อีกหนึ่งรูปแบบการลงทุนที่เหล่านักลงทั้งหลายให้ความสนใจและเชื่อมั่นไว้ใจเข้าร่วมการลงทุนเป็นจำนวนมากก็คือการลงทุนในรูปแบบของ พันธบัตรรัฐบาล ที่นอกจากความน่าเชื่อถือได้แล้วยังเป็นการออมที่ให้ดอกเบี้ยดีกว่าการฝากประจำและออมทรัพยกับธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายนั่นเอง
พันธบัตรรัฐบาล คืออะไร และต้องเสียภาษีหรือไม่
พันธบัตรรัฐบาล คืออะไร
พันธบัตรรัฐบาล คือหน่วยการลงทุนทางการเงินในกลุ่มตราสารหนี้ โดยผู้ซื้อพันธบัตรจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกตราสารจะมีฐานะเป็นลูกหนี้ โดยพันธบัตรรัฐบาลนั้นจะมีชื่อที่เปลี่ยนไปสถาบันหรือผู้ออกตราสารหนี้เช่น
- หากออกโดยหน่วยงานราชการ หรือรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์ในการออกเพื่อให้ประชาชนนำไปใช้ประโยชน์ เน้นการลงทุนระยะยาวมีความเสี่ยงต่ำ ก็เรียกว่าพันธบัตรรัฐบาล หรือหากพันธบัตรนั้นออกโดยกระทรวงเช่นกระทรวงคลัง ที่มีอายุการลงทุนสั้นกว่าพันธบัตรรัฐบาล ก็อาจเรียกว่า ตั๋วเงินคลัง เป็นต้น
- หากออกโดยบริษัทเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการออกเพื่อเป็นเงินกู้ยืมให้กับประชาชน ก็มักจะเรียกว่าหุ้นกู้ และมีชื่อที่เปลี่ยนไปตามหน่วยงานที่ออกพันธบัตรนั้นเช่นหุ้นกู้ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย หุ้นกู้ของบริษัททรู เป็นต้น
ค่าตอบแทนที่จะได้จากการลงทุนพันธบัตรรัฐบาล
สำหรับสิ่งตอบแทนของผู้ลงทุนในตราสารหนี้ หรือผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ก็คือ ดอกเบี้ย จากผู้ออกพันธบัตร ที่จะมีความสูงต่ำที่ต่างกัน ดังนั้นก่อนการลงทุนนักลงทุนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกซื้อพันธบัตรจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกังวลในเรื่องของความเสี่ยงนั่นเอง
พันธบัตรรัฐบาลมีทั้งหมดกี่ประเภท
พันธบัตรรัฐบาลมีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่
- พันธบัตรในรูปแบบผู้ลงทุนมีไว้ครอบครอง ซึ่งเป็นพันธบัตรชนิดจดบัญชีเจ้าของกรรมสิทธิ์ และพันธบัตรชนิดจดทะเบียนเป็นพันธบัตรชนิดจ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อในพันธบัตรโดยไม่มีบัตรดอกเบี้ยและต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิไว้ที่นายทะเบียน
- พันธบัตรที่แบ่งตามลักษณะรายได้ เป็นพันธบัตรชนิดจ่ายดอกเบี้ยประจำ (เหมาะสำหรับผู้ซื้อพันธบัตรที่ต้องการรายได้ประจำ) ซึ่งเหมาะกับผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการดอกเบี้ยไว้ใช้จ่ายประจำงวด
ซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้จากที่ใดบ้าง
สำหรับผู้ที่สนใจซื้อพันธบัตรรัฐบาลนั้น สามารถหาซื้อได้จาก
– ภาครัฐ ได้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยหน่วยงานที่ทำหน้าเป็นตัวแทนในการออกพันธบัตรรัฐบาลตามประกาศกระทรวงการคลัง โดยวิธีหรืออาจทำการจำหน่าย ประมูลกับผู้ลงทุนโดยตรง
– หน่วยงานเอกชน หรือสถาบันการเงินได้แก่สถาบันการเงินที่มีใบอนุญาติค้าหลักทรัพย์ เช่นธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน ) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ( มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน) ธนาคาร เอเชีย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ซิตี้แบงค์ ธนาคาร เอบีเอ็น แอมโร เอ็น. วี. ธนาคาร สแตนดาร์ดชาเตอร์ ธนาคาร ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร จำกัด
การลงทุนกับพันธบัตรรัฐบาลจำเป็นต้องเสียภาษีหรือไม่
ในการลงทุนพันธบัตรรัฐบาลนั้น ผู้ลงทุนจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวด โดย บุคคลธรรมดาที่อยู่ในไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และบุคคลธรรมดาที่มิได้อยู่ในไทยหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
สมัครประกันสุขภาพ
หากคุณอยากลดหย่อนภาษี การทำประกันสุขภาพ ก็สามารถเป็นส่วนสำคัญเพื่อการลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกันครับ โดยสามารถโทร.มาสอบถามกับมาสิเพิ่มเติมได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ ที่ Line@ :@masii ครับ