาการคัน ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกันเช่น Chlorpheniramine, Hydroxyzine และ Oclacitinib maleate (Apoquel) เป็นต้น โดยให้ตามอาการคัน หรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ หลังจากรักษาทางยากินและยาใช้ภายนอก อาการคันจะลดลงใน 1-2 สัปดาห์ วิการจะดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ โดยระยะการรักษาจนหายดีใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน

โรคขี้เรื้อนเปียก (Canine demodicosis)

โรคขี้เรื้อนเปียก หรือโรคขี้เรื้อนขุมขน เกิดจากตัวไรขี้เรื้อน Demodex canis, Demodex injai หรือ Demodex cornei เป็นไร 8 ขาที่มีขนาดเล็กมาก รูปร่างยาวรี โดยตามธรรมชาติแล้ว พบได้ทั่วไปในสุนัขทุกตัว และมักไม่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังตราบใดที่มันยังมีจำนวนน้อย และสัตว์มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงปกติดี ไรตัวนี้จะอาศัยอยู่ในรูขุมขน บริเวณใบหน้า หัว รอบตา ลำตัว ขา ฝ่าเท้า และอุ้งเท้า คอยอาศัยส่วนของเยื่อบุของ follicle ตรงรูขุมขนเป็นอาหาร ทำให้น้องเกิดอาการขนร่วง มีเม็ดตุ่ม มีตุ่มหนอง ผิวหนังเยิ้มแฉะ มีแผลหลุม มีแผลโพรงทะลุ มีกลิ่นตัว (กลิ่นคาวปลาเค็ม) เกิดรูขุมขนอักเสบ (Folliculitis) ตามมาได้

บางรายอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือยีสต์แทรกซ้อน ทำให้เกิดอาการคันและเกา อาจพบอาการทางระบบ (systemic) ตาม มาได้ เช่น เบื่ออาหาร ซึม น้ำหนักลด และมีไข้ หากเป็นเรื้อรังจะพบเป็นสะเก็ดแห้งกรัง (crust) มีหนองหรือเลือดออกทั่วร่างกาย รวมทั้งอาจมีต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย (Polylymphadenopathy) อีกด้วย ทั้งนี้ เราจะแบ่งประเภทของโรคไรขี้เรื้อนเปียกออกได้อีกเป็น 2 แบบ คือ

1.แบบที่เป็นเฉพาะที่ มักพบรอยวิการเกิดเป็นหย่อม ๆ ที่บริเวณใบหน้า หัว รอบตา แก้ม เหนือคิ้ว ขาหน้า จำนวนของรอยโรคจะไม่เกิน 3-5 ตำแหน่ง โดยสุนัขจะมีขนร่วง ผิวหนังแดง คันและเกา มีแผลอักเสบ เป็นตุ่มแดง ๆ เล็ก ๆ โดยปกติแล้วรอยโรคจะเกิดขึ้นเองและจะหายไปเองได้ภายใน 3-8 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้ถ้ามีอาการอักเสบมีตุ่มหนองด้วยต้องรีบพาสุนัขไปหาสัตวแพทย์ เพราะจะลุกลามเป็นแบบกระจายได้ มักพบในลูกสุนัข อายุ 3-6 เดือน หากเป็นประเภทนี้การพยากรณ์โรคจะดี บางรายอาจหายได้เอง แต่บางรายอาจพัฒนากลายเป็นแบบกระจายทั่วตัวได้

2.แบบกระจายทั่วตัว มักพบรอยวิการที่บริเวณใบหน้า หัว รอบตา ลำตัว ขา ฝ่าเท้า และอุ้งเท้า กระจายเป็นบริเวณกว้าง สามารถพบได้ในสุนัขที่มีอายุระหว่าง 3-18 เดือน และสามารถพบได้ในสุนัขที่โตเต็มที่แล้ว

การรักษา

การรักษามีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับงบประมาณของเจ้าของและตัวสัตว์เองอีกเช่นกัน โดยเราสามารถเลือกใช้วิธีการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1.ฉีดยา ivermectin ตามพิจารณาของสัตวแพทย์ โดยรักษาต่อเนื่อง 1-2 เดือน จนกว่าจะตรวจไม่เจอ 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ จึงสามารถหยุดการรักษาได้ สำหรับยา ivermectin ให้ระวังในสุนัขพันธุ์เสี่ยงด้วยค่ะ

2.ใช้วิธีการป้อนยา afoxolaner หรือ afoxolaner plus milbemycin oxime chewable tablets เดือนละ 1 ครั้งต่อเนื่องกัน 2 เดือน

วิธีนี้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงกว่าวิธีอื่น ๆ เล็กน้อย แต่สามารถใช้ในสุนัขพันธุ์เสี่ยงได้

3.ใช้การหยอดหลังด้วยยา moxidectin+imidaclopid ทุก ๆ 4 สัปดาห์ เป็นเวลา 2-4 เดือน

4.ใช้การพ่นหรือทายา amitraz บนตัวน้องหมาทุก ๆ สัปดาห์ โดยแนะนำให้ตัดขนให้สั้นก่อน เพื่อให้ยาสัมผัสกับรอบโรคได้ดียิ่งขึ้นและควรสวมปลอกคอกันเลีย เพื่อป้องกันสุนัขเลียรับเอาสารพิษจากยาเข้าสู่ร่างกายทางปากด้วย

นอกจากนี้ ให้อาบน้ำ หรือฟอกบริเวณที่เป็นด้วยแชมพูที่มีส่วนผสมของ benzoyl peroxide หรือ chlorhexidine โดยผสมแชมพูรวมกับน้ำ แล้วฟอกที่บริเวณรอยโรคทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างออก ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เจ้าของอาจต้องโกนขนหรือตัดขนบริเวณรอยโรคให้สั้น เพื่อให้ตัวยาในแชมพูสัมผัสกับรอยโรคได้ดี

ในรายที่มีอาการคัน แนะนำให้ยาลดอาการคัน ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกันเช่น Chlorpheniramine, Hydroxyzine และ Oclacitinib maleate (Apoquel) เป็นต้น โดยให้ตามอาการคัน หรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ หลังจากรักษาทางยากินและยาใช้ภายนอก อาการคันจะลดลงใน 1-2 สัปดาห์ วิการจะดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ โดยระยะการรักษาจนหายดีใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน

ยาแต่ละตัวที่ได้กล่าวไปนี้ มีผลข้างเคียงและข้อคำนึงในการใช้ไม่เหมือนกัน ควรต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของคุณหมอเท่านั้น ห้ามซื้อมาใช้เองเป็นอันขาด และในการรักษา เราอาจต้องพาน้องหมามาขูดตรวจซ้ำเป็นประจำทุก ๆ เดือน หากขูดตรวจไม่พบตัวไรแล้ว ให้ทำการรักษาต่อไปอีก 4 สัปดาห์ แล้วขูดตรวจซ้ำเป็นครั้งที่สอง หากไม่พบอีกจึงค่อยหยุดการรักษา

ขอขอบคุณ : บ้านและสวน PETS และ สพ.ญ. เณศรา ชมวิวัฒน์

ยิ่งช่วงนี้สภาพอากาศแปรปรวนบ่อย ฝนตกชุกมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่า เหล่าทาสอย่างเราทั้งหลายจึงต้องมีการดูแลและใส่ใจในส่วนของความสะอาดให้กับเหล่าสุขันที่รักของเรากันมากขึ้นเป็นเท่าตัวกันไปอีก เพื่ออย่างน้อยเหล่าสุนัขที่รักทั้งหลายของเราจะได้ไม่ต้องมา ทนทุกข์ทรมานกับอาการคันที่ต้องเจอ และเราก็จะได้ไม่ต้อมาเสี่ยงติดโรคผิวหนังไปกับเหล่าสุนัขของเราด้วย

และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาระดี ๆ ที่ มาสิ ได้เอามาฝากให้เหล่าทาสทั้งหลายได้เพิ่มเติมความรู้และนำ ไปปรับใช้ดูแลกับเหล่าเจ้านายตัวน้อยของเรากัน และก่อนจากกันอย่างที่คุ้นเคยกันอยู่เสมอมา ไม่เพียงสาระดี ๆ ที่ มาสิ ได้เอามาฝากกันในวันนี้ ยังมีอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ ที่จะช่วยเสริมความคุ้มครอง ให้กับเหล่าสัตว์เลี้ยงของเราได้อย่างเต็มที่กับประกันสัตว์เลี้ยงทิพยคนรักสัตว์เลี้ยง TIP Pet Lover ที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ไม่ต้องฝังไมโครชิพ คุ้มครองทั้งเจ็บไข้ได้ป่วยและบาดเจ็บ โดยจะคอยดูแลค่ารักษาพยาบาล รวมถึงยังคุ้มครองบุคคลภายนอก กรณีที่สัตว์เลี้ยงของเราไปสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ซึ่งรายละเอียดความคุ้มครองจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกัน!

ทิพยคนรักสัตว์เลี้ยง TIP Pet Lover

เป็นอีกหนึ่งประกันสัตว์เลี้ยง ที่รับสัตว์เลี้ยงที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือน-7 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ไม่ต้องฝังไมโครชิพ  ช่วยคุ้มครองดูแลสัตว์เลี้ยงแสนรักเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย โดยจะคอยดูแลค่ารักษาพยาบาล รวมถึงยังคุ้มครองบุคคลภายนอก กรณีที่สัตว์เลี้ยงของเราไปสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย หรือจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
  • การรับผิดต่อบุคคลภายนอก ได้แก่ชีวิต และร่างกายของบุคคลภายนอกเนื่องมาจากสัตว์เลี้ยง หรือ ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเนื่องมาจากสัตว์เลี้ยง
  • ค่าใช้จ่ายในพิธีศพสัตว์เลี้ยง ความคุ้มครองเพิ่มเติมจากประกันสัตว์เลี้ยง
  • กรณีสัตว์เลี้ยงเสียชีวิตจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย
  • ค่าวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์เลี้ยง
  • ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา/การประกาศเพื่อติดตามสัตว์เลี้ยงที่สูญหาย
  • ผลประโยชน์ค่ารับฝากเลี้ยงกรณีเจ้าของไปต่างประเทศ
    ประกันสัตว์เลี้ยง ทิพยคนรักสัตว์เลี้ยง TIP Pet Lover
    ประกันสัตว์เลี้ยง ทิพยคนรักสัตว์เลี้ยง TIP Pet Lover

ทุกการจากลา เป็นเรื่องยากเสมอสำหรับที่ต้องทำใจ ต่อให้เราพยายามที่จะรั้งเขาไว้แค่ไหน สุดท้ายเราก็รั้งเขาไว้ได้แค่เพียงความทรงจำ มาเปลี่ยนการจากลาให้เป็นสิ่งที่มีความค่า และนำพาซึ่งความสุขมาให้เรากันเถอะ แม้ตัวจะจากไปแต่ใจเรายังคงใกล้กันเสมอ

สนใจทำประกันสัตว์เลี้ยง

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสัตว์เลี้ยง

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison