นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่ายินดีสำหรับเดือนแห่งความเท่าเทียม หรือ Pride Month กับมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ที่กฏหมายฉบับนี้จะเป็นสิ่งที่ทะลายกำแพงและเอื้ออำนวยให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและเพศอื่นๆได้รับเท่าเทียมกัน ซึ่งรายละเอียดความเห็นชอบ ขั้นตอนและกระบวนการทางกฏหมายขั้นถัดไป ตลอดจนรายละเอียดสิทธิประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนคนไทยจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ masii ได้เอามาอัพเดทให้ทุกคนได้อ่านกัน
ขอขอบคุณ : ไทยรัฐ ออนไลน์ และ Thai PBS
masii ชวนรู้! “พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม” หลังผ่านความเห็นชอบจากมติสภา…คู่รัก LGBTQIAN+ ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
รู้จัก “กม.สมรสเท่าเทียม” คืออะไร?
สมรสเท่าเทียม คือ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการสร้างครอบครัวโดยไม่จำกัดเพศ ซึ่ง ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เคยเป็นร่างกฎหมายที่พรรคก้าวไกลยื่นร่างต่อสภาฯ ในปี พ.ศ.2563 ก่อนที่จะผ่านวาระแรกพร้อมกับร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมทางเพศ ทั้งหมดจำนวน 4 ฉบับ เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดต่างๆ ในการสมรส จดทะเบียนสมรส และใช้ชีวิตคู่เป็นคู่สมรส ไม่ว่าบุคคลเพศสภาพใดเมื่อสมรสกัน ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่กฎหมายรองรับ โดยไม่จำเป็นว่าคู่สมรสนั้นต้องเป็นชายและหญิงเท่านั้น ทำให้มีการร่างข้อกฎหมายที่แก้ไขถ้อยคำระบุรายละเอียดให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
กฏหมาย “สมรสเท่าเทียม” ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- บุคคล 2 ฝ่ายทุกเพศสามารถสมรสกันได้ โดยต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- สถานะเป็น “คู่สมรส” แทนคำว่า “สามีภริยา”
- ส่วนสิทธิประโยชน์สมรสเท่าเทียม “คู่สมรส”
- สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส
- สิทธิรับบุตรบุญธรรม
- สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย
- สิทธิได้รับประโยชน์ และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิประกันสังคม
- สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
ที่ประชุม สว.เห็นชอบ ร่างกม.สมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้ปลายปีนี้
สมรสเท่าเทียม เป็นหนึ่งในกฎหมายที่ใช้เวลาพูดคุย เสวนา และต่อสู้มากว่า 23 ปี โดยการเสนอร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ต่อสภา และได้รับการถูกบรรจุวาระแรกได้นั้นก็เป็นในปี 2565 หรือเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้น สภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) จำนวน 39 คน เพื่อพิจารณาศึกษารายละเอียดข้อกฎหมายทั้งหมด โดยวันที่ 27 มีนาคม มีการพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 สภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สมสรเท่าเทียม ที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมสภามีมติ เห็นด้วย 400 เสียง ไม่เห็นด้วย 10 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 3 เสียง
และล่าสุด เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.67 ที่ผ่านมา หลังจากที่ประชุมวุฒิสภา (สว.) มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 2-3 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง และงดออกเสียง 18 เสียง โดยไม่มีการแก้ไข ทำให้กลุ่ม LGBTQIAN+ ทั้งภาคประชาชนและรัฐบาลต่างจัดงานเฉลิมฉลอง รวมถึงนานาชาติที่ร่วมแสดงความยินดีกับประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย และเป็นก้าวสำคัญของสังคมไทย ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นประเทศแรกในอาเซียน และได้ใช้สิทธิของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
ทั้งนี้ หลังที่ประชุม วุฒิสภาเห็นชอบ ร่างกฎหมายดังกล่าว โดยไม่มีการแก้ไข ให้ นายกฯ, สส. หรือ สว. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างกฎหมายดังกล่าวว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็ให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้ทันทีหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน
คู่รักหลากหลายทางเพศ จะได้สิทธิประโยชน์ อะไรจากกฎหมายนี้บ้าง ?
เมื่อ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายในไทย “สมรสเท่าเทียม” จะมีประโยชน์ในการมอบสิทธิและความเท่าเทียมให้แก่ทุกเพศ เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายยังยอมรับการสมรสเฉพาะแค่เพศชาย-หญิง เท่านั้น แต่หากมีการผ่าน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ไม่ว่าจะเพศสภาพใด ก็สามารถสมรส จดทะเบียนสมรส และเข้าถึงสวัสดิการจากรัฐที่เป็นประโยชน์ได้ ยกตัวอย่าง ดังนี้
1. สิทธิการได้ดูแลชีวิตของคู่รักของตน
คู่รักสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ อาทิ การดูแลตัดสินใจเรื่องทางการแพทย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเบิกรักษาพยาบาล การตัดสินใจสำคัญทางการแพทย์ในกรณีที่คน ๆ นั้นไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ หรือกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายก็จะมีสิทธิในการจัดการศพได้ด้วยนั่นเอง
2. สิทธิในการแต่งงาน
ในอนาคตสามารถจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยได้ รวมถึงมีกฎหมายรองรับพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น สิทธิการหมั้น การจดทะเบียนสมรส รวมถึงการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส รวมไปถึงการเป็นตัวแทนทางกฎหมาย สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม และสิทธิได้รับประโยชน์จากสวัสดิการจากรัฐ (อาทิ สวัสดิการข้าราชการ รับประโยชน์ทแทนตามสิทธิประกันสังคม) นอกจากนี้ยังได้สิทธิในการขอสัญชาติอีกด้วย
3. สิทธิการเป็นพ่อแม่ของลูก (ตามกฎหมาย)
พรบ.สมรสเท่าเทียม คู่รัก LGBTQIA+ สามารถเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ทั้งนี้ ผู้รับบุตรบุญธรรมยังคงจะต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
4. สิทธิในการหย่าร้าง
สิทธิในการแต่งงานที่เท่าเทียม นำมาซึ่งสิทธิที่เท่าเทียมกันหากคู่รักใช้ชีวิตมาจนจุดแยกจากกันด้วย โดยจะมีสิทธิในการฟ้องหย่า สิทธิในการฟ้องร้องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น สิทธิการเลี้ยงดูบุตร การเรียกค่าเลี้ยงชีพตามแต่กรณีการหย่าร้างที่เกิดขึ้น และสิทธิในสินสมรส
และนี่ก็นับได้ว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ ถือเป็นของขวัญอันยิ่งใหญ่ในเดือนแห่งความภาคภูมิใจ Pride Month ในปี 2567 ของคนกลุ่ม LGBTQIAN+ ในประเทศไทย ที่สามารถฟันฝ่า ต่อสู้ และช่วยกันผลักดันให้เกิดการยอมรับในสังคมไทยได้ในที่สุด
…………………………..
เตรียมความรับมือกับทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยกับ ประกันอุบัติเหตุ ที่ทำให้เราอุ่นใจทุกที่ ทุกเวลา กับทุนประกันภัยสูงสุด 2,000,000 บาทเงินชดเชยรายได้ กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ไม่ต้องสำรองจ่ายกับโรงพยาบาลคู่สัญญากับบริษัทฯ กว่า 345 แห่งทั่วประเทศ
แผนประกันอุบัติเหตุ เมืองไทย PA Happy Family
เมืองไทยประกันภัย
ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับครอบครัว ให้คุณยิ้มได้ทุกที่…ทุกเวลา ใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ รับประกันพ่อแม่อายุ 16-65 ปี และบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี 2 คน, ทุนประกันภัยสูงสุด 2,000,000 บาท อุ่นใจทุกที่ ทุกเวลา อุ่นใจกับเงินชดเชยรายได้ กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ไม่ต้องสำรองจ่ายกับโรงพยาบาลคู่สัญญากับบริษัทฯ กว่า 345 แห่งทั่วประเทศ
ความคุ้มครอง ( Insurance Coverage ) : | วงเงินความคุ้มครอง (บาท) | ||
ผู้เอาประกันภัย | คู่สมรส | บุตรคนละ | |
1. กรณีเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (อบ.1) 1.1 จากอุบัติเหตุทั่วไป |
1,000,000 | 500,000 | 300,000 |
1.2 การถูกฆาตกรรม การทำร้ายร่างกาย | 500,000 | 250,000 | 150,000 |
1.3 การขับขี่ โดยสารรถจักรยานยนต์ | 500,000 | 250,000 | 150,000 |
1.4 อุบัติเหตุุสาธารณะ | 2,000,000 | 1,000,000 | 600,000 |
2. ค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุ ต่อครั้ง | 50,000 | 25,000 | 15,000 |
3.กระดูกแตกหัก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และบาดเจ็บอวัยวะภายใน (ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง จ่ายตามอัตราร้อยละ ที่ระบุไว้ในตารางผู้รับผลประโยชน์) |
100,000 | 50,000 | 30,000 |
4. เงินชดเชยรายได้รายวันกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล อันเนื่องจากอุบัติเหตุ (สูงสุด 365 วันต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง) |
1,000 | 500 | 300 |
5. เงินชดเชยรายเดือน กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เหมาจ่าย 12 เดือน เดือนละ | 10,000 | 8,000 | 5,000 |
6. ค่าปลงศพจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย (ระยะเวลารอคอยจากการเจ็บป่วย180วัน) | 10,000 | 5,000 | 3,000 |
อายุที่รับประกันภัย | 16-65 ปี | อายุที่รับประกันภัย | 66-70 ปี |
เบี้้ยประกันภัยสุทธิ (บาท) | 5,980 | เบี้้ยประกันภัยสุทธิ (บาท) | 12,980 |
เบี้้ยประกันภัยรวมอากรแสตมป์ | 6,000 | เบี้้ยประกันภัยรวมอากรแสตมป์ | 13,000 |
เงื่อนไขการรับประกันภัย ( Insurance conditions ) :
- ผู้เอาประกันอายุระหว่าง 16-65 ปีบริบูรณ์ (ต่ออายุสูงสุดไม่เกิน 70ปี) สำหรับบุตรต้องอายุไม่เกิน 20 ปี (ไม่เกิน2คน)
การคำนวณอายุ = ปีทำประกันภัย ลบด้วยปีเกิด
กรณีต่ออายุ เบี้ยประกันภัยจะคำนวณจากอายถสูงสุดของผู้เอาประกันภัยในแผนครอบครัว
- รับประกันภัยผู้มีสัญชาตไทย และชาวต่างชาติที่ผ่านขั้นตอน การตรวจคนเข้าเมืองอย่างถูกกฏหมาย โดยมีเอกสารประกอบการสมัครทำประกันภัย ดังนี้
ชาวไทย : สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สูติบัตร ,ชาวต่างชาติ สำเนาPassport ,Work Permit ที่ยังมีผลบังคับ หรือเอกสารแสดงการมีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศไทยเป้นหลัก เช่นสัญญาเช่าบ้านระยะยาว สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น
- ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดพิการ ทุพพลภาพ ไม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือโรคร้ายแรง หรือได้รับบาดเจ็บ ไม่เป็นผู้วิกลจริต และไม่เคยใช่สารเสพติดให้โทษใดๆ
4 อาชีพที่ไม่รับประกันภัย ได้แก่ อาชีพชั้น 3และชั้น 4 คือ อาชีพที่มีความเสี่ยงสูง หรืออาชีพที่ต้องปฏิบัติงานนอกสถานที่เป็นประจำ ตัวอย่างเช่น พนักงานส่งเอกสาร,พนักงานขับรถ,มอเตอร์ไซค์รับจ้าง,กรรมกร,คนงานในโรงงาน ,คนงานในเหมืองแร่,ยาม,เกษตรกร,ชาวประมง,พนักงานที่ต้องขึ้นที่สูง เช่น ติดตั้งเสาอากาศ,เช็ดกระจก,ช่างต่างๆ เช่น ช่างปูน ,ช่างไม้, พนักงานต้อนรับบนเรือ รถ เครื่องบิน เป็นต้น
- ผู้เอาประกันภัย 1 คน สามารถทำสูงสุดได้ 1 กรมธรรม์เท่านั้น
สนใจสมัครประกันอุบัติเหตุ PA Happy Family
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันอุบัติเหตุ
-
เมื่อ อุบัติเหตุ คนที่คุณรัก และ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล คือเรื่องที่ควรนึกถึง
-
5 เช็กลิสต์ เซฟและสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อ ผู้สูงอายุ อย่างมีคุณภาพ
-
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล จำเป็นไหม ต่างจาก ประกันสุขภาพ อย่างไร
-
ทำไมการจัดการความเสี่ยง ด้วย ประกันอุบัติเหตุ ถึงจำเป็นสำหรับคุณ?
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#สินเชื่อ #สินเชื่อส่วนบุคคล
#ประกัน #สินเชื่อประกันการเดินทาง
#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล
#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์
#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii
#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison