มาแล้วลูกแรก กรมอุตุฯ ประกาศเตือนฉบับ 1 พายุฤดูร้อนถล่มไทย 12-14 มี.ค. หลายพื้นที่เตรียมรับมือ

พายุฤดูร้อน
มาแล้วลูกแรก กรมอุตุฯ ประกาศเตือนฉบับ 1 พายุฤดูร้อนถล่มไทย 12-14 มี.ค. หลายพื้นที่เตรียมรับมือ
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

เรียกได้ว่าผ่านพ้นไปอย่างเป็นทางการอีกครั้งแล้วสำหรับฤดูหนาวของไทยเรา แต่ถึงอย่างนั้นอย่างน้อยปีที่แล้วก็มีโอกาสให้เราได้สัมผัสกับอากาศหนาวมากกว่าหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมาเราก็ได้ก้าวเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ซึ่งสิ่งที่ตามมาเมื่อเราก้าวเข้าสู่ฤดูร้อนไม่เพียงบรรยากาศที่ร้อนอบอ้าว หรือเทศกาลหยุดยาวที่สำคัญอย่างสงกรานต์ นั่นก็คือ พายุฤดูร้อน ที่เมื่อพัดผ่านมาเมื่อใด ก็มักจะสร้างความเสียหายให้กับหลายพื้นที่นั้น ๆ เ และในปีนี้นี่เองพายุลูกแรกก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว แต่จะเกิดขึ้นวันไหน พื้นที่ใดต้องเตรียมตัวรับมือกันบ้าง ว่าแล้วก็ตาม มาสิ ไปดูกัน

พายุฤดูร้อน (Thunderstorms)

พายุฤดูร้อน เกิดขึ้นในฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายนหรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยตอนบน จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุม ทำให้มีอุณหภูมิสูงและได้รับความชื้นจากลมตะวันออกเฉียงใต้ หรือลมใต้ซึ่งพัดจากอ่าวไทย ขณะเดียวกันหากมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ซึ่งเป็นมวลอากาศเย็น หรือมีคลื่นกระแสลมตะวันตกจากประเทศพม่าเคลื่อนมาเสริม จะก่อให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน และมวลอากาศร้อนชื้นที่ปกคลุมประเทศไทย ทำให้เกิดความแปรปรวนของอากาศอย่างรวดเร็วและฉับพลัน โดยจากการยกตัวขึ้นของอากาศอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ และเกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรงและรวดเร็ว ลมกระโชกแรง ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และลูกเห็บ ตามมาได้

พายุฤดูร้อน
พายุฝนฟ้าคะนอง

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย

วันที่ 9 มี.ค. 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 1 (71/2566) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 12 – 14 มีนาคม 2566) โดยระบุว่า ในช่วงวันที่ 12 – 14 มีนาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ

ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

พายุ
พายุฝน

ทั้งนี้ ในลำดับถัดมาเมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 10 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 2 (72/2566) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 12-14 มีนาคม 2566) โดยเนื้อหาเพิ่มเติมจากฉบับที่ 1 ระบุพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบไว้ว่า พื้นที่ที่จะมีผลกระทบ ดังนี้

วันที่ 12 มีนาคม 2566

ภาคเหนือ : เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี

วันที่ 13 มีนาคม 2566

ภาคเหนือ : แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา

ภาคกลาง : นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

วันที่ 14 มีนาคม 2566

ภาคตะวันออก : นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

นอกจากนี้ กรมอุตุฯ ขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

พายุฤดูร้อน
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 1

คำแนะนำวิธีรับมือและป้องกันอันตรายจาก “พายุฤดูร้อน”

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ให้คำแนะนำวิธีรับมือและป้องกันอันตรายจาก “พายุฤดูร้อน” ไว้ ดังนี้

  1. ติดตามข่าวสาร ประกาศจากพยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  2. ตรวจสอบอาคารบ้านเรือนให้อยู่ในสภาพแข็งแรง โดยเฉพาะประตู หน้าต่าง และหลังคาบ้าน พร้อมจัดเก็บสิ่งของที่ปลิวลมได้ในที่มิดชิด เพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกสิ่งของพัดกระแทก
  3. ไม่ทำกิจกรรมต่างๆ กลางที่โล่งแจ้ง หลีกเลี่ยงการพกพาหรือสวมใส่เครื่องประดับที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า และงดเดินกลางแจ้งท่ามกลางพายุฝนฟ้าคะนอง แม้จะกางร่มก็ตาม
  4. กรณีที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง ต้องระวัง ไม่เข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง หากพบเห็นเสาไฟฟ้าหรือป้ายโฆษณาที่มีสภาพทรุดโทรม ดูไม่มั่นคงแข็งแรง ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแก้ไขหรือถอดเก็บออกไป
  5. งดใช้เครื่องมือสื่อสาร-อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เพื่อป้องกันอันตราย แม้โทรศัพท์มือถือจะไม่ใช่ชนวนล่อ “ฟ้าผ่า” ได้โดยตรง แต่อาจมีผลเหนี่ยวนำให้แบตเตอรี่ในมือถือเกิดการลัดวงจรและระเบิดได้
  6. ขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ไม่ควรอยู่บริเวณดาดฟ้าหรือระเบียงเพราะเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
  7. ขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ควรรีบปิดประตูและหน้าต่างให้มิดชิด เพื่อป้องกันอันตรายจากพายุลมแรง ที่พัดกระแทกบานประตู-บานหน้าต่าง
  8. ในกรณีที่ต้องขับรถสัญจร ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนขณะเดินทางผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เพราะถนนลื่น วิสัยทัศน์ไม่ชัดเจน เสี่ยงต่ออุบัติเหตุและเสี่ยงต่อฟ้าผ่า
  9. ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ , พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. , กรมอุตุนิยมวิทยา และ  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

rainy day and umbrella

แม้เรื่องของปัญหาธรรมชาติ จะเป็นเนเรื่องที่ยากจะคาดเดา และยากที่จะรับมือ แต่เราสามารถเตรียมตัวเราให้พร้อมเผชิญกับทุกปัญหาได้ ด้วยการเสริมความคุ้มครองครบไม่เพียงแต่เรื่องชีวิต ยังรวมปถึงทรัพย์สินด้วย ประกันภัยบ้าน ที่ให้ความคุ้มครองครบ ทั้งเหตุไฟไหม้ แผ่นดินไหว และน้ำท่วม เบี้ยประกับก็แสนถูก แต่ความคุ้มครองได้ครอบคลุม ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้นตามไปดูกันเลย

บ้านทิพยยิ้มได้  ทิพยประกันภัย

ทิพยประกันภัย

 ความคุ้มครองมาตรฐานประกันภัยบ้าน

  • ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ( รวมความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า ) ภัยระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยเนื่องจากน้ำ ( ไม่รวมน้ำท่วม ) ภัยจากอากาศยาน ชดใช้ตามความเสียหายจริง แต่ไม่เกินทุนประกัน
  • คุ้มครองภัยธรรมชาติ 4 ภัย ( ภัยลมพายุ, ภัยน้ำท่วม, ภัยแผ่นดินไหว, หรือ ภูเขาไฟระเบิด หรือ สึนามิ, ภัยลูกเห็บ ) ทุกภัยรวมกัน ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี
  • คุ้มครองค่าเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราว ( ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย สำหรับที่อยู่อาศัย ) สูงสุดวันละไม่เกิน 1,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย

ความคุ้มครองเพิ่มเติมจากมาตรฐาน ของประกันภัยบ้าน ทิพยยิ้มได้

ไม่ว่าจะเหตุ ไฟไหม้เยาวราช หรือเหตุอัคคีภัยที่ใด หากมีประกันภัยบ้าน “ บ้านทิพยยิ้มได้ ” ชดใช้ 30% ของทุนประกันภัย ต่อภัย ได้แก่

  • ภัยน้ำท่วม ( คุ้มครองหลังวันเริ่ม 7 วัน )
  • ภัยลมพายุ
  • ภัยลูกเห็บ
  • ภัยแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือ สึนามิ
  • ภัยจากการจลาจล และการกระทำด้วยเจตนาร้าย ( ยกเว้นการกระทำเพื่อผลทางการเมือง ศาสนา หรือ ลัทธินิยม )

สนใจสมัคร บ้านทิพยยิ้มได้  ทิพยประกันภัย

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันภัยบ้าน

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#ประกันบ้าน #ประกันภัยบ้าน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison