กรมที่ดินเตือน! พื้นที่ร้างทิ้งไว้นาน ระวังโดนรัฐยึดคืน….พร้อมพาทำ ประกันภัยบ้าน คุ้มครองครบ หมดห่วงทุกภัยร้าย

สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

เอาหละ เป็นเรื่องกันเลยที่นี้สำหรับผู้ที่มีที่ทีทาง มี ที่ดิน รกร้าง ปล่อยไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์นานเกินระวังโดนยึดคืนได้ เมื่อกรมที่ดินได้ออกประกาศเตือน หากปล่อยที่ดินทิ้งร้างไม่ทำประโยชน์  เกิน 10 ปี พึ่งระวังโดนรัฐยึดคืน จะมีรายละเอียด หรือในการสมัครใดบ้างนั้น วันนี้ มาสิ เอามาอัพเดทให้ทุกคนได้อ่านกันแล้ว และยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ช่วงหน้ามรสุมอย่างนี้ ฝนตกได้ฝนตกดี ตกทั้งทีแทบทุกวัน อาจจะทำให้หลายคนหวั่น ๆ กับเรื่องของปัญหาน้ำกันเป็นแน่ แต่ปัญหาเหล่านั้นจะเบาลงไปเพียงแค่เราทำ ประกันภัยบ้าน ไว้ รับรองอุ่นใจทุกภัยร้าย จะมีรายละเอียดและความคุ้มครองอย่างไรบ้างต้องไปติดตามกัน

กรม ที่ดิน เตือน! พื้นที่ร้างทิ้งไว้นาน ระวังโดนรัฐยึดคืน….พร้อมพาทำ ประกันภัยบ้าน คุ้มครองครบ หมดห่วงทุกภัยร้าย

เมื่อวันที่ 19 ส.ค. ที่ผ่านมา ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขนุการกรม กรม ที่ดิน กรุงเทพ ได้ชี้แจงและแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางเพจ Facebook  กรมที่ดิน Fan page ถึงข่าวเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณี ประกาศเตือนถึงเจ้าของที่ดินว่าผู้ใดที่ปล่อยที่ดินทิ้งร้างไม่ทำประโยชน์นานเกิน 10 ปี ระวังโดนรัฐยึดคืน โดยมีเนื้อหาตามประกาศความว่า

” ตามที่ปรากฏเป็นข่าวเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนสรุปรายละเอียดได้ว่า “หากเจ้าของที่ดินปล่อยที่ดินทิ้งร้างไม่ทำประโยชน์นานเกิน 10 ปี ระวังโดนรัฐยึดคืน” นั้น กรมที่ดิน ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้ การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตาม มาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติว่า “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ บุคคลใดมีสิทธิใน ที่ดิน ตามโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

  1.  สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกินสิบปีติดต่อกัน
  2.  สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เกินห้าปีติดต่อกัน

ให้ถือว่าเจตนาสละสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือที่ปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า  เมื่ออธิบดี (กรมที่ดิน) ได้ยื่นคำร้องต่อศาล และศาลได้สั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าวให้ที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายนี้ต่อไป”

ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้วางระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินที่ถูกทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าให้ตกเป็นของรัฐ พ.ศ. 2522 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2522 ว่าการพิจารณาว่าที่ดินแปลงใดมีผู้ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าให้พิจารณาถึงการทำประโยชน์ เพียงแต่ล้อมรั้ว หรือเสียภาษีบำรุงท้องที่ แต่ไม่ทำประโยชน์ ย่อมถือว่าเป็นการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า สำหรับที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน หรือในเมือง แม้จะยังไม่ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัย แต่เจ้าของยังมีเจตนายึดถือเพื่อตนอยู่ ก็ให้ถือว่าที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่ได้ทำประโยชน์แล้วโดยสภาพ

โดยภายในเดือนมกราคมของทุกปีจังหวัดจะสำรวจว่ามีที่ดินแปลงใดบ้างที่มีผู้ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลาสิบปีติดต่อกันสำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือห้าปีติดต่อกันสำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และรายงานกระทรวงมหาดไทยทราบ ซึ่งก่อนส่งเรื่องให้กระทรวงมหาดไทย จะมีขั้นตอนการดำเนินการสรุปได้ดังนี้

  1.  จังหวัด หรืออำเภอจะทำหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า จัดการหรือเร่งรัดให้มีการทำประโยชน์ภายในเวลา ๓ เดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
  2.  เมื่อครบกำหนดแล้วยังไม่จัดการให้มีการทำประโยชน์ให้จังหวัดตั้งกรรมการเพื่อพิจารณาว่ามีการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดินหรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลาจริงหรือไม่เพียงใด
  3.  เมื่อคณะกรรมการมีความเห็นว่ามีการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดินหรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลาจริง ให้จังหวัดทำความเห็นส่งกรมที่ดินเพื่อพิจารณาดำเนินการส่งเรื่องให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าวให้ตกเป็นของรัฐต่อไป

ทั้งนี้ กรมที่ดิน ได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ตั้งแต่มีการประกาศระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินที่ถูกทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าให้ตกเป็นของรัฐ พ.ศ. 2522 ยังไม่เคยมีคำสั่งศาล ให้เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ตกเป็นของรัฐ แต่อย่างใด  กรมที่ดิน จึงขอแนะนำให้ประชาชนผู้มีสิทธิในที่ดินได้ตรวจสอบที่ดินและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเพื่อปกป้อง และรักษาสิทธิในที่ดินของตนเอง โดยสามารถตรวจสอบรูปแปลงที่ดินผ่าน Application LandsMaps ของกรมที่ดิน ได้ตลอด 24 ชั่วโมง #ที่รกร้าง #ที่ดินว่างเปล่า #ทั่วประเทศ #ที่ดิน”

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประกาศที่สร้างความหนักใจให้กับผู้ที่ถือครองที่ดินเป็นจำนวนมากอย่างมาก เพราะหากเราดูแลไม่ทั่วถึงก็อาจจะทำให้เราต้องเสียพื้นที่คืนให้กับรัฐก็เป็นได้ สำหรับที่ที่พอมีกำลังทรัพย์  หรือพอมีที่มีทางก็อย่าลืมสำรวจตรวจเช็คเอกสารการถือครอง และการทำประโยชน์ในพื้นที่ตนดูอีกครั้งด้วย และนี้ก็เป็นอีกเพียงหนึ่งข่าวสารที่ มาสิ ได้นำมาอัพเดทให้ทุกคนได้ทราบกัน แต่ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านั้น อย่างที่ได้กล่าวไปเมื่อข้างต้น เกี่ยวกับ ประกันภัยบ้าน ที่ให้ความคุ้มครบ ทั้งน้ำท่วม ไฟไหม้ จะเป็นประกันภัยแผนไหน น่าสนใจอย่างไรไปดูกัน

บ้านทิพยยิ้มได้  ทิพยประกันภัย

ทิพยประกันภัย

คุ้มครองไฟไหม้ ฟ้าผ่าภัยธรรมชาติ ภัยระเบิดภัยจากยาพาหนะ และอากาศยาน ความคุ้มครองค่าเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราว วันละไม่เกิน 1,000 บาท สูงสุด 100,000 บาท ความคุ้มครองเพิ่มเติมจากมาตรฐาน ได้แก่ น้ำท่วม จราจล ความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า ค่าค้ำยัน รื้อถอน ขนย้าย สูงสุด 30% ของทุนประกัน

ความคุ้มครองมาตรฐาน ประกันภัยบ้าน

  • ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ( รวมความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า ) ภัยระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยเนื่องจากน้ำ ( ไม่รวมน้ำท่วม )ภัยจากอากาศยาน ชดใช้ตามความเสียหายจริง แต่ไม่เกินทุนประกัน
  • คุ้มครองภัยธรรมชาติ 4 ภัย ( ภัยลมพายุ, ภัยน้ำท่วม, ภัยแผ่นดินไหว, หรือ ภูเขาไฟระเบิด หรือ สึนามิ, ภัยลูกเห็บ ) ทุกภัยรวมกัน ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี
  • คุ้มครองค่าเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราว( ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย สำหรับที่อยู่อาศัย ) สูงสุดวันละไม่เกิน 1,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย

ความคุ้มครองเพิ่มเติมจากมาตรฐาน ของ ประกันภัยบ้าน ทิพยยิ้มได้

ไม่ว่าจะเหตุ ไฟไหม้แบบไหน หรือเหตุอัคคีภัยที่ใด หากมี ประกันภัยบ้าน “ บ้านทิพยยิ้มได้ ” ชดใช้ 30% ของทุนประกันภัย ต่อภัย ได้แก่

  • ภัยน้ำท่วม( คุ้มครองหลังวันเริ่ม 7 วัน )
  • ภัยลมพายุ
  • ภัยลูกเห็บ
  • ภัยแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือ สึนามิ
  • ภัยจากการจลาจล และการกระทำด้วยเจตนาร้าย ( ยกเว้นการกระทำเพื่อผลทางการเมือง ศาสนา หรือ ลัทธินิยม )

ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครอง บ้านทิพยยิ้มได้

ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครอง บ้านทิพยยิ้มได้
ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครอง บ้านทิพยยิ้มได้

เบี้ยประกันรวมภัยน้ำท่วม (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) (บาท)

เบี้ยประกันรวมภัยน้ำท่วม (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) (บาท)
เบี้ยประกันรวมภัยน้ำท่วม (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) (บาท)

 เบี้ยประกันไม่รวมภัยน้ำท่วม (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) (บาท)

เบี้ยประกันไม่รวมภัยน้ำท่วม (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) (บาท)
เบี้ยประกันไม่รวมภัยน้ำท่วม (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) (บาท)

เงื่อนไขการรับประกัน

  • สถานที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น
  • สำหรับสิ่งปลูกสร้างชั้น 1 ฝาผนังคอนกรีต
  • เงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้นเป็นไปตามกรมธรรม์
  • ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สนใจสมัคร บ้านทิพยยิ้มได้  ทิพยประกันภัย

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันภัยบ้าน

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#ประกันบ้าน #ประกันภัยบ้าน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison

ซื้อประกันรถยนต์ ฟรี พ.ร.บ.