ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไร ให้ปลอดภัย

ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไร ให้ปลอดภัย
ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไร ให้ปลอดภัย
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

ใกล้เข้าสู่ช่วงหน้าหนาวทีไร เหล่านักบิดหลายคนคงมีสถานที่ท่องเที่ยวในใจที่อยากไปสัมผัสธรรมชาติกันใช่ไหมล่ะคะ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นภูเขาหรือดอยต่างๆ เพราะนอกจากจะได้ชมวิวทิวทัศน์อันสวยงามแล้ว ยังได้สูดอากาศอันบริสุทธิ์อีกด้วย แต่ทว่าการขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขานั้น ก็ค่อนข้างอันตรายอยู่พอสมควร จึงจำเป็นที่ผู้ขับขี่ต้องมีความรู้ความชำนาญ วันนี้ masii เลยมีเทคนิคดีๆ ในการขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไรให้ปลอดภัยมาฝากกัน ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไร ให้ปลอดภัย

ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไร ให้ปลอดภัย

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าเส้นทางขึ้นเขา-ลงเขานั้นค่อนข้างอันตราย มีทั้งทางโค้งและทางลาดชัน ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์หรือผู้ขับขี่บิ๊กไบค์จึงควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ซึ่งเทคนิคในการขับขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาที่เพื่อนๆ ควรรู้ มีดังต่อไปนี้

1. มีสติในการขับขี่

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักบิดมือใหม่ หรือนักบิดที่ชำนาญแล้ว ก็ควรต้องมีสติในการขับขี่อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบนเส้นทางที่ไม่คุ้นชิน เป็นทางโค้ง หรือทางลาดชัน โดยควรใช้สายตาสังเกตถนนหนทางว่าเป็นอย่างไร มีทางโค้งช่วงไหน ควรใช้ความเร็วเท่าไร เพื่อที่จะได้วางแผนและขับขี่ผ่านเส้นทางนั้นอย่างปลอดภัย

2. ใช้ความเร็วที่เหมาะสม

ในการขับขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขานั้น ควรใช้ความเร็วที่เหมาะสม ไม่ควรใช้ความเร็วมากเกินไป เพราะต้องคำนึงถึงลักษณะเส้นทาง สภาพถนน สภาพอากาศ รวมถึงเรื่องการเบรกและน้ำหนักรถด้วย ซึ่งควรใช้ความเร็วที่ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่าขี่เร็วเกินไป เแต่ก็อย่าช้าจนความเร็วไม่สัมพันธ์กับเกียร์ เพราะจะทำให้รถไม่มีแรงขึ้นเขา

ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไร ให้ปลอดภัย

3. พยายามใช้เข่าหนีบตัวถังไว้

เพื่อการขับขี่อย่างมีประสิทธิภาพ แนะนำว่าให้ใช้เข่าและช่วงต้นขาหนีบตัวถังเอาไว้ หรือที่เรียกว่า Knee Grip (สำหรับรถบิ๊กไบค์หรือรถที่มีถังน้ำมันด้านหน้า) โดยให้ช่วงต้นขาเป็นตัวจับยึดถังไว้ คล้ายกับเป็นที่ล็อคตัวโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ลำตัวอยู่แนบกับตัวรถ เพื่อใช้น้ำหนักตัวในการขยับและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าพร้อมกับรถ ซึ่งจะผ่อนแรงและช่วยถอนน้ำหนักที่กดเกร็งอยู่ตรงข้อมือ

4. ใช้เกียร์ต่ำ

ขณะขึ้นเขาหรือลงเขาควรใช้เกียร์ต่ำ หรือไม่เกินเกียร์ 3 แต่หากรู้สึกว่ารถเริ่มไม่มีแรง ให้ลดเกียร์ต่ำลงมาอีก และไม่ควรบิดคันเร่งแรงจนเกินไป เพราะเมื่อเลยจุดที่ลาดชันมาแล้วรถจะเริ่มพุ่งแรง ส่วนการใช้เกียร์ต่ำในการลงเขานั้น จะทำให้รถเกิดแรงฉุดเพื่อให้วิ่งช้าลง จึงสามารถเบรกและเข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ

ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไร ให้ปลอดภัย

5. เทตัวไปด้านหลัง และใช้ความเร็วที่พอดี

นอกจากนี้การเทตัวไปด้านหลัง หรือเลื่อนตัวบนเบาะให้ถอยไปทางด้านหลัง จะช่วยผ่อนน้ำหนักที่อยู่ด้านหน้ารถ ให้เกิดความสมดุลมากขึ้น ไม่เทน้ำหนักไปด้านหน้ารถมากเกินไปนั่นเอง

6. ดูถนนให้ดีๆ เวลาเข้าโค้ง

หากทางข้างหน้าเป็นทางโค้ง ให้ใช้สายตามองยาวเพื่อประเมินว่าโค้งเป็นแบบไหน เช่น โค้งกว้าง โค้งแคบ หรือโค้งหักศอก หากเป็นถนนสองเลน ให้ขี่มอเตอร์ไซค์ชิดซ้ายไว้ และดูให้ดีๆ ว่ามีรถสวนมาหรือเปล่า หากมีรถอีกฝั่งแซงมาในทางโค้งจะได้หลบหลีกทัน นอกจากนี้ควรค่อยๆ เบรกไปด้วยเพื่อชะลอความเร็ว แต่ห้ามแตะเบรกแช่เด็ดขาด

ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไร ให้ปลอดภัย

7. ห้ามแตะเบรกแช่ไว้

สำหรับการขี่มอเตอร์ไซค์ลงเขา หากเป็นรถมอเตอร์ไซค์แบบมีเกียร์ให้ใช้เกียร์ต่ำเพื่อเป็นแรงฉุดในการชะลอความเร็ว แต่ถ้าเป็นรถมอเตอร์ไซค์เกียร์ออโต้ ให้ค่อยๆ แตะเบรกและบิดคันเร่งเล็กน้อย พอให้รู้สึกว่ารถเริ่มมีแรงดึง หรือเกิด Engine Brake แล้วค่อยๆ ใช้เบรกหน้าสลับกับเบรกหลังทีละนิด อย่ากำเบรกเยอะ และอย่าเบรกแช่ไว้ เพราะจะทำให้เบรกไหม้และเบรกไม่อยู่ ทางที่ดีควรเบรกเฉพาะช่วงที่จำเป็น ให้ยังพอเหลือแรงฉุดรถได้อยู่

ขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขาอย่างไร ให้ปลอดภัย

และนี่ก็คือ เทคนิคขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นเขา-ลงเขา อย่างไรให้ปลอดภัย ที่มาสินำมาฝากกัน หากใครที่มีแพลนจะเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดด้วยรถมอเตอร์ไซค์หรือรถบิ๊กไบค์ละก็ ขอให้ขับขี่อย่างปลอดภัย ไม่ประมาท โดยเฉพาะใครที่ต้องผ่านเส้นทางขึ้นเขา-ลงเขา ก็อย่าลืมนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กันด้วยนะ แต่หากใครที่อยากเพิ่มความอุ่นใจสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อสมัครประกันมอเตอร์ไซค์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ

สนใจสมัครประกันมอเตอร์ไซค์

regis-but
สนใจสมัคร

หรือหากใครที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถโทร.มาพูดคุยกับทีมงานมาสิได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลย