ต้องบอกเลยว่าทุกวันนี้หลายคนนิยมใช้บริการของพี่วินมอเตอร์ไซค์หรือ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง กันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งรีบ การจราจรติดขัด เพราะสามารถขับซอกแซกและเร่งความเร็วให้เราไปถึงที่หมายได้ทันเวลา แต่ทว่าการซ้อนวินมอเตอร์ไซค์นั้นก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างมาก ทำให้หลายคนสงสัยว่าถ้าหากนั่งวินมอเตอร์ไซค์ล้ม จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากใครได้บ้าง เราไปหาคำตอบกับ masii กันเลยค่ะ
นั่งวินมอเตอร์ไซค์ล้ม เรียกร้องค่าเสียหายจากใครได้บ้าง
อย่างที่บอกไปว่า รถมอเตอร์ไซค์นั้นค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นกรณีรถล้มเอง หรือถูกเฉี่ยวชนจากรถคันอื่นๆ ยิ่งถ้าเป็นมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือวินมอเตอร์ไซค์ที่ต้องให้บริการผู้โดยสารด้วยแล้ว ยิ่งต้องระมัดระวังสุดๆ แต่ขึ้นชื่อว่า อุบัติเหตุ สามารถเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ และถ้าเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมาจริงๆ ละก็ ผู้โดยสารสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากวินมอเตอร์ไซค์ได้ โดยใช้ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ของรถที่คุณนั่งซ้อนมานั่นเอง ซึ่ง พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ ให้ความคุ้มครอง ดังนี้
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์
ผู้ประสบภัย สามารถเบิกใช้สิทธิ์จาก พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยใช้เอกสาร พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ของวินมอเตอร์ไซค์คันที่เรานั่งซ้อนมา เพื่อใช้ในการเคลม พ.ร.บ. โดยจะได้รับความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น
ค่าเสียหายเบื้องต้น
- กรณีบาดเจ็บ เบิกจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
- กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ) จำนวน 35,000 บาทต่อคน
- กรณีเสียชีวิต เบิกจ่ายเป็นค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาทต่อคน
- กรณีได้รับบาดเจ็บและสูญเสียอวัยวะ หรือ เสียชีวิตในภายหลัง สามารถเบิกจ่ายได้ไม่เกินคนละ 65,000 บาท
ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยจะเป็นผู้เบิก พ.ร.บ.ด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้โรงพยาบาลตั้งเบิกกับบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ผ่านระบบออนไลน์ (E-claim online หรือระบบสินไหมอัตโนมัติ) โดยบริษัทฯ จะโอนเงินจ่ายคืนโรงพยาบาล ภายใน 7 วันนับแต่วันที่โรงพยาบาลส่งเรื่องตั้งเบิก
ซึ่งปัจจุบัน ทุกโรงพยาบาลจะเป็นผู้รับมอบอำนาจเบิกแทนผู้ประสบภัย และหากกรณีได้รับบาดเจ็บสาหัส และมีค่ารักษาเกินกว่า 30,000 บาท จะสามารถเบิกใช้สิทธิ์ได้จากวงเงิน ค่าเสียหายเบื้องต้นไปก่อน 30,000 บาท ส่วนเกินที่เหลือ ผู้ประสบภัยหรือทายาท สามารถตัดสินใจเบิกส่วนเกินดังกล่าวเพิ่มเติมได้จาก
- สิทธิ์บัตรทอง 30 บาท (ถ้ามี)
- สิทธิ์ประกันสังคม (ถ้ามี)
- ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (ถ้ามี)
- ประกันรถจักรยานยนต์ ของวินมอเตอร์ไซค์ (ถ้ามี)
เอกสารเบิก พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ของผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรม)
- สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์)
- สำเนาทะเบียนรถ (ถ้ามี)
- เอกสาร พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ของรถคันที่ประสบเหตุ
- บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
- ใบรับรองแพทย์
- ใบมรณบัตร (กรณีเสียชีวิต)
- หนังสือรับรองคนพิการ (กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพ)
สำหรับ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ นั้นให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยในทุกกรณี ไม่ว่าวินมอเตอร์ไซค์คันที่นั่งมาจะไม่มีใบขับขี่ ทะเบียนรถหมดอายุ หรือว่าเมาแล้วขับก็ตาม
เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่าหากเกิดอุบัติเหตุขณะซ้อนรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายอะไร และจะได้รับความคุ้มครองอย่างไรบ้าง แต่อย่างไรก็ตามก็ควรระมัดระวังทุกครั้ง โดยเฉพาะผู้ขับขี่ที่ควรขับขี่อย่างปลอดภัย ไม่ประมาท และมีสติทุกครั้ง แม้ว่าจะมี พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยอยู่แล้วก็ตาม แต่หากอยากได้ความคุ้มครองเพิ่มเติม แนะนำว่าควรทำประกันมอเตอร์ไซค์ไว้ด้วยเพื่อความอุ่นใจ โดยสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อสมัครประกันมอเตอร์ไซค์กับมาสิได้ง่ายๆ
สนใจสมัครประกันมอเตอร์ไซค์
หรือหากใครต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันมอเตอร์ไซค์รับจ้าง สามารถโทร.มาพูดคุยกับทีมงานมาสิได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติตดามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันรถยนต์ ประกันบิ๊กไบค์ ประกันภัยโดรน ประกันการเดินทาง รวมไปถึง สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ