สวัสดีค่ะ วันนี้มาสิจะมาชวนคุณเรื่อง “ค่าความเสี่ยงการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน” กันค่ะ ว่าสิ่งนี้คืออะไร? แล้วเราจะเจอค่านี้เวลาใดบ้าง? แล้วทำยังไงได้บ้างที่จะเสียอัตราเท่าใดบ้าง มาสิจะบอกให้
ค่าความเสี่ยงการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ตัวการที่ทำให้คุณจ่ายแพง!
สำหรับใครที่ใช้บัตรเครดิตอยู่เป็นประจำและกำลังศึกษาการใช้บัตรเครดิตเบื้องต้นอยู่นะคะ หนึ่งในคลังศัพท์ของบัตรเครดิตคือ ค่าความเสี่ยงการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เราจะเสียก็ต่อเมื่อเรามีการใช้จ่ายเงินเหล่านี้ในสกุลเงินต่างประเทศ อาจเป็นตอนที่เราใช้จ่ายผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยสกุลเงินต่างประเทศหรือการใช้บัตรเครดิตเพื่อไปรูดซื้อสินค้าและบริการที่ต่างประเทศค่ะ โดยเราจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้เอง โดยแต่ละสถาบันทางการเงินจะมีกำหนดค่าอัตราความเสี่ยงเหล่านี้ โดยทางธนาคารแห่งชาติมีการกำหนดอัตราเหล่านี้ให้ทางแต่ละสถาบันทางการเงินไม่เกิน 2.5%
ทำไมต้องเก็บ?
หนึ่งในคำถามที่เหล่าผู้ใช้จ่ายบัตรเครดิตที่ต่างประเทศล้วนสงสัยว่าทำไมถึงต้องจ่ายค่าอัตราเสี่ยงด้วยนะ เนื่องจากการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตนั้นทางสถาบันทางการเงินเหล่านี้จะทำการจ่ายเงินด้วยอัตราแลกเปลี่ยนของวันที่เราได้ทำการรูดไปค่ะ แต่ในการสรุปยอดเพื่อแจ้งเรานั้น ยอดที่จ่ายไปอาจมีการขึ้นและลงได้ตามอัตราการแลกเปลี่ยนรายวันค่ะ ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกกำหนดให้ทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินสามารถคิดค่าอัตราความเสี่ยงได้ กรณีที่ค่าเงินอาจจะขึ้น ทางสถาบันทางการเงินจะมีค่าความเสี่ยงตรงนี้ที่จะมาแทนค่ะ
2.5% ค่าความเสี่ยงการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน
ในส่วนนี้ถึงแม้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดให้ทางสถาบันทางการเงินคิดอัตราไม่เกินร้อยละ 2.5 ทำให้แต่ละเจ้าอาจจะคิดในอัตราที่แตกต่างกัน และเพื่อให้มาสิแฟนทุกท่านทราบของแต่ละสถาบัน เพื่อทำให้ทางคุณสามารถเลือกใช้บัตรเครดิตที่ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับค่าความเสี่ยง
สถาบันทางการเงิน |
อัตราความเสี่ยงการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน |
เคทีซี | 2 |
ซิตี้ แบงก์ | 2.5 |
อิออน | 2.5 |
ธนาคารธนชาต | 2.5 |
ธนาคารยูโอบี | 2.5 |
จากตารางงจะเห็นว่าอัตราค่าความเสี่ยงของธนาคารที่เรทน้อยที่สุดคือ 2% ซึ่งเป็นของธนาคารกรุงไทยหรือ KTC ค่ะ ซึ่งถ้าเราเลือกที่จะรูดบัตรเครดิตด้วยบัตรเคทีซี KTC นั้นเท่ากับว่า เราจะได้เรทที่น้อยกว่าธนาคารอื่น และบัตรเครดิตของ KTC ก็จะทำให้เราประหยัดเงินได้จำนวนหนึ่งค่ะและเหมาะที่ไว้พกพาไปใช้ต่างประเทศด้วย แต่ถึงแบบนั้นใครที่มีบัตรเครดิตของธนาคารอื่นก็ไม่ต้องเศร้าใจไปค่ะ เพราะอย่างธนาคารธนชาตจะมีคะแนนสะสมพิเศษ 4 เท่า เมื่อใช้จ่ายผ่านสกุลเงินต่างประเทศ คือทุกๆ 6.25 บาทจะได้ 1 คะแนน หรือ 25 บาทจะได้ 4 คะแนน T Reward อย่าง บัตรเครดิต ธนชาต ไดมอนด์ มาสเตอร์การ์ด
ส่วนใครที่กลัวจะต้องเสียเงินในราคาที่แพงขึ้น บางสถาบันทางการเงินก็จะมีการออกบัตรเดบิตหรือบัญชีที่ใช้ไว้สำหรับกดเงินสดสกุลเงินต่างประเทศได้ อย่างของธนาคารกรุงไทยจะมี “กรุงไทยทราเวลการ์ด” เป็นบัญชีที่ให้เราสามารถแลกสกุลเงินต่างประเทศเก็บไว้ได้ค่ะ สามารถแลกสกุลเงินฮอตฮิตเก็บไว้ได้ในเรทที่ถูกกว่าค่ะ แต่ในส่วนนี้จะเป็นสำหรับกรณีที่เรามีบัญชีที่เปิดกับธนาคารและต้องมีเงินภายในบัญชีนะคะ
มาสิ เป็นเว็บไซต์เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงินอันดับ 1 ของไทย มีทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านและการรีไฟแนนซ์บ้าน นอกจากนั้นเรายังมีประกันภัยต่างๆ เช่น ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ และประกันภัยโดรน สามารถแอด Line: @masii มาเพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ ได้เลยค่ะ