รู้หรือไม่ครับว่า “ มะเร็ง ” ยังคงเป็นโรคร้ายที่ครองแชมป์อัตราการเสียชีวิตของผู้ชายไทย จากข้อมูลของ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้รายละเอียดของอุบัติการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทยว่า มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เฉลี่ย 1.2 แสนคนต่อปี เพราะพฤติกรรมต่างๆ ที่คอยทำร้ายสุขภาพคุณสุภาพบุรุษทั้งแบบที่รู้ตัว ( แต่ยังทำ ) และแบบไม่รู้ตัว เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ อ้วนลงพุง ขาดการออกกำลังกาย เครียด และนอนดึก ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งต่างๆ วันนี้ มาสิ จึงได้หยิบยก 5 โรคมะเร็ง ที่ พบบ่อยใน “ ผู้ชาย ” ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณผู้ชายทุกท่านควรรู้ และใส่ใจระวังป้องกันก่อนเกิดโรค เพราะคุณคือคนสำคัญของครอบครัว พร้อมสร้างความคุ้มครองผ่าน ประกันมะเร็ง จาก สินมั่นคงประกันภัย ที่ masii.co.th จะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ตาม มาสิ มาสิครับ …
จับตาภัยร้ายใกล้ตัว! 5 มะเร็ง ที่มักเกิดกับ “ ผู้ชาย ” masii ชวนสร้างความคุ้มครองวันนี้ด้วย ประกันมะเร็ง จาก สินมั่นคงประกันภัย
หลายคนอาจมองว่า การ ทำประกันมะเร็ง นั้น เป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่รู้ไหมครับว่าการทำประกันจะสามารถช่วยเหลือเราได้หากเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่าผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งประกันมะเร็งจะให้ความคุ้มครองที่นอกเหนือจากการทำ ประกันสุขภาพ ทั่วไป โดย ประกันโรคมะเร็ง จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่ตรวจพบว่าเป็นโรค มะเร็ง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ เช่น การตรวจ การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด ( คลิกที่นี่! เพื่อดูรายละเอียดความคุ้มครอง ) แล้วมาดูกันต่อเลยครับ ว่า มะเร็งอะไรบ้าง ที่มักคร่าชีวิตชายไทย!
1. มะเร็งปอด
ปัจจุบันโรคมะเร็งกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวของคนเรามากขึ้น โดยอัตราการเกิดของโรคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนน่าตกใจ และโรค มะเร็ง ที่พบได้บ่อยในเพศชายคือ “ โรคมะเร็งปอด ” และถือได้ว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ชายทั่วโลกด้วย โดยสาเหตุหลักของการเกิดโรคเป็นที่รู้กันดีว่ามาจากการสูบบุหรี่ ปัจจุบันพบว่า 1 ใน 10 ของผู้สูบบุหรี่จะเป็นโรคมะเร็ง และ 1 ใน 6 คนที่สูบติดต่อกันจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นมะเร็งปอด และ 85% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเกิดจากสารมีพิษในบุหรี่ คือ “ทาร์” โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน ซึ่งมักมีอาการนำ คือ ไอ บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมา หายใจสั้นลง เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หายใจลำบาก เจ็บบริเวณทรวงอก น้ำหนักลดมากกว่าปกติ มีไข้เรื้อรัง อาจมีสาเหตุจาก มะเร็ง ปอด ได้
2. มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็ง ที่พบได้บ่อยในเพศชายอีกหนึ่งชนิดคือ “ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ” โรคนี้มักพบในเพศชายอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยล่าสุดจำนวนผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2557 เท่ากับ 29,480 คน ผู้ป่วยมักมาปรึกษาแพทย์ด้วยอาการปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะมีเลือดปน ส่วนใหญ่ในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการ หรืออาจจะมีอาการคล้ายโรคต่อมลูกหมากโต รวมทั้งปัสสาวะหรือน้ำอสุจิมีเลือดปน มะเร็งในระยะต้นสามารถตรวจพบได้เมื่อแพทย์ตรวจร่างกาย โดยสวมถุงมือคลำต่อมลูกหมากผ่านทางช่องทวารหนัก และการตรวจหาสาร PSA ในเลือด โดยแนะนำให้ตรวจในผู้ชายอายุประมาณ 45 – 50 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็น มะเร็ง ต่อมลูกหมาก ตั้งแต่อายุน้อยครับ
( มะเร็ง ภัยร้ายที่อยู่ใกล้ตัวและมีความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ทุกเพศ ดังนั้นการทำ ประกันมะเร็ง จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจ ว่าคุณจะได้รับการดูแลเรื่องค่ารักษาพยาบาล เมื่อต้องเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งอย่างแน่นอน โดยที่สมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้างไม่ต้องเดือนร้อน หรือ แบกรับภาระทางเงิน คลิกที่นี่! เพื่อ ทำ ประกันโรคมะเร็ง สร้างความคุ้มครองที่ครอบคลุมตั้งแต่วันนี้ )
3. มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ถูกจัดเป็น มะเร็ง ที่พบมากในผู้ชาย โดยผู้ชายจะมีโอกาสเสี่ยงพบมากขึ้นเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป กลุ่มเสี่ยงสูงคือ บุคคลที่มีประวัติครอบครัวใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น บิดามารดา พี่น้องหรือบุตร มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็ง ชนิดนี้ประมาณ 2/3 ของประชากรปกติ แต่ในความจริงแล้วกลับพบว่าประมาณ 80% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ใหม่ไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ปัจจัยในการดำรงชีวิตอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ รับประทานอาหารมันและเนื้อแดงมาก แต่รับประทานผักและผลไม้น้อย รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง ออกกำลังกายน้อย และโรคอ้วน การสูบบุหรี่และดื่มสุราจัดอาจมีผลต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการเลือดออกทางทวารหนัก หรืออุจจาระปนเลือด หรือถ่ายเป็นเลือดอุจจาระมีรูปร่างเปลี่ยนไป ( เป็นเส้นเล็กลง ) ปวดเกร็งในท้อง มะเร็ง ลำไส้ตรงส่วนใหญ่มักแสดงอาการต่างจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการดังกล่าวคือ อุจจาระปนเลือด, ท้องผูกสลับกับท้องเดินอย่างไม่มีสาเหตุ, ขนาดของเส้นอุจจาระเปลี่ยนไป และปวดเบ่ง คืออาการรู้สึกปวดถ่ายในขณะที่ไม่มีอุจจาระหรือไม่สามารถขับถ่ายออกได้ ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจไปเบียดอวัยวะข้างเคียงอาจก่อให้เกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือปวด เนื่องจากมีการกดทับที่ก้นหรือฝีเย็บ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
4. มะเร็งตับ
“ โรค มะเร็ง ตับ ” เป็นอีกโรคยอดฮิตสำหรับคุณผู้ชายทั้งหลาย สมัยก่อนเราจะได้ยินว่า หากกินเหล้ามากๆ จะเป็นตับแข็ง แล้วยังเชื่อว่าเป็นตับแข็งแล้วจะเป็นมะเร็งตับ หรือบางคนกลับเข้าใจไปว่าเป็นโรคเดียวกันด้วยซ้ำไป เมื่อไม่นานมานี้พบว่า คนไข้คนหนึ่งที่ตับอักเสบจากการกินยาดอง หรืออาหารหมักดองเกือบทุกวัน จนกระทั่งมีตับแข็งระยะเริ่มต้น และตรวจพบก้อนเนื้อที่อาจเป็นมะเร็งตับ ซึ่งจะเห็นได้ว่า แม้เราไม่ได้กินเหล้า แต่หากกินอาหารที่มีส่วนผสมของเหล้าหรือแอลกอฮอล์ติดต่อกันนานๆ อาจทำให้ตับทำงานหนักทุกวันจนเป็นตับแข็งและ มะเร็ง ได้ แต่สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การที่เราเป็นโรคตับอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เช่น ชนิด B และชนิด C ( B พบได้บ่อยกว่า ) ส่วนมากมักได้รับเชื้อจากคุณแม่ตั้งแต่แรกคลอด หรืออาจติดจากสามี – ภรรยา
( อย่าปล่อยให้ มะเร็ง พรากชีวิตของคุณ และโอกาสดีๆ ในชีวิตของคุณไป สนใจทำ ประกันโรคมะเร็ง คลิกที่นี่! หรือ เปรียบเทียบเบี้ยประกันภัยโรคมะเร็ง ของบริษัทประกันชั้นนำ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02 710 3100 และ LINE @masii )
5. มะเร็ง ศีรษะและลำคอ
มะเร็ง ศีรษะและลำคอ ( Head and Neck Cancer ) นับเป็นอีกโรคที่คุณผู้ชายไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นปัญหาที่สาธารณสุขระดับโลกให้ความสำคัญ ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยใหม่เกิดขึ้นประมาณ 540,000 รายทั่วโลก และเสียชีวิตกว่า 271,000 รายต่อปี ส่วนใหญ่โรคนี้มีสาเหตุจากเยื่อเมือกบุภายในของอวัยวะบริเวณศีรษะและลำคอ ได้แก่ ช่องปาก ซึ่งประกอบด้วยริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เนื้อเยื่อใต้ลิ้น รอบๆ ลิ้น เหงือก ลิ้น และเพดานแข็ง คอหอยส่วนปาก ซึ่งประกอบด้วย โคนลิ้น ต่อมทอนซิล เพดานอ่อน และลิ้นไก่ โพรงหลังจมูก กล่องเสียง ต่อมไทรอยด์ เนื้อเยื่อรอบกล่องเสียง โพรงจมูก และโพรงไซนัส และต่อมน้ำลายต่างๆ สาเหตุการเกิดโรค มะเร็ง ศีรษะและลำคอยังไม่ทราบชัดเจน แต่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การขาดวิตามิน และเกลือแร่ การบริโภค หมาก ยาฉุน การมีแผลเรื้อรังในช่องปากจากโรคต่างๆ การติดเชื้อไวรัสบางชนิดที่สำคัญ เช่น เชื้อไวรัสอีบีวี ( EB virus ) ไวรัสเอชพีวี ( HPV viruses ) และไวรัสเอชไอวี ( HIV virus )
สำหรับประเทศไทยพบว่า ปัจจัยเสี่ยงของโรค มะเร็ง ศีรษะและลำคอมาจากการดื่มเหล้าและการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเสริมอื่นๆ ได้แก่ ภาวะภูมิคุ้มกันความผิดปกติทางพันธุกรรมอาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งศีรษะและลำคอ นอกจากนี้การใช้ฟันปลอมที่ไม่พอดี ทำให้เกิดการเสียดสีกับเยื่อบุภายในปากก็อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองจนเป็นแผล ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดขึ้นเป็นประจำก็อาจทำให้เกิด มะเร็ง ได้ในระยะยาว และอีกสาเหตุที่พบมากขึ้นในต่างประเทศคือ การได้รับเชื้อ Human Papillomavirus หรือ HPV ( ไวรัสตัวเดียวกับที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ) จากการมีคู่นอนหลายคน การทำออรัลเซ็กส์ ก็อาจจะเป็นมะเร็งในช่องปาก คอหอย และต่อมทอนซิลได้ครับ
อย่างไรก็ตามวิธีดูแลตัวเองเพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค มะเร็ง นั้นเริ่มต้นทำง่ายๆ คือ การเลิกบุหรี่และเลิกดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่อาหารในปริมาณเหมาะสม รักษาน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว หมั่นตรวจเช็กร่างกายสม่ำเสมอ อย่าละเลยการสังเกตอาการด้วยตนเอง หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ ตรวจเช็กสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากตรวจพบแต่เนิ่นๆ จะได้รีบรักษาอย่างทันท่วงที มีโอกาสหายขาดได้สูงครับ และเพราะ เราไม่อาจคาดเดาได้เลยครับ ว่า “ มะเร็ง ” จะเกิดกับเราตอนไหน ประกันมะเร็ง จึงเป็นอีกหนึ่งหลักประกันที่ให้ความคุ้มครองได้ตรงจุด แล้ว ประกันโรคมะเร็ง นี้ สำคัญอย่างไร ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง มาสิ มีคำตอบครับ …
ประกันโรคมะเร็ง สินมั่นคง ตรวจเจอมะเร็งครั้งแรก จ่ายเงินก้อนทันที
ประกันโรคมะเร็ง จาก สินมั่นคงประกันภัย มีมากถึง 10 แผนประกัน สามารถเลือกสมัครได้ตามต้องการและงบประมาณที่คุณกำหนด โดยให้ความคุ้มครองโรคมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ ซึ่งแต่ละแผนประกันก็จะให้วงเงินความคุ้มครองแตกต่างกันออกไป และในกรณีที่ตรวจพบโรค มะเร็ง ครั้งแรก ทางบริษัทสินมั่นคงประกันภัย จ่ายเป็นเงินก้อน ( เต็มทุนประกัน ) ทันที ตั้งแต่ 100,000 – 1,000,000 บาท ( ขึ้นอยู่แผนประกันที่เลือกสมัคร ) เพื่อเงินชดเชยรายได้ในขณะเจ็บป่วยหรือพักฟื้น และเงินทุนสำรองสำหรับครอบครัวในกรณีที่เสียชีวิต ( คลิกที่นี่! เพื่อดูความคุ้มครองในแต่ละแผน ประกันโรคมะเร็ง จาก สินมั่นคงประกันภัย )
เงื่อนไขการทำ ประกันมะเร็ง สินมั่นคงประกันภัย
- ผู้เอาประกันภัยมีอายุตั้งแต่ 1 – 59 ปีบริบูรณ์ ( ต่ออายุกรมธรรม์ได้ถึง 64 ปีบริบูรณ์ ) มีประวัติสุขภาพดี และไม่เคยเป็นโรค มะเร็ง มาก่อนการเอาประกันภัย
- ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ต้องกรอกใบคำขอเอาประกันภัย และผ่านเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัยของบริษัท
- เบี้ยประกันภัยปรับเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ
- ผู้เอาประกันภัยสามารถซื้อแผนประกันภัยข้างต้นนี้ได้ โดยที่จำนวนเงินเอาประกันภัยโรคมะเร็งรวมแล้วจะต้องไม่เกิน 1,0000,000 บาทต่อคน
- การปรากฏหรือทราบอาการของโรค มะเร็ง หรือความผิดปกติที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็ง ไม่ว่าประเภทหรือชนิดใดๆ ภายในระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง ( Waiting Period ) 90 วัน นับจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยนี้เริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก
การทำ ประกันโรคมะเร็ง จะมีวงเงินความคุ้มครองตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาล การทำเคมีบำบัด รวมถึงยังมีเงินชดเชยกรณีเสียชีวิตจากโรค มะเร็ง โดยวงเงินที่ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกัน และแผนประกันภัยที่เลือกซื้อ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี
เปรียบเทียบเบี้ยประกันภัยโรคมะเร็ง
ดูรายละเอียดกรมธรรม์ และทำ ประกันโรคมะเร็ง
สมัครก่อน คุ้มครองก่อนกับ ประกันโรคมะเร็ง หรือหากต้องการ ประกันสุขภาพ และประกันอื่นๆ เช่น ซื้อประกันภัยรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ฯลฯ สามารถโทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 710 3100 และ LINE @masii
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม
- ประกันมะเร็งสินมั่นคง ตรวจเจอมะเร็งครั้งแรก จ่ายเงินก้อนทันที
- แนะนำประกันมะเร็งที่น่าสนใจซื้อออนไลน์กับ Masii ได้เลย
- ประกันมะเร็งMSIG คุ้มครองโรคมะเร็งทุกระยะ เบี้ยเริ่มต้น 625 บาท
- ประกันมะเร็งเอเชีย แคนเซอร์ พลัส เบี้ยเริ่มต้น 458 บาท
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison