
การทำ พ.ร.บ. รถยนต์ และ พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซคื สำหรับเจ้าของรถยนต์และเจ้าของรถมอเตอร์ไซคืนั้นเป็นสิ่งที่ควรต้องทำอยุ่แล้ว เพราะ พ.ร.บ. ไม่ใช่เพียงแต่เป็นป้ายที่ไว้ติดรถ แต่นั่นคือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่รถยนต์ทุกคันจะต้องมีไว้ครับ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นเมื่อไหร่ พ.ร.บ. ก็จะเข้ามามีบทบาทในทันที และพ.ร.บ. คือสิ่งที่กฏหมายได้บังคับไว้ว่า ทุกคนต้องมี พ.ร.บ. ซึ่งเป็นเหมือนการทำประกันให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกายอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ แต่ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ และให้ความคุ้มครองอย่างไรนั้น ตาม masii ไปดูกันเลย ว่า มี พ.ร.บ. ติดรถไว้ มีประโยชน์ อย่างไรบ้างนะ
มันมีประโยชน์กว่าที่คิด ถ้าหากเรามี พ.ร.บ. ติดรถไว้
พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร
เรามาทำความรู้จัก พ.ร.บ. รถยนต์กันก่อนดีกว่าครับ สำหรับ พ.ร.บ.รถยนต์ นั้นคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่หลายคนเรียกกันว่า ประกันรถยนต์ภาคบังคับ เพราะเป็นสิ่งที่ให้การประกันภัยต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถ ได้แก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก โดยจะให้การชดเชยเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ เป็นต้น
พ.ร.บ.รถยนต์ มีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่อย่างไร
แล้ว หากทำ พ.ร.บ. ไว้ พ.ร.บ. จะมีประโยชน์อย่างไรบ้างนะ แล้วเวลาไหน พ.ร.บ. จะเข้ามามีบทบาท เรามาดูกันดีกว่า ว่าพ.ร.บ. จะมีบทบาทอย่างไรบ้างนะ
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า พ.ร.บ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองต่อผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งรวมทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก โดยความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์ แบ่งเป็น ค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น
เมื่อเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นนั้น ในเบื้องต้นเราอาจจะยังไม่ทราบว่า ใครเป็นฝ่ายถูกหรือผิด แต่หากรถยนต์ของเรา ได้ทำ พ.ร.บ. ไว้อยู่แล้วแม้ว่าผู้ประสบภัยจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก ก็สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้ ดังนี้
ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) สูงสุดคนละไม่เกิน | 30,000 บาท |
กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชยคนละ | 35,000 บาท |
หากเกิดความเสียหายทั้ง 2 กรณีรวมกัน ค่าเสียหายรวมกันแล้วต้องไม่เกินคนละ | 65,000 บาท |
ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม
ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม เป็นค่าชดเชยส่วนเกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับการชดเชยเพิ่มเติมในภายหลัง หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถพิสูจน์หลักฐานได้แล้วว่าฝ่ายผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น จึงจะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ ดังนี้
ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) เพิ่มได้สูงสุดไม่เกิน | 80,000 บาท |
กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้เงินชดเชยเพิ่มเติมคนละ | 500,000 บาท |
หากสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป คือ สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งข้อเท้า หรือขา หรือสายตา (ตาบอด) หรืออย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยคนละ |
500,000 บาท |
กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน คือ สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งข้อเท้า หรือขา หรือสายตา (ตาบอด) หรือหูหนวก เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือสูญเสียอวัยวะอื่นใด ได้รับเงินชดเชยคนละ | 250,000 บาท |
กรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว ได้รับเงินชดเชยคนละ | 200,000 บาท |
ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชยคนละ | 300,000 บาท |
ค่าชดเชยรายวัน กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน | 200 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 20 วัน) |
จากความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่มาสิได้กล่าวไปข้างต้น จะเห็นว่าให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและร่างกายทั้งของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ดังนั้นหากใครที่รู้ตัวว่า พ.ร.บ.รถยนต์ ใกล้หมดอายุ ก็อย่าลืมไปต่อ พ.ร.บ.กันด้วยนะ เพราะถ้ารถยนต์ไม่มี พ.ร.บ. ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองต่างๆ ดังที่มาสิบอกไป หากใครสนใจซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ.กับมาสิได้ง่ายๆ
สนใจซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์

แต่หากใครที่อยากได้ความคุ้มครองเพิ่มเติม สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อสมัครประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิ หรือหากต้องการสอบถามรายละเอียดของประกันรถยนต์ สามารถโทร.มาพูดคุยกับทีมงานมาสิได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลย