รถไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่

รถไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่
รถไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า พ.ร.บ. รถยนต์ นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากต่อผู้ขับขี่รถยนต์ในปัจจุบัน ทั้งยังเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องทำ พ.ร.บ.รถยนต์ เพราะเป็นการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่จะช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุนั่นเอง แล้วหากรถไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่ เราไปหาคำตอบพร้อมกับ masii กันเลยค่ะ

รถไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่

รถไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่

1. มีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท

หากนำรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. ออกมาใช้บนท้องถนน หรือเป็นรถยนต์ที่ พ.ร.บ. หมดอายุ หากมีเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ จะมีโทษทางกฎหมาย และถูกเรียกปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท

2. ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้

การต่อภาษีรถยนต์หรือต่อทะเบียนรถยนต์ จำเป็นต้องใช้เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ แนบไปด้วย หากรถยนต์คันดังกล่าวไม่มี พ.ร.บ. หรือ พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้ และหากปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาดนานกว่า 3 ปี ก็จะส่งผลให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับถาวร ต้องไปขอป้ายทะเบียนใหม่ พร้อมกับเสียค่าเดือนละ 1% สำหรับการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลัง

รถไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่

3. ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์

หากรถยนต์คันที่ไม่มี พ.ร.บ. ประสบอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี ผู้ประสบภัย (ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) จะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ จาก พ.ร.บ.รถยนต์ และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด แต่หากรถยนต์คันที่ไม่มี พ.ร.บ. ทำให้คู่กรณีหรือบุคคลภายนอกได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ชีวิต คู่กรณีสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้น ได้จากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ โดยทางกองทุนจะชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ประสบภัยไปก่อนแล้วจะไปไล่เบี้ยคืนจากเจ้าของรถ โดยบวกเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมทั้งค่าปรับที่ไม่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ และค่าปรับที่นำรถที่ไม่มี พ.ร.บ.มาใช้ เป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท

4. หากเป็นฝ่ายถูกในอุบัติเหตุ สามารถเบิกพ.ร.บ.ของคู่กรณีได้

แต่ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายถูกในอุบัติเหตุ แม้รถยนต์คันที่ประสบภัยจะไม่มี พ.ร.บ. ก็สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้กับทางฝั่งของคู่กรณีเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น คือค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท หรือเงินชดเชยกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพคนละ 35,000 บาท

รถไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่

5. ยังได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ในกรณียกเว้น

แต่หากรถยนต์คันที่ไม่มี พ.ร.บ. เข้าข่ายในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ประสบภัยจากรถสามารถเรียกร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้

  • ผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่มีประกันภัย พ.ร.บ. และเจ้าของรถไม่ยอมจ่าย
  • มีผู้ประสบภัยจากรถที่ถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลัก ชิง ปล้น หรือรีดเอาทรัพย์ และได้แจ้งความไว้แล้ว
  • มีผู้ประสบภัยจากรถไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถ และรถนั้นไม่มีประกันภัย พ.ร.บ.
  • มีผู้ประสบภัยจากรถชนแล้วหนี หรือไม่ทราบว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด
  • บริษัทประกันภัยไม่จ่าย หรือจ่ายไม่ครบจำนวน
  • มีผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับการยกเว้นและไม่ได้จัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ไว้

รถไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่

6. ผู้ประสบภัยเบิก พ.ร.บ. ก่อนได้ แต่ว่าต้องจ่ายเงินคืนให้กับกองทุนทดแทน

แม้ว่ารถยนต์คันที่เกิดอุบัติเหตุจะไม่มี พ.ร.บ. ทำให้ผู้ประสบภัยจากรถไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยได้ แต่ก็สามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เพื่อเป็นการเยียวยาผู้ประสบภัยภัยจากรถให้สามารถได้รับการรักษาพยาบาลหรือได้รับการจัดการศพได้อย่างทันท่วงที แต่เมื่อกองทุนฯ จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว จะไล่เบี้ยเรียกคืนเงินที่จ่ายไปพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 20 จากเจ้าของรถหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย

รถไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่

เมื่อเพื่อนๆ ได้ทราบกันไปแล้วว่าหาก รถไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่ หากใครที่รู้ตัวว่า พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ ใกล้หมดอายุแล้วละก็ อย่าลืมรีบไป ต่อ พ.ร.บ. กันด้วยนะจ๊ะ หรือสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ กับทางมาสิได้เลย

สนใจ ซื้อ พ.ร.บ รถยนต์

regis-but
สนใจสมัคร

และสำหรับใครที่ต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อประกันรถยนต์กับมาสิได้ง่ายๆ หรือโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันบิ๊กไบค์ ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะcar insurance banner