สิ่งที่ต้องทำก่อนท้อง ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือ ประกันเคลมคลอด ประกันเบิกค่าคลอดและค่าฝากครรภ์

ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์
สิ่งที่ต้องทำก่อนท้อง ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือ ประกันเคลมคลอด ประกันเบิกค่าคลอดและค่าฝากครรภ์
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

“ ประกันสุขภาพสำหรับการตั้งครรภ์ หรือ ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์ ” ถึงไม่ใช่การประกันความเจ็บป่วยที่ร้ายแรง แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ต่างก็อยากปลอดภัยไว้ก่อน โดยเฉพาะหากเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต่างก็อยากเลือกสิ่งที่ดีที่สุด ถ้ารู้ว่ามีประกันอะไรที่จะรองรับความปลอดภัยระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่และคุณลูกได้ก็คงไม่ลังเลที่จะเลือกไว้เพื่อความอุ่นใจ สำหรับหลายคนอาจสงสัยว่า มี ประกันสุขภาพสำหรับคนท้อง หรือไม่อย่างไร บทความนี้ มาสิ จะพาไปหาคำตอบ ไปดูกันเลย …

 สิ่งที่ต้องทำก่อนท้อง ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือ ประกันเคลมคลอด ประกันเบิกค่าคลอดและค่าฝากครรภ์

ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์ , ประกันสุขภาพ สำหรับคนท้อง , ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์

ประกันค่าคลอดบุตร หรือ บันทึกสลักหลังความคุ้มครองการคลอดบุตรพลัส (Maternity Plus) มี 2 แผน คือ

แผน 1 วงเงินรวม 2 ล้าน
ค่าคลอดแบบธรรมชาติ + ค่าฝากครรภ์ 60,000
ค่าคลอดแบบผ่าโดยมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ + ค่าฝากครรภ์ 80,000
ค่ารักษาภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด สูงสุด 2 ล้าน
ค่าขูดมดลูกและค่าถ่างขยายปากมดลูกเนื่องจากการแท้ง สูงสุด 2 ล้าน

แผน 2 วงเงินรวม 4 ล้าน
ค่าคลอดแบบธรรมชาติ + ค่าฝากครรภ์ 150,000
ค่าคลอดแบบผ่าโดยมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ + ค่าฝากครรภ์ 200,000
ค่ารักษาภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด สูงสุด 4 ล้าน
ค่าขูดมดลูกและค่าถ่างขยายปากมดลูกเนื่องจากการแท้ง สูงสุด 4 ล้าน

เบี้ย (เฉพาะ Maternity plus หรือบันทึกสลักหลังค่าคลอดบุตรเท่านั้น) ยังไม่รวมประกันชีวิตและประกันสุขภาพ

ประกันเคลมคลอด

เนื่องจาก Maternity plus หรือ ประกันค่าคลอดบุตรเป็นบันทึกสลักหลังที่ทำเสริมควบคู่กับประกันชีวิตและประกันสุขภาพ โดยจะทำคู่ อีลิทเฮลท์พลัส หรือทำคู่ ดีเฮลท์พลัสก็ได้ เมื่อนำเบี้ย 3 ส่วนนี้มารวมกัน ก็จะได้ค่าเบี้ยรวมของทั้งกรมธรรม์ดังตัวอย่างนี้

ตัวอย่างเบี้ย กรณีหญิงอายุ 28 ปี

เบี้ยที่แนะนำจะมีทั้งหมด 4 แบบ
คือทำคู่ อีลิทเฮลท์พลัส หรือทำคู่ ดีเฮลท์พลัสก็ได้
จับคู่กับแผนเคลมคลอด แบบวงเงิน 2 ล้านกับ 4 ล้าน

โดยเบี้ยแต่ละแบบจะทำกับประกันชีวิตแบบคุ้มครองตลอดชีพ 99/99 ทุนขั้นต่ำ 50,000 (หากต้องการประกันชีวิตมากกว่านี้สามารถทำได้ค่ะ)

แบบที่ 1 เบี้ย 64,988
ชีวิตแบบ 99/99 ทุนน้อยสุด 50,000
D health plus วงเงิน 5 ล้าน/ครั้ง d100,000
Maternity plus แผน 1 วงเงิน 2 ล้าน/ท้อง

แบบที่ 2 เบี้ย 100,435
ชีวิตแบบ 99/99 ทุนน้อยสุด 50,000
D health plus วงเงิน 5 ล้าน/ครั้ง d100,000
Maternity plus แผน 2 วงเงิน 4 ล้าน/ท้อง

แบบที่ 3 เบี้ย 87,584
ชีวิตแบบ 99/99 ทุนน้อยสุด 50,000
Elite health plus วงเงิน 20 ล้าน/ปี
Maternity plus แผน 1 วงเงิน 2 ล้าน/ท้อง

แบบที่ 4 เบี้ย 122,971
ชีวิตแบบ 99/99 ทุนน้อยสุด 50,000
Elite health plus วงเงิน 20 ล้าน/ปี
Maternity plus แผน 2 วงเงิน 4 ล้าน/ท้อง

ประกันเคลมคลอด

ประกันเคลมคลอด

ประกันเคลมคลอด..

ประกันเคลมคลอด

ระยะรอคอยของประกันเคลมคลอด

 เนื่องจากการเคลมค่าคลอด มีระยะรอคอย 280 วัน ดังนั้น ถ้าวันคลอดห่างจากวันที่ทำประกันตั้งแต่ 281 วันขึ้นไปก็คุ้มครองค่าคลอดและอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด

 การเคลมค่าขูดมดลูกและค่าถ่างขยายปากมดลูกเนื่องจากการแท้ง มีระยะรอคอย 90 วันนับจากวันประกันเริ่มมีผลบังคับ

ดังนั้น การทำประกันเคลมคลอด จึงควรทำก่อนการตั้งครรภ์นะคะ

เงื่อนไขการเคลม Maternity Plus

1. ประกันเคลมคลอด Maternity Plus จะเริ่มเคลมได้หลังระยะรอคอย (Waiting Period) กี่วัน  ?
 ระยะรอคอย หรือระยะเวลาที่ยังไม่คุ้มครอง (Waiting Period) นับตั้งแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครอง แบ่งเป็น
 รอคอย 90 วัน สำหรับค่าใช้จ่ายในการถ่างขยายปากมดลูกและการขูดมดลูกกรณีแท้งบุตร
 รอคอย 280 วัน สำหรับค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ค่าฝากครรภ์ และค่าใช้จ่ายกรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร

2. Maternity Plus เคลมค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร คุ้มครองค่าอะไรบ้าง ?

จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการคลอดเมื่อวันคลอดอยู่ห่างจากวันที่ประกันมีผลบังคับเกิน 280 วัน โดยคุ้มครองทั้ง ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาลประจำวัน ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าแพทย์ทำคลอด ค่าแพทย์ดูแล ค่าแพทย์ผ่าตัด หรือค่าบริการในการผ่าตัด (ในกรณีผ่าคลอด) ค่าห้องผ่าตัด ค่าตรววจแล็บ ค่ายาสลบ ค่ายาตามคำสั่งแพทย์หรือค่าบริการการให้เลือดรวมถึง ค่าธรรมเนียมรถพยาบาล ค่าบริการต่างๆ ก่อนคลอดและหลังคลอด

3. ประกันเคลมคลอด Maternity Plus คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการฝากกครรภ์ หรือไม่ ?
คุ้มครองค่าฝากครรภ์ด้วย วงเงินการเคลมจะรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายการคลอดบุตร โดยค่าฝากครรภ์จะเริ่มเคลมได้เมื่อเลยระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 280 วันแล้ว และยกเว้นค่าตรวจพันธุกรรมทารกในครรภ์

4. ค่าใช้จ่ายในการคลอด กรณีซื้อแบบเป็นแพคเก็จคลอดบุตร ประกัน Maternity Plus เคลมได้หรือไม่ และคุ้มครองส่วนไหนบ้าง ?
คุ้มครองเมื่อซื้อเป็นแพคเก็จได้ ซึ่งอยู่รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายการคลอดบุตร และสามารถซื้อล่วงหน้าก่อนวันคลอดได้ ทั้งนี้ วันคลอดต้องเลยระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 280 วัน และจะยกเว้นค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับเด็ก เช่น เมื่อคลอดแล้วตัวเหลืองต้องเข้าตู้อบจะไม่คุ้มครอง

5. กรณีทำประกันบันทึกสลักหลังค่าคลอดบุตรและผ่าคลอดตามความต้องการส่วนตัว โดยมีการวางแผนส่วงหน้าและไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายการคลอดบุตร ได้เท่าไหร่ ?
กรณีดังกล่าวถือเป็นการคลอดแบบธรรมชาติ
แผน 1 สามารถเบิกได้ 60,000 ต่อการคลอด 1 ครั้ง 
แผน 2 สามารถเบิกได้ 150,000 ต่อการคลอด 1 ครั้ง 

6. การผ่าคลอดแบบมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ คืออะไร มีเงื่อนไขในการเคลมอย่างไรบ้าง ขอยกตัวอย่างกรณีดังกล่าว ?
การผ่าคลอดที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เป็นการฝาตัดคลอดฉุกเฉิน (แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความพร้อมของบุคลากรและเครื่องมือของแต่ละโรงพยาบาล) ซึ่งควรมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้

– มีภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและอุ้งเชิงกราน (Cephalopelvic Disproportion: CPD) ทำให้เด็กไม่สามารคลอดผ่านเชิงกรานแม่ออกมาได้
– มีความผิดปกติของรก เช่น รกเกาะต่ำ ขวางทารออกของทารก (Placenta Previa)
– รกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental Abruption) ทำให้มีการตกเลือดก่อนคลอด
– มีภาวะแทรกช้อนที่ต้องทำให้คลอดโดยเร็ว เช่น สายสะตือย้อย (Umbilical Cord Prolapsed)
– ทารกอยู่ในภาวะวิกฤติ เสียงหัวใจทารกเต้นช้าผิดปกติ (Fetal Distress) ภาวะความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง หรือมีการแตกของมดลูก (Uterine Rupture)
– มีการคลอดที่เนิ่นนาน (Prolong of Labor)
– ประสบความล้มเหลวจากการซักนำคลอด (Failure Induction) 
– ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง (Transverse Lie) ท่าก้น (Breech Presentation) หรือครรภ์แฝด
– แม่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน (Previous Uterine Scare) ซึ่งเสี่ยงต่อการแตกของมดลูก หากมีการคลอดเองในท้องถัดมา
– การติดเชื้อของแม่ เช่น แม่เป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศขณะเข้าสู่ระยะคลอด ซึ่งสามารถติดเชื้อไปยังทารกหากผ่านการคลอดทางช่องคลอด

7. หากเป็นการผ่าคลอดโดยมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดจริง รวมกันได้ 100,000 บาท จะเคลมได้เท่าไรในแต่ละแผน ?
การคลอดนี้ถือเป็นการคลอดแบบผ่า
แผน 1 สามารถเบิกได้ตามจริงและสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อการคลอด 1 ครั้ง ดังนั้นกรณีนี้ เคลมได้ 80,000 
แผน 2 สามารถเบิกได้ตามจริงและสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อการคลอด 1 ครั้ง ดังนั้นกรณีนี้ เคลมได้ 100,000

8. กรณีผู้ทำประกันตั้งครรภ์ก่อนวันเริ่มมีผลคุ้มครอง แต่วันคลอดเลยระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 280 วันแล้ว สามารถเคลมค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ได้หรือไม่ ?
สามารถเคลมได้ เพราะค่าใช้จ่ายในการคลอดจะไม่ดูวันที่เริ่มตั้งครรภ์ แต่หากวันคลอดต้องเลยระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 280 วันแล้วก็ให้ความคุ้มครองค่าคลอดได้

9. กรณีลูกค้าตั้งครรภ์ก่อนวันเริ่มมีผลความคุ้มครอง และเกิดการแท้งบุตรสามารถเคลมค่าใช้จ่ายสำหรับการถ่างขยายปากมดลูกและการขูดมดลูกกรณีแท้งบุตรหรือค่าใช้จ่ายกรณีเกิดภาวะแทรกช้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร ได้หรือไม่ ?
ไม่สามารถเบิกได้ค่ะ บริษัทประกันจะไม่จ่ายผลประโยชน์ตามบันทีกสลักหลังนี้ สำหรับการตั้งครรภ์ โรคเรื้อรัง การบาดเจ็บ หรือการป่วย ก่อนวันที่บันทึกสลักหลังนี้เริ่มมีผลคุ้มครอง ที่มีผลเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งนำไปสู่ภาวะการแท้งบุตรหรือ การเกิดภาระแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร

10. Maternity Plus ค่าใช้จ่ายกรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร คุ้มครองรวมถึงทารก หรือไม่ ?
ความคุ้มครองดังกล่าว ครอบคลุมการรักษาพยาบาลของทารกตอนอยู่ในครรภ์จนถึงเวลาคลอด หลังจากนั้นจะคุ้มครองแม่ที่เป็นผู้เอาประกันภัยเท่านั้น

11. Maternity Plus คุ้มครองค่าใช้จ่ายหออภิบาลทารกแรกเกิด กับ ค่าตรวจพันธุกรรมทารกในขณะตั้งครรภ์หรือไม่ ?
ไม่คุ้มครองทั้ง 2 กรณี

ขอบคุณ : https://www.wangpaan.com/content/12161/maternity

แนวทางการเลือกประกันสำหรับคนท้อง

  • ตรวจสอบค่าความคุ้มครองของประกัน เนื่องจากประกันแผนปกติ ส่วนใหญ่จะไม่ได้รวมความคุ้มครองคุณแม่ระหว่าง ตั้งครรภ์ หรือ คลอดบุตร อาจจะมีการทำแยกแผนออกมาต่างหาก หรือรวมกับกลุ่มโรคบางประเภท ฉะนั้นผู้เอาประกันภัยควรตรวจสอบความคุ้มครองของประกันแต่ละประเภทว่ามีความคุ้มครองด้านใดบ้าง รวมกรณีนอนโรงพยาบาล ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล และค่าบริการต่าง ๆ หรือไม่ มีความที่คุ้มค่ากับเบี้ยประกันที่จ่ายไปหรือไม่ เรามีความเสี่ยงในด้านใดหรือไม่ ?
  • จะเห็นว่าจากตัวอย่างประกันที่ยกมานี้มีทั้งประกันรูปแบบสุขภาพ ประกันชีวิต และ ประกันอุบัติเหตุ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ฉะนั้นก่อนที่จะเลือกซื้อประกันแต่ละประเภทนอกจากจะทำความใจกับความคุ้มครองต่าง ๆ แล้ว คุณแม่ควรสำรวจตัวเองดูสักนิดว่าตนเองนั้นมีความเสี่ยงทางด้านไหนบ้าง เช่นหากคุณแม่ต้องเดินทางไปทำงานด้วยรถสาธารณะ ต้องเจอกับผู้คนมากมาย มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง ก็สามารถซื้อประกันอุบัติเหตุคุ้มครองคนท้องได้
  • สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดได้บ้าง เพื่อความสะดวก คุณแม่ควรตรวจสอบว่าประกันที่เราเลือกนั้น มีการครอบคลุมโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียงมากน้อยเพียงใด เมื่อคุณแม่เกิดเหตุฉุกเฉินต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด นอกจากนั้นหากประกันมีโรงพยาบาลในเครือให้เลือกมากมายก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้เอาประกันมากขึ้น
  • ต้องสำรองเงินจ่ายหรือไม่ ก่อนเลือกประกันแผนใดก็ตามอย่าลืมตรวจสอบจากตัวแทนประกันให้ดีว่า กรณีที่ผู้เอาประกันเข้ารักษาตัวตามเงื่อนไขนั้น จำเป็นจะต้องมีการจ่ายเงินสำรองไปก่อนหรือไม่ ทางบริษัทประกันจะทำเรื่องจ่ายเงินทดแทนให้กับผู้เอาประกันเมื่อใด ใช้เวลานานเท่าไหร่ เพราะหากว่าเราต้องรอนานเกินไป ก็อาจจะกระทบกับการเงินของเราก็เป็นได้

สมัคร ประกันคุณแม่ตั้งครรภ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ประกันที่ มาสิ ได้นำมาเสนอนี้ออกแบบมาเพื่อความคุ้มกรณี คุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ เพื่อความปลอดภัยและเพื่อความสบายใจ เนื่องจากประกันภัยและประกันสุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ได้คุ้มครองการตั้งครรภ์ หรือสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวข้อไม่ว่าจะเป็นการคลอดบุตร  การแท้งบุตร การทำหมัน การแก้หมัน การคุมกำเนิด การแก้ไขปัญหาการมีบุตรยาก เป็นต้น หากใครที่วางแผนอยากมีลูกแนะนำให้ศึกษาไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อทำการซื้อประกันได้ก่อนที่จะตั้งครรภ์ และแนะนำให้อ่านเงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้นแต่ละประเภทก่อนตัดสินใจครับ

และสำหรับ คุณแม่ ที่สนใจ สามารถคลิกสมัครได้ทางออนไลน์ ปุ่ม “ สนใจสมัคร ” หรือ ได้เลยที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์  @masii  เพื่อพูดคุยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากทีมงานได้เลยครับ ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันโควิด และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

 อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison