สวัสดีครับ วันนี้คิมไทร์บิดกลับมาอีกครั้งครับ มีเพื่อนๆ หลายคนถามคิมว่าถ้าเราปะยางแล้ว ยางรถยนต์ของเราจะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ 100% เหมือนเดิมไหม คิมต้องบอกว่าถ้าเราปะยางอย่างถูกวิธี การใช้งานจะกลับมา 100% แน่นอนครับ แต่ว่าก็มีหลายๆ กรณีโดยคิมจะจำแนกไว้ตามนี้เลยครับ
การปะยางที่ถูกต้องทำให้ยางกลับมาใช้งานได้ 100%
เรามาจำแนกก่อนเลยครับ ว่าบริเวณไหนที่เราสามารถปะซ่อมได้ และปะซ่อมไม่ได้ บริเวณที่ปะซ่อมยางได้จะเป็นบริเวณหน้ายางครับบริเวณที่แข็งแรงที่สุดโดยเป็นบริเวณที่มีเข็มขัดรัดหน้ายางครับ ส่วนบริเวณที่ปะซ่อมได้แต่ปะซ่อมได้ยากก็จะเป็นบริเวณไหล่ยางที่เป็นส่วนลอยต่อระหว่างหน้ายางกับแก้มยาง ซึ่งบริเวณนี้ถ้าแผ่นปะสามารถติดได้เต็มแผ่นโดยไม่ไปแปะบริเวณที่ติดกับแก้มยางนั้นก็ยังสามารถปะได้อยู่ครับ เพราะบริเวณนี้ยังมีการขยับตัวที่เยอะและไม่มีโครงสร้างรองรับให้มีความแข็งแรงเหมือนเดิม และบริเวณที่ปะซ่อมไม่ได้แน่นอนก็คือบริเวณแก้มยางครับผม ซึ่งเหตุผลที่ไม่สามารถปะซ่อมได้ก็เพราะว่าบริเวณแก้มยางนั้นไม่มีโครงสร้างที่แข็งแรงประกอบกับมีการยืดหดตัวตลอดเวลาทำให้การปะนั้นจะปะไม่อยู่ และจะส่งผลให้แผลรั่วหรือรอยบาดนั้นกว้างขึ้นเรื่อยๆครับ
เรามาจำแนกต่อว่าวิธีการปะในบ้านเราปัจจุบันมีการซ่อมกี่แบบ ถ้าเพื่อนๆ รู้จักกันก็จะมี 4 แบบหลักๆ คือ แทงใยไหม ปะสตรีมร้อน ปะสตรีมเย็น และ ปะดอกเห็ด ซึ่งการปะแต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เดี๋ยวคิมไทร์บิดจะอธิบายเป็นแต่ละอย่างเลยว่าข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไรบ้าง
1. แทงใยไหม
การปะยางแบบ แทงใยไหม เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดครับ ไม่ต้องยางออกจากล้อแค่เอาใยไหมเสียบลงไปบริเวณที่รั่วแล้วปล่อยคาไว้ถือว่าจบ ข้อดี ก็คือรวดเร็ว ใช้ได้สำหรับรูรั่วเล็กๆ แต่ข้อเสียคือ มีโอกาสเสี่ยงที่ปะไม่อยู่บ่อย หรือมีโอกาสทำให้แผลหรือรูรั่วมีรูที่ใหญ่ขึ้น จึงเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับชั่วคราวเท่านั้น
2. ปะสตรีมร้อน
การปะยางแบบ ปะสตรีมร้อน เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในบ้านเราครับ ไปร้านไหนๆ ก็จะปะสตรีมร้อนให้เพราะว่าเป็นวิธีที่ปะได้อยู่ที่สุด เพราะการปะสตรีมร้อนจะทำให้ยางที่นำไปปะกับเนื้อยางเก่าติดกันแน่นที่สุด แต่ไม่ถึงกับเป็นยางชิ้นเดียวกันนะครับ แต่ข้อเสียก็ยังมีอยู่ครับ เพราะว่ากรณีที่ปะสตรีมร้อนจะทำให้ยางบริเวณนั้นอาจมีโอกาสเสียหายได้หรือทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มสมรรถนะ 100% ครับ
3. ปะสตรีมเย็น
การปะสตรีมเย็น จะมีสองรูปแบบโดยเป็นการใช้แค่แผ่นปะกับการใช้วัสดุที่ชื่อว่าดอกเห็ด (การแปะแบบ PRP) ซึ่งการปะสตรีมเย็นในแบบแผ่นปะนั้นดีในแง่ของทำให้โครงยางไม่เสียครับ แต่ว่ารูด้านนอกที่ไม่ได้ปะนั้นเป็นข้อเสียของการเฉพาะแผ่นปะด้านในเพราะความชื้นจะเข้าไปในรูดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้โครงยางนั้นเกิดสนิมและอาจทำให้ยางบวมได้ ส่วนการปะแบบดอกเห็ดหรือ PRP นั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะว่าทำให้โครงยางไม่เสียหายและยังมีเดือยที่มาปิดบริเวณรูรั่ว ซึ่งทำให้ไม่มีความชื้นเข้าในโครงยาง ไม่ส่งผลเสียต่อยาง และส่งผลให้ยางนั้นกลับมาใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ 100%
เพราะฉะนั้น บริเวณที่สามารถปะได้ กับ การปะที่ดีที่สุดนั้นมีส่วนสำคัญที่ทำให้ยางนั้นกลับมาใช้งานได้ 100% เหมือนเดิมครับ ปะยางบริเวณหน้ายาง และ ปะแบบดอกเห็ดนั้นยางกลับมาได้ 100% ประยางบริเวณไหล่ยางและปะแบบดอกเห็ดยางอาจกลับมาใช้ได้ 50-80% (ขึ้นอยู่กับความใกล้ของแก้มยาง หรือถ้าไม่อยากจะเปลี่ยนยางใหม่แล้วนำไปปะสตรีมร้อนอาจจะเป็นวิธีที่สุดที่ให้ยางใช้ได้ต่อแต่ว่าอาจมีโอกาสเสี่ยงในการที่ปะไม่อยู่หรือว่ายางบวมได้)
แถมให้อีกนิดครับสำหรับยางรันแฟลตนั้น จะสามารถปะซ่อมได้ครั้งเดียวเพราะว่ายางประเภทรันแฟลตนี้ นั้นต้องการความแข็งแรงของโครงยางมากที่สุด ถ้ามีการปะซ่อมบ่อยๆ โอกาสทำให้โครงยางรันแฟลตนั้นไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งหากเกิดการยางระเบิดหรือรั่วโครงยางรันแฟลตอาจจะใช้งานไม่ได้ก็อาจเป็นได้ แต่ถ้าเป็นยางธรรมดาก็ไม่ควรปะซ่อมเกิน 3 แผล และเป็นแผลที่ต้องไปใกล้กัน
แถมสุดท้าย จริงๆแล้วรูรั่วนั้นก็มีผลต่อการใช้งาน ถ้ารูรั่วใหญ่เกินกว่า 6 มม. ก็จะส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงยาง และ ถ้าใหญ่กว่ากว่า 1 เซนติเมตรก็ไม่แนะนำให้ปะซ่อม (ถึงแม้ปะซ่อมได้แต่ก็อาจทำให้ยางไม่แข็งแรงเหมือนเดิมมีโอกาสยางเสียหายได้ง่ายกว่าปกติ) เพราะก่อนที่จะปะซ่อมเราต้องประเมินก่อนว่ารูรั่วของเราเป็นไซส์ขนาดความกว้างเท่าไหร่ครับ หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยเรื่องยางหรือต้องการคำปรึกษาเรื่องยางติดต่อเลย Line Official : @tiresbid และสามารถอ่านบทความรู้ไทร์บิดได้ที่ www.tiresbid.com หรือโทรเลย 090-986-8762 วันนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆ มากครับ
สนใจสมัครประกันรถยนต์
สำหรับใครที่ต้องการเพิ่มความอุ่นใจในการขับขี่ สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ หรือโทร.มาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลย