สำหรับอุบัติเหตุทางรถยนต์ นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่เราอยู่บนท้องถนน ถึงแม้เราจะใช้สติในการขับรถแล้วก็ตาม เพราะความประมาทมันสามารถเกิดได้จากหลายๆอย่าง ไม่ทางเราเองที่ประมาทก็จะเป็นอีกฝ่ายที่ประมาท ซึ่งเวลามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นทีไรก็จะมีความสูญเสียที่ตามมาไม่มากก็น้อย และหากวันไหนที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์เกิดขึ้นกับตัวเราเองนั้น เราจะสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้างนะ และสามารถเรียกร้องได้จากใคร เอาเป็นว่า เดี๋ยวตาม Masii ไปดูกันเลย
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนน เราจะสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้างนะ
เคยสงสัยกันหรือเปล่าครับ ว่าหากเราประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้น และเราเป็นฝ่ายที่ถูก เราจะสามารถเรียกร้องค่าสินไหม หรือเรียกร้องหาความรับผิดชอบหรือหาความยุติธรรมได้จากใคร ตาม Masii ไปดูกันเลยดีกว่า
ถ้าหากเราเป็นฝ่ายถูก
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนแต่เราเป็นฝ่ายถูก หรือเป็นผู้ที่ถูกกระทำ เราจะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีและประกันภัยได้ วึ่งในการเรียกร้องเราสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ได้ดังต่อไปนี้
การใช้สิทธิ์เรียกร้อง 3 ส่วน
1. เรียกร้องค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.รถยนต์
ผู้ประสบภัย หรือผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน เราจะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยจะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อร่างกายกรณีได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต เป็นวงเงินดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท (กรณีเป็นฝ่ายถูก)
- ค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร รายละ 500,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะ (นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป) ได้รับการชดเชยคนละ 200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับการชดเชยคนละ 250,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ได้รับการชดเชยคนละ 500,000 บาท
- เงินชดเชยค่ารักษาตัว (ผู้ป่วยใน) วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน หรือ ไม่เกิน 4,000 บาท
*หมายเหตุ : พ.ร.บ. รถยนต์ ปรับเพิ่มความคุ้มครองใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563
2. เรียกร้องค่าเสียหายจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ
นอกจากการเรียกร้องค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.รถยนต์ แล้ว เรายังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ชั้น 2+ ชั้น 3+ หรือ ชั้น 3 ของรถยนต์คู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดอีกด้วย โดยผู้เสียหายจะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล
- เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต
- ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินและรถยนต์
- ค่าเสียหายอื่นๆ เช่น ค่าขาดโอกาสในการเดินทาง ค่าขาดรายได้ ค่าขาดไร้อุปการะ เป็นต้น
3. ฟ้องร้องต่อศาลเมื่อคู่กรณีไม่รับผิดชอบค่าเสียหาย
หากเราเป็นฝ่ายที่ถูก แต่คู่กรณีเราปัดความรับผิดชอบ ไม่ยอมแม้แต่จะจ่ายค่าสินไหม ให้กับผู้ประสบอุบัติเหตุ และหากในอุบัติเหตุนั้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต ผู้กระทำความผิดบนท้องถนนก็จะมีความผิดทางอาญา ซึ่งมีโทษถึงจำคุก และต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายในทางแพ่งด้วย โดยจัดเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา เจ้าพนักงานตำรวจ เป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด และจัดให้คู่กรณีตกลงเรื่องค่าเสียหาย หากตกลงกันได้หรือไม่ได้อย่างไร เจ้าพนักงานตำรวจก็ต้องส่งสำนวนให้พนักงานอัยการพิจารณาในศาลต่อไป
และนี่คือการเรียกร้อยทั้งสามแบบ ที่เราจะสามารถทำได้หากเกิดกรณีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับเรา หากทราบกันหมดแล้วทีนี้ก็สามารถบันทึกข้อมูลไว้ได้ครับ เผื่อวันใดวันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจริงๆ เราจะสามารถเรียกร้องอะไรได้ แต่อย่าลืมนะครับว่าไม่ว่ายังไง สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการขับขี่รถบนท้องถนนห้ามประมาทโดยเด็ดขาด และสามารถเพิ่มความอุ่นใจได้ด้วยประกันภัยรถยนต์ ซึ่งสามารถสมัครกับทาง Masii ได้ง่ายๆ ครับ
สนใจสมัครประกันรถยนต์
หากมีข้อสงสัยสามารถโทร.มาสอบถามได้ที่ 02 710 3100 นอกจากนี้ยังสามารถแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความที่น่าสนใจจากมาสิ เช่น ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันเดินทาง ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ ทางเรามีเจ้าหน้าที่ที่คอยให้คำปรึกษาอยู่ครับ